ที่กระทรวงสาธารณสุข นายแพทย์โสภณ เอี่ยมศิริถาวร รองอธิบดีกรมควบคุมโรค แถลงรายงานสถานการณ์วัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ในประเทศไทย ว่า ขณะนี้มีการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 สะสมกว่า 122 ล้านโดส เป็นเข็มกระตุ้น 19.6 ล้านคน จำเป็นต้องเร่งฉีดกระตุ้น เพราะขณะนี้มีการระบาดมากขึ้น โดยเฉพาะวัยทำงาน ไปสถานบันเทิง สถานที่เสี่ยง และแพร่ต่อชุมชน ครัวเรือน ช่วงการระบาดของเชื้อโอมิครอน ระลอกเดือนมกราคม 2565 เป็นต้นมา กลุ่มติดเชื้อสูงสูด คือ อายุ 20-29 ปี ตามด้วยกลุ่ม 30-39 ปี และกลุ่มที่มาแรงช่วงนี้คือ วัยเด็ก 0-19 ปี ที่ติดเชื้อมากขึ้นกว่าช่วงการระบาดของเชื้อเดลต้า ผู้สูงอายุติดเชื้อต่ำในช่วงนี้เมื่อเทียบกับกลุ่มอื่น แต่เสี่ยงสูงต่อการเสียชีวิตมากสุด อย่างไรก็ตาม สามารถป้องกันได้โดยการฉีดวัคซีน
สธ.เร่งค้นหาผู้สูงอายุ 2.2 ล้านคน ยังไม่ฉีดวัคซีน หวังสร้างความปลอดภัย หากลูกหลานกลับไปพบช่วงสงกรานต์
ข่าวที่น่าสนใจ
ทั้งนี้ข้อมูลที่กรมควบคุมโรคสำรวจตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2565 ในคนเสียชีวิตที่อายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไปจำนวน 666 คน คิดเป็น ร้อยละ 82 ของผู้เสียชีวิตทุกกลุ่มวัย พบไม่ได้ฉีดวัคซีน ร้อยละ 58 มีประวัติรับวัคซีน 1 เข็ม ร้อยละ 10 รับวัคซีน 2 เข็ม ร้อยละ 30 รับวัคซีน 3 เข็มขึ้นไป ร้อยละ 2 จึงจำเป็นต้องเร่งรัดการฉีดโดยเฉพาะผู้ที่ยังไม่ได้ฉีดรวมถึงการให้วัคซีนเข็มกระตุ้น โดยในภาพรวมขณะนี้ ยังมีผู้สูงอายุ 2.2 ล้านคน ที่ยังไม่ได้รับวัคซีน กลุ่มนี้เสียชีวิต 387 คน คิดเป็นอัตราเสียชิวิต 178 คนต่อล้านคน ผู้สูงอายุได้รับวัคซีน 1 เข็ม 6 แสนคน เสียชีวิต 66 คน อัตราเสียชีวิต 112 คนต่อล้านคน ผู้สูงอายุรับวัคซีน 2 เข็ม 6.2 ล้านคน เสียชีวิต 197 คน อัตราเสียชีวิต 32 คนต่อล้านคน ลดลงถึง 6 เท่า และผู้สูงอายุรับวัคซีน 3 เข็ม 3.7 ล้านคน เสียชีวิต 16 คน อัตราเสียชีวิต 4 คนต่อล้านคน ลดลงถึง 41 เท่า เมื่อเทียบคนที่ไม่รับ ดังนั้นการฉีดวัคซีนป้องกันได้ผล และเป็นหัวใจควบคุมไม่ทำให้เสียชีวิตสูงขึ้น
รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า ต้องเร่งค้นหาผู้สูงอายุที่ไม่ฉีดอีก 2.2 ล้านคน ทุกหน่วยงานทุกภาคส่วนมีทะเบียนผู้สูงอายุอยู่ ต้องบูรณาการข้อมูลเร่งค้นหา ออกไปให้ความรู้ สร้างแรงจูงใจ กระตุ้นและนำมาฉีด หากช่วยกันช่วง 1-2 เดือนนี้ จะทำให้ผู้สูงอายุได้รับวัคซีนสูงขึ้น ป้องกันผู้สูงอายุช่วงเทศกาลสงกรานต์รวมถึงช่วงปิดเทอม หากลูกหลานไปเยี่ยมจะได้ปลอดภัยมากขึ้น ในส่วนของเด็กแม้ป่วยมากแต่โอกาสเสียชีวิตน้อย แต่วัยประถม 5-11 ปี ใกล้ชิดปู่ย่าตายายผู้สูงอายุ หากเร่งฉีดจะเป็นเกราะป้อกันผู้สูงอายุอีกทาง และลดโอกาสการระบาดในโรงเรียน ซึ่งขณะนี้มีเด็กนักเรียนที่ฉีดไปแล้วร้อยละ 10 จากเป้าหมาย 5 ล้านคน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
-