ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยซูเปอร์โพล (SUPER POLL) เสนอผล สำรวจ ของสำนักวิจัยซูเปอร์โพล เรื่อง ความคิดเห็น ต่อรถไฟฟ้า บีทีเอส กรณีศึกษาประชาชนทุกสาขาอาชีพในเขตกรุงเทพมหานครและผู้ พักอาศัยใกล้แนวรถไฟฟ้าสายสีเขียว ดำเนินโครงการทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการ วิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) จำนวน 1,032 ตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 11 – 13 กุมภาพันธ์2565 ที่ผ่าน มา พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 75.9 ได้ใช้บริการรถไฟฟ้าในการเดินทางประจำวันในช่วง 30 วันที่ผ่านมา ที่น่าสนใจคือผู้ที่เคยใช้บริการส่วนใหญ่หรือร้อยละ 92.7 พอใจต่อเรื่องความปลอดภัย บริเวณของสถานี และการเดินรถไฟฟ้า รองลงมาคือส่วนใหญ่หรือร้อยละ 92.3 พอใจต่อการให้บริการ สถานีและการเดินรถไฟฟ้า และส่วนใหญ่หรือร้อยละ 69.7 ระบุ ราคาค่าโดยสารที่เพิ่มขึ้นตามระยะทาง มีความสมเหตุสมผล
นอกจากนี้ ส่วน ใหญ่หรือร้อยละ 95.5 ระบุ การให้บริการเดินรถ ควรให้บริการยาวไร้รอยต่อ ไม่ต้องขึ้นลงต่อขบวนรถตลอดสาย อย่างไรก็ตาม ที่น่าเป็นห่วง คือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 93.8 ระบุ มีความเหลื่อมล้ำ ไม่เป็นธรรมเกิดขึ้นกับ ธุรกิจรถไฟฟ้า สายสีต่าง ๆ และการแสวงหาผลประโยชน์ของ ข้าราชการ เจ้าหน้าที่รัฐ ในหน่วยงานรัฐ ที่เกี่ยวข้อง ร้อยละ 93.7 ระบุ ปัญหาขัดแย้งใน คณะรัฐมนตรี เรื่องสัปทาน รถไฟฟ้าสายสีเขียว น่าเคลือบแคลงสงสัย ผลประโยชน์การเมืองระหว่าง กระทรวงคมนาคม กับ บริษัทเอกชน และร้อยละ 93.7 เช่นกัน ระบุ ปัญหาขัดแย้ง การต่อสัปทานให้บริษัทเอกชน เกิดขึ้นจาก ความขัดแย้งผลประโยชน์ทางการเมืองในรถไฟฟ้าสายสีอื่น และร้อยละ 89.7 ระบุ กรุงเทพมหานคร ต้องชำระหนี้สินที่ค้างจ่ายให้บริษัทเอกชน
ที่น่าสนใจคือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 93.6 ต้องการให้ ผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็น ผู้ว่า กทม. แสดงวิสัยทัศน์ แก้ปัญหาขัดแย้งธุรกิจ การเมือง รถไฟฟ้าสายสีเขียว เช่น นาย ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ นาย สุวัชชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง นางสาวรสนา โตสิตะกูล เป็นต้น ในขณะที่ร้อยละ 6.4 ไม่ต้องการ