“ดีอีเอส” เตือนประชาชนอย่าเชื่อข่าวปลอม 2 แบงก์ใหญ่ปล่อยสินเชื่อ

วันที่ 13 กุมภาพันธ์ น.ส.นพวรรณ หัวใจมั่น โฆษกกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฝ่ายการเมือง (ดีอีเอส) กล่าวว่า สรุปผลการมอนิเตอร์ และรับแจ้งข่าวปลอมประจำสัปดาห์ ระหว่างวันที่ 4-10 ก.พ. 65 พบข้อมูลเชิงลึก (Insight)ว่า ข่าวปลอมที่ได้รับความสนใจมากสุด 10 อันดับแรก หลายข่าวเป็นประเด็นเกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจในชีวิตประจำวัน ทั้งเรื่องแบงก์ใหญ่เปิดสินเชื่อประชาชนรายย่อยแบบง่าย ๆ จนไม่ควรหลงเชื่อ หรือโครงการเราชนะเฟส 4 จะแจกเงินเพิ่ม เป็นต้น

ข่าวที่น่าสนใจ

น.ส.นพวรรณ กล่าวว่า ข้อมูลจากศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม พบว่าข่าวที่มีคนสนใจสูงสุด 10 อันดับแรก ประกอบด้วย 1.ออมสิน ส่ง SMS ให้ประชาชนกดรับสิทธิ์ขอสินเชื่อ GSB จำนวน 60,000 บาท 2.วันที่ 10-20 ก.พ. 65 ฝนตกหนักทุกภาค ทั่วประเทศไทย 3.รักษาโควิด 19 ด้วยสมุนไพรขมิ้นชัน กระชาย พริกไทย ทับทิม 4. คนไทยจ่ายเงินซื้อน้ำมันราคาแพงที่สุดในโลก 5. ดื่มน้ำต้มต้นไมยราบ แทนน้ำเปล่า ช่วยรักษาโรคมะเร็งเต้านม 6.โครงการเราชนะ เฟส 4 แจกเงินคนละ 7,000 บาท เริ่มโอน 10 ก.พ. 65 7. คลิปข้าวสารถูกผลิตจากถุงพลาสติก 8. ธ.กรุงไทย เปิดสินเชื่อกรุงไทยเพื่อนักสู้ ดอกเบี้ย 0.5% ผ่อนนาน 48 เดือน ติดแบล็กลิสต์ก็กู้ได้ 9. ใช้หม้อทอดไร้น้ำมันปรุงอาหาร ทำให้ก่อมะเร็ง และ 10. ติดเชื้อไวรัส Parabola จากสุนัขและแมว ทำให้ไขกระดูกไม่สร้างเลือด

“อยากเตือนประชาชน ถ้าได้รับข้อความสั้น (SMS) ในลักษณะเชิญชวนให้คลิกลิงก์กลับ แม้จะบอกว่าเป็นเอสเอ็มเอสจากธนาคาร แต่อย่าหลงเชื่อรีบร้อนคลิก ควรตรวจสอบความถูกต้องจากธนาคารก่อนทุกครั้ง เพราะหลายครั้งเมื่อเราได้รับแจ้งเบาะแส และประสานงานตรวจสอบกับทางธนาคารที่ถูกอ้างชื่อ ก็พบว่าธนาคารไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการส่งข้อความลักษณะดังกล่าวแต่ประการใด” นางสาวนพวรรณ กล่าว

โฆษกกระทรวงดีอีเอส กล่าวว่า สำหรับรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม พบข้อความที่เข้ามาทั้งสิ้น 11,468,906 ข้อความ โดยจากการคัดกรองมีข้อความที่ต้องดำเนินการตรวจสอบ (Verify) จำนวน 208 ข้อความ รวมเรื่องที่ต้องดำเนินการตรวจสอบ 99 เรื่อง ในจำนวนนี้เป็นเรื่องโควิด 22 เรื่อง กระทรวงฯ และศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ต้องขอความร่วมมือประชาชนอย่างต่อเนื่อง เมื่อได้รับข้อมูลผ่านโซเชียล อย่าเพิ่งหลงเชื่อในทันที ขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูล โดยสามารถแจ้งข้อมูลมายังศูนย์ฯ เพื่อช่วยประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อตรวจสอบ และยืนยันข้อเท็จจริงต่อไป และสามารถติดตามและแจ้งเบาะแสข่าวปลอม ได้ผ่านช่องทางต่างๆ ดังนี้ ไลน์ @antifakenewscenter เว็บไซต์ https://www.antifakenewscenter.com/ ทวิตเตอร์ https://twitter.com/AFNCThailand และช่องทางโทรศัพท์โทรสายด่วน GCC 1111 ต่อ 87

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

“เขมร” รอดแผ่นดินไหว? ว่างจัด-โม้สรรพคุณจรวด 300 มม. ยิงไกล 130 กม.
"อธิบดี DSI" แจงสาเหตุเอกสาร "บริษัทไชน่า เรลเวย์ฯ" ตามยาก ลั่นหากพบผิดเจอหมายเรียก-หมายจับ
"นายกฯ" ยันเดินหน้า "เอนเตอร์เทนเมนต์คอมเพล็กซ์" พร้อมเคลียร์พรรคร่วมฯ-ปชช. ลั่นถูกบิดเบือนเป็นกาสิโน
"ศาลรธน." ลงมติเอกฉันท์ ตีตกคำร้อง "ณฐพร" วินิจฉัยกกต.ทำผิดปล่อยฮั้วเลือกสว.
ไต้หวันไม่รอด! แผ่นดินไหวรุนแรงเขย่า 5.0 ลึก 70 กม. สั่งปชช.อพยพด่วน
"ไชยชนก" ลั่นกลางสภาฯ ไม่มีวันเห็นด้วยกับร่างกม.กาสิโน ฝากนายกฯมองประโยชน์พี่น้องปชช.เป็นสำคัญ
"ปส." ล้างบางขบวนการยาเสพติด ยึดยาบ้า 6.5 ล้านเม็ด ทรัพย์สินอื่นๆ มูลค่ากว่า 23 ล้านบาท
จับตา! สหรัฐฯ บีบ ทอ.เหมา F-16 แลกลดภาษี “ผบ.ทอ.” ยืนยันต้อง Gripen
ADB คาดเศรษฐกิจ'ประเทศกำลังพัฒนา'ในเอเชียปีนี้โต 4.9%
ไฟไหม้บ้านพักคนชราที่จีนดับแล้ว 20 ราย

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น