เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2565 เวลา 11 .00 น. นพ. สมเกียรติ บวรเสรีพไท หัวหน้ากลุ่มการแพทย์ ผู้สื่อข่าวลงพื้นที่โรงพยาบาลเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี นพ.สมเกรียรติให้สัมภาษณ์แก่ผู้สื่อข่าวว่า ช่วงนี้มีโควิด สายพันธุ์ใหม่มาอีก ที่จะกายพันธุ์ เหมือนไข้หวัดใหญ่ ให้ประชาชน ช่วยกันระมัดระวังสายพันธุ์ใหม่ จะติดง่ายมาก แต่รัฐบาลจะช่วยกันดูแลกันไป องค์การอนามัยโลกได้กำหนดให้สายพันธุ์ B.1.1.529 เป็นสายพันธุ์ที่น่ากังวล และตั้งชื่อว่า โอมิครอน ตามคำแนะนำของคณะที่ปรึกษาด้านวิชาการของ องค์การอนามัยโลกเกี่ยวกับวิวัฒนาการของไวรัส (Technical Advisory Group on Virus Evolution) การตัดสินใจนี้อิงตามข้อมูลและหลักฐานที่นำเสนอต่อคณะที่ปรึกษาฯ ว่า โอมิครอนมีการกลายพันธุ์หลายตำแหน่งที่อาจส่งผลต่อพฤติกรรมของเชื้อกลายพันธุ์ชนิดนี้ เช่น ความง่ายในการแพร่เชื้อ หรือ ความรุนแรงของโรคเป็นอย่างไร ต่อไปนี้คือข้อมูลที่ทราบและ
นักวิจัยในประเทศแอฟริกาใต้และทั่วโลกกำลังศึกษาเพื่อทำความเข้าใจในแง่มุมต่าง ๆ ของสายพันธุ์โอมิครอน และจะเผยแพร่ผลการศึกษาเมื่อมีข้อมูลมากขึ้น ความสามารถในการแพร่เชื้อ: ยังไม่ชัดเจนว่า สายพันธุ์โอมิครอนสามารถแพร่เชื้อได้ดีกว่าหรือไม่ (เช่น แพร่จากอีกคนหนึ่งไปสู่อีกคนหนึ่งได้ง่ายกว่า) เมื่อเทียบกับสายพันธุ์อื่น ๆ รวมถึงสายพันธุ์เดลตา ตอนนี้มีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นในประเทศแอฟริกาใต้ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากสายพันธุ์นี้ อย่างไรก็ตามขณะนี้ กำลังมีการศึกษาทางระบาดวิทยาเพื่อทำความเข้าใจว่าการเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้ติดเชื้อนี้เป็นเพราะสายพันธุ์โอมิครอน หรือปัจจัยอื่น ๆ ความรุนแรงของโรค: ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่า การติดเชื้อสายพันธุ์โอมิครอนจะทำให้อาการของโรคมีความรุนแรงมากขึ้น เมื่อเทียบกับการติดเชื้อจากสายพันธุ์อื่น ๆ เช่น เดลต้า ข้อมูลเบื้องต้นชี้ให้เห็นว่า มีอัตราการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลในแอฟริกาใต้เพิ่มขึ้น แต่นี่อาจเป็นเพราะจำนวนผู้ติดเชื้อโดยรวมที่เพิ่มขึ้น มากกว่าเกิดจากการติดเชื้อสายพันธุ์โอมิครอนโดยตรง
ตอนนี้ยังไม่มีข้อมูลที่ระบุว่า อาการที่เกิดจากการติดเชื้อสายพันธุ์โอมิครอนนั้นแตกต่างจากสายพันธุ์อื่น ๆ มีรายงานการติดเชื้อสายพันธุ์โอมิครอนครั้งแรก ในกลุ่มนักศึกษามหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นกลุ่มคนอายุน้อยที่มีแนวโน้มจะมีอาการเพียงเล็กน้อยอยู่แล้ว อย่างไรก็ตามยังต้องใช้เวลาหลายวันถึงหลายสัปดาห์เพื่อทำความเข้าใจถึงความรุนแรงของสายพันธุ์โอมิครอน ไวรัสโควิด 19 ทุกสายพันธุ์ รวมถึงสายพันธุ์เดลตาที่แพร่หลายไปทั่วโลกในขณะนี้ สามารถทำให้เกิดการเจ็บป่วยรุนแรงหรือเสียชีวิตได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับกลุ่มเปราะบาง ดังนั้นการป้องกันจึงเป็นกุญแจสำคัญ
หลักฐานเบื้องต้นบ่งชี้ว่า ความเสี่ยงที่จะติดเชื้อซ้ำโดยสายพันธุ์โอมิครอนมีมากขึ้น (กล่าวคือ ผู้ที่เคยติดเชื้อโควิด 19 อาจติดเชื้อซ้ำจากสายพันธุ์โอมิครอนได้ง่ายขึ้น) เมื่อเทียบกับสายพันธุ์ที่น่ากังวลสายพันธุ์อื่น แต่ขณะนี้ข้อมูลมีค่อนข้างจำกัด ข้อมูลเพิ่มเติมในประเด็นนี้จะนำมาเผยแพร่เพิ่มอีกในไม่ช้าองค์การอนามัยโลกและองค์กรภาคีกำลังทำงานร่วมกันเพื่อทำความเข้าใจถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นของการติดเชื้อสายพันธุ์นี้ต่อมาตรการการรับมือที่มีอยู่ ณ ปัจจุบัน ซึ่งรวมถึงวัคซีน วัคซีนยังคงมีความสำคัญในการลดการเจ็บป่วยรุนแรงและการเสียชีวิตจากสายพันธุ์ที่มีอยู่ตอนนี้ ซึ่งรวมถึงสายพันธุ์เดลตา วัคซีนที่มีอยู่ตอนนี้ยังคงมีประสิทธิภาพในการป้องกันการเจ็บป่วยรุนแรงและการเสียชีวิต
ประสิทธิผลของการตรวจทางห้องปฏิบัติการในปัจจุบัน: การตรวจโควิดแบบวิธีมาตรฐาน RT-PCR ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายยังคงตรวจหาการติดเชื้อได้ ทั้งการติดเชื้อจากสายพันธุ์โอมิครอนและสายพันธุ์อื่น ๆ กำลังมีการศึกษาว่าสายพันธุ์โอมิครอนมีผลอย่างไรต่อการตรวจทางห้องปฏิบัติการประเภทอื่น ๆ เช่น ชุดตรวจโควิด 19 แบบเร่งด่วน (Rapid Antigen Test) ประสิทธิผลของการรักษาในปัจจุบัน: Corticosteroids และ IL6 Receptor Blockers จะยังคงมีประสิทธิภาพสำหรับการรักษาผู้ป่วยโควิด 19 ที่มีอาการรุนแรง เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงในส่วนต่าง ๆ ของไวรัสสายพันธุ์โอมิครอน การรักษาแบบอื่น ๆ จะได้รับการประเมินเพื่อดูว่ายังคงมีประสิทธิภาพเท่าเดิมหรือไม่
ปัจจุบัน องค์การอนามัยโลกกำลังประสานงานกับนักวิจัยจำนวนมากทั่วโลกเพื่อทำความเข้าใจกับการติดเชื้อโควิด19 สายพันธุ์โอมิครอนให้ดีขึ้น มีการศึกษาที่เริ่มไปแล้ว และกำลังจะเริ่มเพื่อประเมินความสามารถในการแพร่เชื้อ ความรุนแรงของโรค (รวมถึงอาการ) ประสิทธิผลของวัคซีน การตรวจวินิจฉัยเพื่อหาการติดเชื้อ และประสิทธิผลของการรักษา องค์การอนามัยโลกสนับสนุนให้ประเทศต่าง ๆ มีส่วนร่วมในการรวบรวมและเผยแพร่ข้อมูลผู้ป่วยในโรงพยาบาลผ่านแพลตฟอร์มข้อมูลทางคลินิกโรคโควิด 19 ขององค์การอนามัยโลกเพื่อจะได้ข้อสรุปข้อมูลทางคลินิกและผลลัพธ์ของการรักษาโดยเร็ว ข้อมูลเพิ่มเติมจะนำมาเผยแพร่ในเร็วๆ นี้ ซึ่งคณะที่ปรึกษาฯ ขององค์การอนามัยโลก จะติดตามและประเมินข้อมูลเหล่านี้ เพื่อประเมินว่าสายพันธุ์โอมิครอน เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของไวรัสอย่างไรไทยโควิด new case ทำ new high แต่อัตราการตายต่อวัน 1/9-1/10 จาก peak สมัย delta ความรุนแรงจนเสียชีวิต ลดลงไปประมาณ 10 เท่า หรือกว่านั้นครับ แต่ covid สายพันธุ์ใหม่ โอไมครอน ติดรุนแรงติดง่าย แต่ประชาชน อำเภอบางละมุงยังไม่มีผู้เสียชีวิตสักคน ผอ.สมเกรียติ ย้ำเตือนเป็นพิเศษว่า ให้คนอ้วนและมีโรคประตัวและผู้สูงอายุ ให้ระวังเป็นอยากมาก ให้มาฉีดวัคซิน เข็มที่ 2-3 มีที่โรงพยาบาล ของรัฐบาลไทยได้ทุกที
ภาพ/ข่าว อนันต์ สุขวัฒนะ / เอกชัย สุขวัฒนะ ผู้สื่อข่าวTOPNEWS ประจำ จ.ชลบุรี