ถึงคราวต้องรื้อระบบ “ราชทัณฑ์”

เป็นเรื่องที่สังคมให้ความสนใจอีกครั้ง สำหรับกรณีการลดโทษนักโทษ แบบกระหน่ำซัมเมอร์เซลล์ของ กรมราชทัณฑ์ กระทรวงยุติธรรม หลังจาก นายพิเชษฐ์ ทาบุดดา หรือ ดีเจต้อย และนายชัชวาลย์ ศรีจันดา สองแกนนำ นปช.จังหวัดอุบลราชธานี นักโทษคดีเผาศาลากลางจังหวัดอุบลราชธานี เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2553 ได้รับการปล่อยตัวจากเรือนจำ ทั้งที่โดนคำพิพากษาจำคุกตลอดชีวิต แต่ติดจริงเพียง 6 ปี อีกทั้งย้อนกลับไปก่อนหน้านี้ไม่นาน ก็มีกรณีนักโทษคดีจำนำข้าว ได้ลดโทษกันแบบจัดหนักจัดเต็ม จนเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ในสังคม ถึงขั้นประชดประชันว่า “มีคุกไว้ทำไม” และยังตั้งคำถามว่า “ราชทัณฑ์” มีอำนาจเหนือตุลาการหรือไม่? ร้อนถึงพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้สั่งตั้งกรรมการขึ้นมาตรวจสอบขั้นตอนการอภัยโทษเป็นการด่วน

ทั้งนี้ทีมข่าวท็อปนิวส์ได้ตรวจสอบพระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษแต่ละปี ที่มีประกาศออกมาเนื่องในวันสำคัญ พบประเด็นสำคัญอยู่ที่ พระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษ มาตรา 18 ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ผู้ที่มีอำนาจตรวจสอบคัดกรองรายชื่อนักโทษ ที่จะได้รับพระราชทานอภัยโทษ ได้แก่ คณะกรรมการซึ่งประกอบไปด้วย ผู้ว่าราชการจังหวัดแห่งท้องที่ ผู้พิพากษาศาลแห่งท้องที่หรือตุลาการศาลทหารแห่งท้องที่หนึ่งคน และพนักงานอัยการแห่งท้องที่หรืออัยการทหารแห่งท้องที่หนึ่งคน รวมเป็น 3 คน ซึ่งเมื่อตรวจสอบรายชื่อนักโทษที่จะได้รับพระราชทานอภัยโทษเสร็จแล้ว ให้ส่งรายชื่อต่อศาลแห่งท้องที่ให้แล้วเสร็จภายใน 120 วันนับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกาใช้บังคับ”

 

ข่าวที่น่าสนใจ

การมีคณะกรรมการคอยทำหน้าที่ตรวจสอบคัดกรองรายชื่อนักโทษ ดูเหมือนจะรอบคอบ แต่กลับพบช่องโหว่ เพราะ ในมาตรา 18 มีการบัญญัติเพิ่มเติมว่า “ถ้าการแต่งตั้งกรรมการบางคนอาจทำให้เกิดความไม่สะดวกในการปฏิบัติหน้าที่ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมมีอำนาจแต่งตั้งข้าราชการตามที่เห็นสมควรเป็นกรรมการแทนได้”

ข้อความ “อาจทำให้เกิดความไม่สะดวกในการปฏิบัติหน้าที่” จึงทำให้การพระราชทานอภัยโทษ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ได้ใช้อำนาจตามบทบัญญัติส่วนนี้ ออกคำสั่งตั้งกรรมการตรวจสอบผู้ซึ่งจะได้รับพระราชทานอภัยโทษ โดยมอบให้ผู้บัญชาการเรือนจำในแต่ละท้องที่ เป็นกรรมการในโควต้าผู้ว่าราชการจังหวัดแทน เพราะผู้ว่าฯแต่ละจังหวัด อาจจะเกิดความไม่สะดวกในการมาทำหน้าที่ตรงนี้ เนื่องจากภาระงานก็มีเยอะเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว

การตั้งให้ผู้บัญชาการเรือนจำในแต่ละท้องที่เป็นกรรมการแทนโควต้าผู้ว่าฯ ทำให้กระบวนการพิจารณารายชื่อนักโทษที่จะได้รับการพระราชทานอภัยโทษหรือลดโทษ แทบจะอยู่ในการพิจารณาของผู้บัญชาการเรือนจำแต่เพียงผู้เดียว ไล่มาตั้งแต่การเสนอชื่อนักโทษ การตรวจสอบคัดกรอง แม้ตามบทบัญญัติมาตรา 18 จะมีกรรมการอีก 2 คน คือ ผู้พิพากษา และอัยการ แต่ต้องยอมรับความจริงว่า เมื่อรายชื่อนักโทษที่เข้าเกณฑ์ได้รับการลดโทษถึงมือผู้พิพากษา และอัยการแต่ละจังหวัด ก็เพียงแต่เซ็นเอกสารไปตามหน้าที่เท่านั้น จะให้มาไล่ตรวจสอบรายชื่อนักโทษนับหมื่นๆคน คงไม่สามารถทำได้

 

ดังนั้นช่องโหว่ของกฎหมายที่ว่ามาทั้งหมด ทำให้เราได้เห็นผู้ต้องขังคดีร้ายแรง สร้างความเสียหายให้กับสังคมและประเทศอย่างหนัก โดนโทษจำคุก40-50ปี หรือ ตลอดชีวิต แต่ติดจริงเพียงไม่กี่ปี ก็ได้รับอิสรภาพ ไม่สาสมกับสิ่งที่ได้สร้างความเสียหายไว้ และอาจเป็นช่องทางให้เจ้าหน้าที่บางคนแสวงหาผลประโยชน์จากผู้ต้องขัง เพื่อแลกกับการได้ลดหย่อนโทษ เพราะฉะนั้นถึงเวลาแล้วหรือยัง ที่รัฐบาลและผู้เกี่ยวข้องจะต้องสังคายนากระบวนการลดโทษนักโทษเด็ดขาด ไม่เช่นนั้นต่อไปอาจไม่มีใครเกรงกลัวการกระทำผิดกฎหมายหรือสร้างความเสียหายให้บ้านเมืองอีกต่อไป

 

 

 

อ่านเพิ่มเติม พระราชกฤษฎีกา พระราชทานอภัยโทษ พ.ศ. ๒๕๖๔

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"นฤมล-ธรรมนัส" ร่วมต้อนรับ "วีระพงษ์" นายกอบจ.มุกดาหาร สมัครสมาชิก พรรคกล้าธรรม มั่นใจอนาคตเลือกตั้งสนามใหญ่
"เสธหิ" พูดกระแทกใจ "อันที่สุดของไทยนั้นคือชาติ หากพินาศแล้วใครอยู่ได้หนอ"
สาวสุดช็อก จองตั๋วเครื่องบินไป จ.สกลนคร ราคาสูงทะลุ 1.4 หมื่นบาท
เกาหลีใต้จ่อเพิ่มการนำเข้าก๊าซ LNG จากสหรัฐ
สิงคโปร์ชี้สหรัฐทำลายระบบการค้าเสรีที่สร้างมากับมือ
เกาหลีใต้ประกาศเลือกตั้ง 3 มิถุนายน
อั้นไว้ก่อน ค่อยเติม พรุ่งนี้น้ำมันลด "เบนซิน-แก๊สโซฮอล์" ทุกชนิด ปรับราคาลง
“ปลัดฯแรงงาน” เผยจ่ายชดเชยลูกจ้างเสียชีวิต “ตึกสตง.ถล่ม” แล้ว กว่า 19 ล้าน พร้อมดูแลสิทธิผู้บาดเจ็บ ว่างงานเต็มที่
“กัน จอมพลัง” พา “คะน้า” ดาราสาว เข้าแจ้งความเอาผิด “ไฮโซเก๊” ตร.ไซเบอร์เตรียมออกหมายเรียกพรุ่งนี้
ทะเลเดือด "ฮูตี" ซัดขีปนาวุธ-โดรนถล่มเรือรบมะกัน 2 ลำโจมตีฐานทหารอิสราเอล

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น