โรงไฟฟ้าขยะ จ่อเอาผิด หน่วยงานในกระทรวงพลังงาน เหตุลดอัตรารับซื้อไฟฟ้าสร้างความเสียหาย

จับตาโรงไฟฟ้าขยะพลิกข้อกฎหมาย จ่อเอาผิดหน่วยงานในกระทรวงพลังงาน เหตุดองโครงการ-ลดอัตรารับซื้อไฟฟ้า โดยไม่ฟังความคิดเห็นภาคเอกชน-มหาดไทย พร้อมหยิบคดีบีทีเอสฟ้องชนะหน่วยงานรัฐเทียบเคียง

แหล่งข่าวจากกระทรวงพลังงาน เปิดเผยถึงความคืบหน้าการรับซื้อไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าขยะชุมชน ว่าล่าสุด รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน โยนเรื่องให้คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ศึกษาและกำหนดอัตรารับซื้อไฟฟ้าใหม่อีกครั้ง และนำเรื่องเข้าคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.)อนุมัติ คาดว่าต้องใช้เวลาอีกนับเดือนโดยอย่างช้าไม่เกินไตรมาส2 ของปี 2565

ในด้านของเอกชนมีความเห็นว่า โครงการกำจัดขยะมูลฝอยเพื่อแปลงเป็นพลังงานจำนวนทั้งสิ้น 23โครงการนั้น ล้วนดำเนินการผ่านคณะกรรมการกลางจัดการสิ่งปฎิกูลและมูลฝอยซึ่งมีผู้แทนระดับผู้บริหารจากกระทรวงที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม รวมทั้งผู้แทนจากกระทรวงพลังงานและได้ผ่านการประมูลคัดเลือกเอกชนผู้เข้าร่วมโครงการภายใต้พระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมืองแล้วโดยได้ใช้ข้อมูลรายละเอียดและหลักเกณท์ที่เกี่ยวกับอัตรารับซื้อตามมติ กพช.เมื่อปี2560ในการยื่นข้อเสนอโครงการทั้งสิ้น ดังนั้นโดยหลักเกณท์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีจึงย่อมถือได้ว่าหลักเกณท์ที่บังคับใช้ในขณะการประมูลโครงการย่อมเป็นข้อผูกพันของรัฐ หากมีการเปลี่ยนแปลงใดๆจึงต้องรับฟังความคิดเห็นและได้รับความยินยอมจากทั้งจากกระทรวงมหาดไทยและเอกชนผู้ชนะการประมูลอันเป็นผู้มีส่วนได้เสียก่อน และเป็นไปตามหลักการในกระบวนการยุติธรรมดังแนวคำพิพากษาของศาลปกครองกลางคดีรถไฟฟ้าบีทีเอส

การเปลี่ยนแปลงนโยบายรับซื้อไฟฟ้าหากทำให้อัตรารับซื้อโครงการไฟฟ้าจากขยะมูลฝอยลดต่ำกว่าอัตราที่ประกาศกำหนดตามมติกพช.ปี2560ย่อมทำให้รายได้อันพึงได้ของเอกชนลดต่ำลงจนส่งผลกระทบถึงการขอสินเชื่อจากสถาบันการเงิน

 

ข่าวที่น่าสนใจ

นอกจากนี้การดำเนินการล่าช้าเนื่องจากการกลับไปกลับมาของนโยบายของกระทรวงพลังงานยังสร้างภาระต่อต้นทุนในการดำเนินโครงการโรงฟ้าสูงขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ รวมถึงกระทบต่อแผนงานการจัดการขยะมูลฝอยและการบริหารจัดการงบประมาณเกี่ยวกับขยะในองค์รวมของประเทศให้ได้รับผลกระทบเป็นวงกว้างขึ้นและส่งผลต่อระบบสาธารณสุขของประเทศ

ดังนั้นภาคเอกชนจึงเตรียมศึกษาข้อกฎหมายว่าการปฎิบัติราชการโดยล่าช้า รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงหลักเกณท์กติกาเกี่ยวกับอัตรารับซื้อไฟฟ้าที่ได้มีประกาศเป็นการทั่วไปจนมีเอกชนได้รับการคัดเลือกและมีการลงนามในสัญญากับกระทรวงมหาดไทยแล้ว โดยไม่รับฟังความเห็นของภาคเอกชน และกระทรวงมหาดไทย จนสร้างความเสียหายอย่างกว้างขวางจะเข้าข่ายเจ้าพนักงานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา 157 แห่งประมวลกฎหมายอาญา และการกระทำละเมิดต่อเอกชนหรือไม่

 

โดยนำคำพิพากษาของศาลปกครองกลางกรณีบริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีทีเอส มาเปรียบเทียบ เพราะมีความคล้ายคลึงกัน โดยคดีนี้บีทีเอสชนะคดียื่นฟ้องคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติ การร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชนพ.ศ.2562 โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) เป็นจำเลยที่1 และการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย เป็นจำเลยที่ 2 เนื่องจากเรื่องนี้มีการแก้ไขหัวข้อการประเมินข้อเสนอด้านเทคนิค และการเงิน นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงการคัดเลือกเอกชน โดยไม่ได้รับฟังความคิดเห็นของภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องก่อนดำเนินการ ซึ่งศาลปกครองกลางมีคำนิจฉัยเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2565 พิพากษาว่ากรณีดังกล่าว เป็นคำสั่งทางปกครองทั่วไปที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ถือเป็นการกระทำละเมิดต่อภาคเอกชน และให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทน

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

สามเชฟดังร่วมรังสรรค์เมนูเพื่อการกุศลทางการแพทย์
"ทนายบอสพอล" เผยเป็นไปตามคาด "เอก สายไหม" ถูกจับ จ่อดำเนินคดีหมิ่นประมาท เรียกค่าเสียหาย 100 ล้าน
ศาลออกหมายจับ 'เจ๊หนิง' พร้อมสามีและหลาน ร่วมกันแจ้งความเท็จ 'ภรรยาบิ๊กโจ๊ก'
อิสราเอลถล่มเลบานอนดับครึ่งร้อย
หมายจับ ICC กระทบอิสราเอลอย่างไร
เปิดวิสัยทัศน์ประธานเครือข่ายธุรกิจ Bizclub นครราชสีมาคนใหม่ “กิม ฐิติพรรณ จันทร์ประทักษ์”
เกาหลีใต้ชี้รัสเซียส่งระบบป้องกันภัยทางอากาศให้เกาหลีเหนือ
สหรัฐเมินไฮเปอร์โซนิครัสเซียลั่นไม่หยุดหนุนยูเครน
เมียเอเย่นต์ค้ายาบ้า ร้องถูกตร.รีด 5 แสน แลกปล่อยตัว พ่วงเรียกเก็บเงินรายเดือน
สถาปนาเขตพื้นที่คุ้มครองฯ ชาติพันธุ์ชุมชนชาวเลโต๊ะบาหลิว

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น