“จอกหูหนูยักษ์” ระบาดหนัก กลุ่มเรือกลัวอาจจะไม่มีทะเลบัวแดง ที่โด่งดังระดับโลกเหลืออีกต่อไป

จังหวัดอุดรฯ พบ “จอกหูหนูยักษ์” ระบาดหนัก กลุ่มเรือกลัวอาจจะไม่มีทะเลบัวแดง ที่โด่งดังระดับโลกเหลืออีกต่อไป

วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2565 เวลา09.30 น. ผู้สื่อข่าวเดินทางไปที่ “ท่าเรือบ้านเดียม” เทศบาลตำบลเชียงแหว อ.กุมภวาปี จ.อุดรธานี ซึ่งเป็น 1 ใน 5 ท่าเรือท่องเที่ยวทะเลบัวแดงพบกับนายไพรสิทธิ์ สุขรมย์ ประธานวิสาหกิจชุมชนเรือท่องเที่ยวทะเลบัวแดงบ้านเดียม โดยมีสภาพผิวน้ำหน้าท่าเรือจอกหูหนูยักษ์ที่ชาวบ้านที่นี่เรียกว่า “จอกหูช้าง” มีลักษณะสีเขียว แซมด้วยสีน้ำตาล กลีบใบม้วนเรียงกันเป็นชั้นๆ เกิดและเติบโตขยายพันธุ์ อยู่ชิดติดกันจนปิดผิวน้ำไปมากกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ เรือท่องเที่ยวที่จอดอยู่ที่ท่าเรือก็ถูกจอกหูหนูยักษ์ปิดล้อมทั้งหมด

ขณะบริเวณริมฝั่งหลายจุดพบว่ามีกองซากจอกหูหนูยักษ์ที่ชาวบ้านร่วมกับ องค์กรปกครองท้องถิ่นช่วยกันนำขึ้นมาจากน้ำจนมีสภาพแห้งเป็นสีดำ และยังมีร่องรอยของการนำเอา “ซากจอกหูหนูยักษ์” ไปใช้ประโยชน์เป็นปุ๋ย หรือวัสดุปลูก ส่วนที่ท่าเรือเชียงแหวก็มีสภาพเหมือนกับท่าเรือบ้านเดียมมีจอกหูหนูยักษ์เข้ามาบริเวณท่าเรือปิดล้อมเป็นจำนวนมาก และชาวบ้าน องค์กรปกครองท้องถิ่นก็ช่วยกันนำเอาขึ้นมาบนฝั่ง และบริเวณใกล้กันพบเรือดูดโคลนของ กรมทรัพยากรน้ำ 2 คัน จอดอยู่หลังทำการขุดลอกร่องน้ำ เพื่อให้เรือท่องเที่ยวเคลื่อนออกไปได้ เมื่อ2ปีที่แล้วได้รับผลกระทบจากสถานการ์โควิด19 ทำให้ไม่มีนักท่องเที่ยวเข้าชมบัวแดง พอสถานการณ์ดีขึ้น ปัจจุบัน มีนักท่องเที่ยวเข้ามาจำนวน 200-300 คน หากเป็นวันหยุดเสาร์ อาทิตย์ จะมีนักท่องเที่ยววันละ 500-600 คน

นายไพรสิทธิ์ สุขรมย์ ประธานวิสาหกิจชุมชนเรือท่องเที่ยวทะเลบัวแดงบ้านเดียม เปิดเผยว่า บริเวณท่าเรือบ้านเดียมก็พบพืชต่างถิ่น คือ จอกหูหนูยักษ์ได้มาอยู่ในทะเลบัวแดงเป็นเวลา 3 ปีแล้วเมื่อก่อนไม่มีเลย ซึ่งอุปสรรคของบัวเมื่อก่อนคือพวกแหดักปลา หรือวัชพืชใต้น้ำ แต่ 3 ปีมาเจอปัญหาจอกหูหนูยักษ์ขยายกินพื้นที่เป็นบริเวณกว้าง และรวดเร็ว โดยยึดพื้นที่ทะเลบัวแดงไปกว่าหมื่นไร่ ถ้าปล่อยไว้ตนกลัวว่าจะเป็นปัญหาของบัวที่จะต้องเกิดใหม่ ทางกลุ่มเรือก็มีกำลังเท่าที่จะทำได้ในการเอาขึ้นทุกปีก่อนที่จะเปิดการท่องเที่ยว ซึ่งชาวบ้านก็นำเอาขึ้นแล้วไปทำเป็นปุ๋ยหมัก และก็เอามากองถมกันไว้ที่ท่าเรือให้แห้ง แต่ในการควบคุมพื้นที่บัวไม่ทันกับการเติบโตของจอกหูหนูอย่างรวดเร็ว

ซึ่งตนก็ทำเต็มที่แล้วก็ไม่รู้จะทำยังไง หากทางหน่วยราชการไม่ลงมาช่วยก็คงจะต้องปล่อยไปแบบนี้ และอีกสามปีทะเลบัวแดงก็คงจะไม่มีให้ดูแล้ว เพราะว่าปีนี้บริเวณไหนที่จอกหูหนูลอยอยู่เต็มบัวก็จะไม่สามารถเกิดมาได้ ส่วนปลาที่เคยมีก็ตายไปเนื่องจากไม่สามารถขึ้นมาหายใจได้ และไม่มีอาหารกิน ถ้าหากพื้นที่ไหนที่จอกหูหนูถูกลมพัดออกบัวก็จะเกิดขึ้นมาใหม่ทันที แต่ก็เกิดไม่เยอะเหมือนเมื่อก่อน

โดยถ้าปีหน้าและยังปล่อยจอกหูหนูไว้แบบนี้ ชาวบ้านชุมชนช่วยกันแก้ไขก็คงจะทันกับการเกิดของจอกหูหนู ตนก็อยากจะขอความเมตตากรุณาจากทางหน่วยงานราชการดูแลตรงที่เป็นสถานที่แหล่งท่องเที่ยวของ จ.อุดรธานีที่โด่งดังไปถึงระดับโลก แต่เราจะปล่อยทิ้งโดยที่ไม่ดูแลเลยแบบนี้ โดยบัวที่เกิดในปีนี้มีเพียง 25 เปอร์เซ็นต์ ปกติแล้วไม่ต่ำกว่าหมื่นไร่ทุกปี แต่ปีนี้คงไม่น่าจะถึง 2,500 ไร่ ทางกลุ่มเรือได้ขอความอนุเคราะห์จากกรมชลประทานให้นำเอารถแบ็คโฮมาตักขึ้น แต่ก็ทำได้ไม่มาก เพราะไม่มีงบประมาณทางกลุ่มก็มีงบประมาณไม่มาก ซึ่งก็ช่วยค่าน้ำมันไปปีละ 1-2 แสนบาท

นายสมจิตร เจริญวรรณ อายุ 67 ปี รองประธานกลุ่มเรือเชียงแหว เปิดเผยว่า วัชพืชขึ้นเยอะต้านทานไม่ไหว ไม่รู้ว่ามาจากไหน ถ้าเอาออกแล้วก็ดีขึ้น แต่ก็ยังไหลมาตามน้ำอีก รู้แค่ว่ามันเป็นจอกใบใหญ่ แต่ก่อนเห็นแต่ใบเล็ก เอาขึ้นจากน้ำแล้วก็หมดไป แต่ตัวนี้เอาขึ้นยังไงมันก็ไม่หมด เรื่องน้ำไม่มีปัญหา แต่จะสร้างปัญหาคือ จะไปทับทำให้บัวไม่เกิด ตอนนี้ที่หนองหานเยอะแล้ว มองไปทางไหนก็จะเต็มไปหมด พอลมเปลี่ยนทิศก็ไหลมาตามลม ปิดไว้ยังไงก็ไม่อยู่ อยากให้ทางราชการกำจัดให้หมดไป ทางชาวบ้านที่มีจิตอาสา ก็ช่วยกันเอาขึ้นจากน้ำอยู่ตลอด แต่ยังแก้ปัญหาได้ไม่หมดไปสักที

นายสุชาติ ทอนมณี นายอำเภอกุมภวาปี เปิดเผยว่า จอกหูหนูยักษ์กระจายตัวได้เร็ว ถ้าเก็บขึ้นมาแล้วไม่ดำเนินการต่อเนื่อง ก็จะขยายตัวไปอีกมาก เราได้คุยกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะฝายกุมภวาปี ได้มีการประเมินว่าพื้นที่หนองหานกุมภวาปี จะมีปริมาณจอกหูหนูยักษ์อยู่ 2 ล้านกว่าตัน เราทำเท่าที่ทำได้เพราะเราไม่มีเรือเก็บวัชพืช ต้องแก้ไขเฉพาะในแต่ละปี เรื่องนี้มีผลกับท่าเรือต่าง ๆ เพราะว่าเมื่อเปิดฤดูท่องเที่ยว ลมจากทิศเหนือจะพัดพาวัชพืช เข้ามาปกคลุมพื้นที่ท่าเรือ เราก็ระดมจิตอาสา ชาวเรือ ขอความอนุเคราะห์หน่วยงานอื่น มาสนับสนุนแก้ไขในทุกปี

นายอำเภอกุมภวาปี เปิดเผยอีกว่า การเก็บวัชพืชในละปีน่าจะไม่ถึง 10 เปอร์เซ็นต์ เราจะเก็บได้เฉพาะที่อยู่ตลิ่ง โดยใช้เรือดันเข้ามาฝั่ง และใช้รถแบ็คโฮตักขึ้นมา เรื่องนี้ท่านผู้ว่าฯมีคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานระดับจังหวัด และระดับอำเภอ ขึ้นมาเพื่อแก้ไขเรื่องนี้ ว่าจะแก้ไขกันอย่างไร เริ่มจากแก้ไขเฉพาะหน้า และการแก้ไขอย่างยั่งยืน อย่างเช่นการทำเป็นปุ๋ย ที่สอดคล้องกับทางวิสาหกิจชุมชน ที่จัดตั้งขึ้นในรูปแบบเกษตรปลอดสารพิษ ที่จะสามารถนำวัชพืชนี้มาเป็นปุ๋ย ต่อยอดการทำวิสาหกิจชุมชนนี้ และเพื่อกำจัดวัชพืชนี้ได้ในอนาคต

ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า “จอกหูหนูยักษ์” เป็นวัชพืชลอยน้ำ เป็นพืชที่มีต้นกำเนิดในอเมริกาใต้ มีการน้ำเข้ามาในประเทศไทย ตรวจพบครั้งแรกที่ร้านตู้ปลา “ตลาดจตุจักร” กรุงเทพฯ ต่อมาแพร่ลงไปในแหล่งน้ำธรรมชาติ ด้วยเพราะมีการเติบโต และแพร่พันธุ์เร็วมาก ส่งผลกระทบต่อคุณภาพน้ำ และการเติบโตขายพันธุ์ของสัตว์น้ำ กรมวิชาการเกษตรให้สมญาว่า “ปีศาจสีเขียว” และถือเป็นพืชเอเลียนสปีชีส์ ในพื้นที่อุดรธานีเมื่อ 5-6 ปีก่อน ที่อ่างเก็บน้ำห้วยหลวง จากนั้นพบที่อ่างเก็บน้ำบ้านจั่น อ่างเก็บน้ำกุดลิงง้อ อ่างเก็บน้ำน้ำพาน และที่หนองหานกุมภวาปี หรือทะเลบัวแดง.

 

 

ภาพ/ข่าว กฤษดา จันทร์ดวง ผู้สื่อข่าวภูมิภาค จ.อุดรธานี

ข่าวที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

“เอกภพ” ได้ประกันตัว ปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา ปมให้ข้อมูลเท็จดิไอคอน จ่อฟ้องกลับ
สามเชฟดังร่วมรังสรรค์เมนูเพื่อการกุศลทางการแพทย์
"ทนายบอสพอล" เผยเป็นไปตามคาด "เอก สายไหม" ถูกจับ จ่อดำเนินคดีหมิ่นประมาท เรียกค่าเสียหาย 100 ล้าน
ศาลออกหมายจับ 'เจ๊หนิง' พร้อมสามีและหลาน ร่วมกันแจ้งความเท็จ 'ภรรยาบิ๊กโจ๊ก'
อิสราเอลถล่มเลบานอนดับครึ่งร้อย
หมายจับ ICC กระทบอิสราเอลอย่างไร
เปิดวิสัยทัศน์ประธานเครือข่ายธุรกิจ Bizclub นครราชสีมาคนใหม่ “กิม ฐิติพรรณ จันทร์ประทักษ์”
เกาหลีใต้ชี้รัสเซียส่งระบบป้องกันภัยทางอากาศให้เกาหลีเหนือ
สหรัฐเมินไฮเปอร์โซนิครัสเซียลั่นไม่หยุดหนุนยูเครน
เมียเอเย่นต์ค้ายาบ้า ร้องถูกตร.รีด 5 แสน แลกปล่อยตัว พ่วงเรียกเก็บเงินรายเดือน

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น