สธ.ห้ามรพ.เอกชนเก็บค่ารักษาผู้ป่วยโควิด ชี้ยังป่วยฉุกเฉิน

สธ.ห้ามรพ.เอกชนเก็บค่ารักษาผู้ป่วยโควิด ชี้ยังป่วยฉุกเฉิน จนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงประกาศกระทรวง

วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 65 นพ.ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า ตามที่ สธ.ได้เตรียมการปรับให้ผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด-19 (COVID -19) ให้ได้รับสิทธิการรักษาตามระบบปกติ เนื่องจากความรุนแรงของโรคโควิด-19 ลดลง ผู้ป่วยส่วนใหญ่สามารถดูแลรักษาที่บ้านได้ โดยไม่จำเป็นต้องเข้าพักที่สถานพยาบาล ซึ่งจะช่วยให้การบริหารจัดการเตียงสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงจากโรคโควิด-19 หรือโรคอื่นๆ เป็นไปอย่างเหมาะสม

นพ.ธเรศ กล่าวว่า โดยคาดว่าจะมีการออกประกาศกระทรวงสาธารณสุขเพื่อรองรับสิทธิการรักษาของผู้ป่วยโรคโควิด-19 ในช่วงเดือนมีนาคม 2565 แต่ในขณะนี้ กลับพบว่า มีสถานพยาบาลเอกชนบางแห่งที่มีความเข้าใจคลาดเคลื่อนทำการเรียกเก็บค่ารักษาพยาบาลจากผู้ป่วยโรคโควิด-19 หรือญาติ ซึ่งต้องขอชี้แจงว่า ในขณะนี้ ยังไม่มีเปลี่ยนแปลง หรือยกเลิกประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการกำหนดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการผู้ป่วยฉุกเฉินโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด-19 แต่อย่างใด

นพ.ธเรศ กล่าวว่า ดังนั้น หากสถานพยาบาลเอกชนมีการเรียกเก็บค่ารักษาพยาบาลจากผู้ป่วยโควิด-19 หรือญาติ ก่อนที่จะมีการเปลี่ยนแปลง หรือยกเลิกประกาศฉบับเดิม ก็จะถือว่ากระทำผิดพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) สถานพยาบาล พ.ศ.2541 ซึ่งผู้ประกอบกิจการและผู้ดำเนินการสถานพยาบาล จะต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

 

ข่าวที่น่าสนใจ

นพ.ธเรศ กล่าวว่า สำหรับการเปลี่ยนแปลง หรือออกประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับใหม่นั้น จะต้องมีการประชุมหารือร่วมกับ กองทุนสุขภาพทั้ง 4 กองทุน ประกอบด้วย กรมบัญชีกลาง สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) สำนักงานประกันสังคม (สปส.) และกองเศรษฐกิจสุขภาพและหลักประกันสุขภาพ เสียก่อน เพื่อเตรียมความพร้อมของสถานพยาบาลตามสิทธิผู้ป่วย และสถานพยาบาลภาครัฐ ในการรองรับผู้ป่วยตามสิทธิ หรือผู้ป่วยที่มีปัญหาไร้สิทธิหรือสถานะได้อย่างเต็มศักยภาพ ทั้งนี้ สธ.จะดำเนินการจัดทำยูเซ็ป พลัส (UCEP Plus) ขึ้น เพื่อรองรับการรักษาพยาบาลผู้ป่วยโรคโควิด-19 โดยเฉพาะ

นพ.ธเรศ กล่าวว่า ซึ่งจะกำหนดให้ผู้ป่วยด้วยโรคโควิด-19 ที่มีอาการฉุกเฉินวิกฤติเข้าข่ายสีเหลือง หรือสีแดง อาทิ ผู้ป่วยที่มีอาการเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจซึ่งต้องใช้ออกซิเจน หรือผู้ป่วยที่ต้องเข้ารับการรักษาในหออภิบาลผู้ป่วยหนัก (ICU) สามารถเข้ารับการรักษาพยาบาลกับสถานพยาบาลทุกแห่ง ส่วนผู้ติดเชื้อที่ไม่แสดงอาการ หรือสีเขียว ก็จะมีการสนับสนุนให้รักษาแบบกักตัวอยู่ ณ ที่พัก (Home Isolation) กักตัวในชุมชน (Community Isolation) หรือสถานที่กักตัวในโรงแรม (Hotel Isolation) ต่อไป

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

อยู่ไม่ได้แล้ว! ฟ้าพิโรธผ่าบ้าน อ.นาเชือก จ.มหาสารคาม ไฟลุกท่วมวอดทั้งหลัง
ผู้ว่าธปท. รับมอบทองคำ 10 กิโลกรัม มูลค่ากว่า 34 ล้านบาท จากคณะศิษยานุศิษย์องค์หลวงตามหาบัว
“อนุทิน” ซาบซึ้งในพระบารมี “ในหลวง-พระราชินี” ทรงขับเครื่องบินเสด็จฯภูฏานด้วยพระองค์เอง ฟ้าเปิดทางแม้อากาศปิด
ไฟไหม้ร้านอาหารดับ 22 รายที่จีน
คะแนนนิยมผู้นำสหรัฐร่วงต่ำสุดในรอบ 80 ปี
จีนยก 'ไทย' สำคัญระดับสูงในการทูตประเทศเพื่อนบ้าน
บราซิลจัดประชุม”บริกส์”ถกสงครามภาษีทรัมป์
สเปน-โปรตุเกสไฟฟ้ากลับมาแล้ว 99 %
ให้เลือด = ให้ชีวิต เบื้องหลังทุกหยดโลหิต…คือหัวใจจิตอาสา CPF ทั่วไทย
"นฤมล" ร่วมประชุมนายกฯ เกาะติดค้าชายแดน แผนพัฒนาศูนย์ขนส่ง One Stop Service เพิ่มสะดวกนำสินค้าเข้า-ออก

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น