“รพ.เด็ก” เผยเด็กติดเชื้อเพิ่มขึ้น17% มีกลุ่มอายุน้อยกว่า 2 ปี ถึง 4%

"รพ.เด็ก" เผยเด็กติดเชื้อเพิ่มขึ้น17% มีกลุ่มอายุน้อยกว่า 2 ปี ถึง 4%

ที่สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี(รพ.เด็ก) นพ.อดิศัย ภัตตาตั้ง ผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี ให้สัมภาษณ์ถึงสถานการณ์ของศูนย์การทำ Home isolation (HI) สำหรับเด็กที่ป่วยโควิด 19 และการบริหารจัดการเตียงสำหรับเด็กป่วยโควิด 19 ว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด19 สายพันธุ์โอมิครอน ในภาพรวมจำนวนเด็กทั่วประเทศพบติดเชื้อขณะนี้แล้ว 15-17% ของผู้ใหญ่ ด้วยปัจจัยคือ 1.เด็กอายุ 5-11 ปี เพิ่งได้เข้ารับวัคซีน 2.โรงเรียนมีการเปิดการเรียนการสอน เด็กๆมีการพบเจอกัน ในช่วงอายุที่พบเด็กอายุน้อยกว่า 2ปี ติดเชื้อประมาณ 4% ของกลุ่มเด็กทั้งหมด

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ในส่วนของอาการเด็กที่ติดเชื้อโควิด19 สายพันธุ์โอมิครอน นพ.อดิศัย กล่าวว่า เด็กที่มีอัตราการติดเชื้อเพิ่มขึ้น แต่พบอาการรุนแรงไม่ถึง 3% อยู่ในระดับความรุนแรงที่ 2.2-3 หรืออยู่ในกลุ่มผู้ป่วยสีส้มกับสีแดง ซึ่งเป็นเด็กที่มีโรคประจำตัว อีก 50% พบว่าไม่มีอาการ และอีก 30% อยู่ในกลุ่มผู้ป่วยสีเขียว คือมีอาการเล็กน้อย อาทิ มีไข้เล็กน้อย ยังสามารถวิ่งเล่นได้ หากมีไข้ทานยาลดไข้ แต่หากผู้ปกครองในกลุ่มเด็กอายุ 1-5 ปี มีความกังวลเรื่องอัตราการหายใจ ซึ่งในเด็กกลุ่มนี้จะหายใจเร็วเป็นปกติ ก็สามารถใช้เครื่องวัดออกซิเจนได้ โดยค่าต้องไม่น้อยกว่า 96 ซึ่งเฉลี่ยแล้วเด็กจะมีอาการดีขึ้นใน 5 วัน แต่ยังคงต้องมีการดูแลตามมาตรฐานอย่างน้อย 10 วันที่รักษาในโรงพยาบาล และติดตามอาการให้ครบ 14 วัน ทั้งนี้การรักษาเด็กก็เหมือนกับผู้ใหญ่ จะแตกต่างเมื่อเด็กทานยาเม็ดไม่ได้ก็จะมีการใช้ยาน้ำฟาวิพิราเวียร์ผสมกับไซรัปของทางรพ. เพื่อให้เด็กได้ทางง่ายขึ้น โดยให้ขนาดยาตามน้ำหนัก ดังนั้นแม้ว่าแนวโน้มของเด็กที่ติดเชื้อจะมากขึ้น แต่อาการรุนแรงน้อยกว่าสายพันธุ์เดลต้า

 

สำหรับระบบ HI เด็กที่ติดเชื้อโควิด19 ในกลุ่มสีเขียวหรือไม่ค่อยมีอาการที่ทางรพ.ดูแล ในพื้นที่กรุงเทพฯ โดยเด็กติดเชื้อช่วงเดือนม.ค.65 ซึ่งอยู่ในระบบจำนวนกว่า 200 ราย ในเดือนก.พ.เพียงครึ่งเดือนมีเด็กติดเชื้อเพิ่มขึ้นอีกกว่า 150 ราย เฉลี่ยสูงขึ้น 30% ขณะนี้รวมแล้วมีจำนวน 250 ราย จากยอดสะสมเกือบ 1,000 ราย อาจจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอีก 300 ราย ทั้งนี้เด็กที่สามารถเข้าระบบ HI ได้ต้องผ่านการคัดกรองผ่าน 3 ช่องทางได้แก่ 1.คลินิกของทางรพ. 2.สายด่วน 1330 ของสปสช. และที่อื่นๆ โดยจะต้องผ่านการคัดกรอง ซักประวัติ ไม่มีไข้สูง ไม่มีอาการซึม ทานอาหารได้ ไม่มีโรคประจำตัว พ่อแม่ผู้ปกครองพร้อมให้การดูแล และมีห้องแยกสำหรับป้องกันการแพร่เชื้อ ทางรพ. จะส่งเครื่องมือวัดไข้ วัดออกซิเจน ยา อาหาร 3 มื้อ และของเล่นเด็ก จากนั้นทีมพยาบาลก็จะมีการซักถามอาการในทุกเช้า หากพบว่าติดเชื้ออาการรุนแรงจะขอให้เข้ารับบริการรักษาใน รพ. หรือเด็กมีอาการเปลี่ยนแปลงผู้ปกครองสามารถโทรเข้ามาได้ที่ LINE OA ซึ่งจากการรักษาที่ผ่านมาโอกาสอาการเปลี่ยนแปลงพบเพียง 1-2% เท่านั้น เน้นย้ำส่วนเด็กทารก- เด็กอายุน้อยกว่า 1 ปี จะต้องเข้ารับการคัดคกรองและรักษาในโรงพยาบาลที่ใกล้เคียงบ้าน”

ด้านสถานการณ์เตียง นพ.อดิศัย อธิบายว่า ในภาพรวมของทางกรุงเทพฯ ทั้งหมด 20 แห่งในเครือข่ายยูฮอสเน็ต (UHOSNET) กรมการแพทย์ และสำนักงานการแพทย์ กทม. กว่า 500 เตียง มีอัตราครองเตียงประมาณ 80% ซึ่งสำหรับเด็กอาจจะยากกว่าผู้ใหญ่ เพราะเตียงเด็กจะมีการแบ่งเป็น 3 กลุ่มหลัก ได้แก่ 1. เด็กอายุน้อยกว่า 20-30 วันหรือกลุ่มเด็กทารกแรกเกิด 2.เด็กอายุ 1-5 ปี และ3.เด็กอายุมากกว่า 12 ปี ดังนั้นจำนวนเตียงของกทม. ก็มีเด็กทั้ง 3 กลุ่มเข้ารับการรักษา ในส่วนของทางรพ. สถานการณ์เตียงค่อนข้างหนาแน่น โดยมีการตั้งรับจำนวนเด็ก

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"พีช" หนุ่มขับ BMW คุมอารมณ์ไม่อยู่ โวยสื่อหลังโดนกล้องกระเเทกหัว
เตรียมสนุกครบรส งานมหกรรมอาหารพื้นบ้าน สืบสานตำนานวิถีถิ่นอยุธยา 25-29 เมษายน 2568 ที่ วัดหลังคาขาว
"ภูมิใจไทย" ลงมติเอกฉันท์ ให้ "เอกราช ช่างเหลา" พ้นสมาชิกพรรค
เปิดใจ "นายกเบี้ยว" ยอมรับลูกขับรถหวาดเสียว พร้อมชดใช้-ดูแลลุงป้าคู่กรณี ขอสังคมให้โอกาสลูกกลับตัว
สีจิ้นผิงชี้การกระทำฝ่ายเดียวไม่ได้รับการสนับสนุนจากประชาชน
อินโดนีเซียจะลดภาษีและเพิ่มนำเข้าเชื้อเพลิงจากสหรัฐ
โผล่แล้ว ลูกชาย "นายกเบี้ยว" เสียงสะอื้นขอโทษ อ้างตกใจหนีนอนบ้านเพื่อน ไม่เห็นลุงป้ายกมือไหว้
จีน-กัมพูชากำหนดให้ 2568 เป็นปีท่องเที่ยวระหว่างกัน
สหรัฐสั่งเก็บค่าธรรมเนียมเรือสินค้าจีน
การรถไฟฯ ร่วมกับ สจล. จัดกิจกรรม Doctor Train ครั้งที่ 8 ชวนพนักงานการรถไฟฯ ครอบครัว และประชาชนพื้นที่ใกล้เคียง เข้ารับบริการตรวจสุขภาพฟรี 29-30 เม.ย. 68 ที่สถานีรถไฟนครสวรรค์

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น