“ก.แรงงาน” เล็งหารือ”ศบค.” ให้ต่างด้าวกักตัวแบบ Test and Go

“สุชาติ” สั่ง กรมจัดหางาน หารือ ศบค. ให้แรงงานต่างด้าวกักตัวในรูปเเบบ Test and Go หวังลดภาระค่าใช้จ่ายให้ผู้ประกอบการ ยอมรับ การนำเข้าแรงงานต่างด้าวยังไม่เป็นไปตามเป้า เตรียมเสนอครม. ยืด MOU แรงงานครบกำหนดแก้ปัญหาขาดแคลนแรงงาน

วันนี้(21 ก.พ.65) นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า กระทรวงแรงงาน ได้เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กระทรวงกลาโหม กระทรวงมหาดไทย กรมการปกครอง สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง กระทรวงสาธารณสุข และภาคเอกชน อาทิ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สมาคมอุตสาหกรรมก่อสร้างไทยฯ สมาคมอาหารแช่เยือกแข็งไทย มาประชุมร่วมกันเพื่อหารือเกี่ยวกับปัญหาการขาดแคลนแรงงานของภาคธุรกิจ และการนำเข้าแรงงานต่างด้าว 3 สัญชาติ (กัมพูชาลาวและเมียนมาร์) ตาม MOU ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

นายสุชาติ ระบุว่า วันนี้ ได้ชี้แจงเกี่ยวกับการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว 3 สัญชาติ (กัมพูชา ลาว และเมียนมาร์) เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงานของภาคธุรกิจ ซึ่งปัจจุบัน ได้มีการนำเข้าเเรงงานตาม MOU จากประเทศกัมพูชา เพียงประเทศเดียวเท่านั้น รวมถึงการหารือเพื่อแก้ปัญหาความล่าช้าการนำเข้าแรงงานจากเมียนมาร์ ซึ่งปัจจุบัน ยังไม่สามารถนำเข้าแรงงานได้ เนื่องจากปัญหาภายในประเทศของเมียนมาร์ จึงได้มอบหมายให้อธิบดีกรมจัดหางาน เร่งหารือ กับรัฐมนตรีแรงงานของเมียนมาร์ เพื่อนำเข้าแรงงาน เนื่องจากประเทศไทยมีความจำเป็นที่จะต้องใช้แรงงานเหล่านี้ กว่า 1 แสนราย

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ขณะเดียวกัน ได้มอบหมายให้อธิบดีกรมการจัดหางานหารือร่วมกับ ศบค. เกี่ยวกับมาตรการการกักตัวของแรงงาน โดยอาจจะใช้มาตรการ หรือ แนวทางเดียวกับ Test and Go เพื่อลดค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นและเป็นการช่วยเหลือผู้ประกอบการอีกด้วย

รมว.แรงงาน กล่าวอีกว่า ขณะเดียวกัน ได้แจ้งความคืบหน้าให้แก่ภาคเอกชนได้รับทราบ ถึงการผ่อนผันให้แรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานตาม MOU ซึ่งวาระการจ้างงานครบ 4 ปี ในปี 65 ระหว่างวันที่ 1 ม.ค. 65 – 31 ธ.ค. 65 จำนวน 106,580 คน สามารถอยู่และทำงานต่อไปได้ โดยไม่ต้องเดินทางกลับประเทศต้นทาง ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการนำเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบ

นอกจากนี้ ในการนำแรงงานต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา และเมียนมาร์ เข้ามาทำงานตามมาตรา 64 ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19) ใน 9 จังหวัด โดยเริ่มนำร่องในจังหวัดจันทบุรีเป็นจังหวัดแรก ตั้งแต่เปิดประเทศวันที่ 1 ธ.ค. 64 และนำแนวทางดังกล่าวมาใช้ในในพื้นที่ 8 จังหวัด แบ่งเป็น สัญชาติกัมพูชา ในพื้นที่ 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดศรีสะเกษ สุรินทร์ สระแก้ว และตราด สัญชาติเมียนมาร์ ในพื้นที่ 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงราย ตาก กาญจนบุรี และระนอง

ด้านนาย สุชาติ จันทรานาคราช รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ภาคเอกชนมีความต้องการใช้แรงงานเป็นจำนวนมาก โดยสิ่งที่ภาคเอกชน เสนอต่อที่ประชุมคือ การลดค่าใช้จ่ายในการนำแรงงานเข้ามา ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการต่อวีซ่า การตรวจหาเชื้อโควิด การลดระยะเวลากักตัว โดยเฉพาะในรูปแบบ Test and go มาใช้ เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายให้แก่ภาคเอกชน เชื่อว่าหากสามารถมาใช้ได้จะเป็นผลดีกับภาคธุรกิจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"ก.แรงงาน" เตรียมเปิดขึ้นทะเบียน "แรงงานต่างด้าว" รอบใหม่
เจาะ "MOU44" พื้นที่ทับซ้อนทางทะเลไทย-กัมพูชา "เกาะกูด" เป็นของใคร
"สมชัย" เผยเคยทำงานร่วม "กิตติรัตน์" ยอมรับเป็นคนเก่ง แต่เพราะเคยตามใจฝ่ายการเมืองทำประเทศชาติเสียหาย
ระทึก "รถทัวร์กรุงเทพฯ-เชียงแสน" ชน "รถพ่วง" พลิกคว่ำตกข้างทาง ผู้โดยสารบาดเจ็บอื้อ
"ศิริกัญญา" ปูดข่าว รบ.วางแผนยึดการบินไทย ส่ง 2 ผู้บริหารฟื้นฟู
โมเดลใหม่...ประมงสมุทรสงครามเปิดตัวกิจกรรม “สิบหยิบหนึ่ง” ปราบปลาหมอคางดำ จับมือเกษตรกรร่วมแก้ปัญหาในบ่อเลี้ยงเกษตรกรและแหล่งน้ำธรรมชาติ
"กองปราบฯ" รับโอนคดี "ซินแสชื่อดัง" หลอกผู้เสียหายสูญเงิน 66 ล้าน
กรมทรัพยากรน้ำบาดาล เขต 6 (ตรัง) ศึกษาดูงานด้านการพัฒนาแหล่งน้ำบาดาล
"นครราชสีมา" เสี่ยงภัยแล้ง 10 อำเภอ ชลประทานประกาศงดทำนาปรังทั้งจังหวัด
"อัจฉริยะ" แจงผลสอบ "อาหารเสริม Eighteen 18" พบมีเลข อย.ถูกต้อง

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น