“ศรีสุวรรณ” ลุยฟ้องป.ป.ช.เพิ่ม สอบฉ้อฉลประมูลท่อส่งน้ำ EEC มูลค่า 2.5 หมื่นล้าน ขัดมติครม.ปี 2535

"ศรีสุวรรณ" ลุยฟ้องป.ป.ช.เพิ่ม สอบฉ้อฉลประมูลท่อส่งน้ำ EEC มูลค่า 2.5 หมื่นล้าน ขัดมติครม.ปี 2535

นายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย เปิดเผยว่า ตามที่กระทรวงการคลังเปิดประมูลโครงการบริหารท่อส่งน้ำสายหลักภาคตะวันออก ถึง 2 ครั้ง โดยครั้งแรกพบว่าบ.จัดการและพัฒนาทรัพยากรน้ำภาคตะวันออก จำกัดหรืออีสต์วอเตอร์ เป็นผู้ได้คะแนนสูงสุด แต่คณะกรรมการกลับมีมติยกเลิกการประมูลดังกล่าวและให้ประมูลใหม่ โดยอ้างว่า TOR ที่คณะกรรมการคัดเลือกมีมติรับรองแล้วนั้นไม่ชัดเจน ทั้งๆที่คณะกรรมการคัดเลือกเป็นผู้กำหนดและพิจารณามีมติรับรองมาแล้วก่อนที่จะให้เอกชนเสนอรายละเอียดเข้าร่วมประมูล

ต่อมามีการเปิดประมูลครั้งที่ 2 ผลปรากฏว่า บริษัท วงษ์สยามก่อสร้าง จำกัด เสนอผลประโยชน์ตอบแทนให้ภาครัฐสูงสุด 25,693.22 ล้านบาท ตลอดอายุสัญญา 30 ปี เอาชนะ บมจ.จัดการและพัฒนาทรัพยากรน้ำภาคตะวันออก (EASTW) หรือ ‘อีสท์วอเตอร์’ ซึ่งเสนอผลประโยชน์ตอบแทนให้ภาครัฐ 24,212.88 ล้านบาท ตลอดอายุสัญญา 30 ปี

การใช้อำนาจของคณะกรรมการดังกล่าวมีข้อพิรุธหลายประการ จนมีการนำความไปฟ้องศาลปกครอง และสมาคมฯได้ยื่นร้องเรียนต่อ ป.ป.ช.ไปแล้วเมื่อ 3 ธ.ค.64 ที่ผ่านมา โดยชี้ให้เห็นถึงข้อผิดพลาดหลายประการที่ส่อไปในทางที่ไม่ชอบด้วยพรบ.การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหาร พัสดุภาครัฐ 2560 พรบ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ 2542 และพรบ.วินัยการเงินการคลังของรัฐ 2561 และชี้ให้เห็นถึงความไม่ชอบมาพากลอีกหลายประการ

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ล่าสุด สมาคมฯได้ตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 4 ก.พ.2535 พบว่าคณะรัฐมนตรีเป็นผู้อนุมัติให้มีการก่อตั้งบริษัทอีสต์วอเตอร์ขึ้นมาเอง โดยให้การประปาส่วนภูมิภาคเป็นผู้ลงทุนเองทั้งหมด และให้โอนสิทธิหรือเช่าบริหารทรัพย์สินจากหน่วยงานต่างๆมาให้บริษัทดังกล่าวดูแล เช่น ท่อส่งน้ำดอกกราย-มาบตาพุด ของการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ท่อส่งน้ำหนองค้อ-แหลมฉบัง ของกรมโยธาธิการฯ ท่อส่งน้ำมาบตาพุด-สัตหีบ ของกรมชลประทาน เป็นต้น โดยมีเงื่อนไข 3 ประการ คือ 1)ปริมาณน้ำดิบที่ต้องจัดสรรนั้น ควรให้ความสำคัญกับนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดเป็นอันดับแรก 2)การกำหนดอัตราค่าน้ำ ควรกำหนดในอัตราที่เหมาะสม ไม่ควรมุ่งค้ากำไรเกินควร และ 3)การจัดสรรน้ำควรจ่ายให้แก่อุตสาหกรรมที่อยู่ในเขตการนิคมฯมากกว่าที่อยู่นอกเขตฯ

ดังนั้น การเปิดประมูลโครงการบริหารท่อส่งน้ำสายหลักภาคตะวันออก ซึ่งทรัพย์สินส่วนใหญ่เป็นของทางราชการหรือหน่วยงานของรัฐมาตั้งแต่ต้น โดยนำมาแสวงหากำไรและผลประโยชน์ให้เอกชนเข้าประมูล อาจขัดหรือแย้งต่อมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวได้ อีกทั้งอาจเป็นการเอื้อประโยชน์ให้กับเอกชนนำทรัพย์สินของรัฐไปแสวงหากำไรและผลประโยชน์โดยมิชอบ อันอาจเข้าข่ายการทุจริตต่อหน้าที่ ตามพรป.ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต 2561 อีกด้วย สมาคมฯจึงจะนำเอกสารข้อมูลหลักฐานดังกล่าวไปยื่นเพิ่มให้ ป.ป.ช.ในการสอบสวนอีกในวันพฤหัสที่ 3 มี.ค.65 เวลา 10.00 น. ณ สำนักงาน ป.ป.ช.นนทบุรี นายศรีสุวรรณ กล่าวในที่สุด

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"กทม." เตรียมใช้ 3 มาตรการเข้ม แก้วิกฤตฝุ่นพิษ หลังตรวจพบอยู่ในระดับส่งผลกระทบต่อสุขภาพ
สภาพอากาศวันนี้ "อุตุฯ" เผยอากาศหนาวถึงหนาวจัดทั่วประเทศ กทม.ต่ำสุด 16 องศาฯ
กรมอุตุฯ เตือนฉบับ 10 พรุ่งนี้ "เหนือ-อีสาน" อุณหภูมิลดฮวบอีก 3 องศา กทม.อากาศหนาวจัดเต็ม
"ฮ่องกง" ส่งทีมฉก. เยือนไทย ติดตามพลเมืองถูกล่อลวง-กักขัง หลังโดนหลอกไปทำงานผิดกม.
“จ่าเอ็ม” ไม่ยอมทำแผนยิง “ อดีตสส.กัมพูชา” ตร.เปิดกล้องนำภาพชี้จุดแทน
"ภูมิธรรม" ประกาศตั้ง KPI วัดผลประเมินเลื่อนยศ ปลดย้าย ทหาร-ตร.-ปกครอง แก้ปัญหายาเสพติด-แก๊งคอลฯ-ค้ามนุษย์
เมืองคอนระทึก คลื่นลมแรงกัดเซาะชายหาดบัวแก้ว ชาวบ้านหวั่นรีสอร์ตพังถล่มลงทะเล
"ผู้ว่าฯ สมุทรสาคร" เปิดปฏิบัติลุยกวาดล้าง "ต่างด้าว" แย่งอาชีพคนไทย หลังพบลอบขายของในตลาดนัด
ครูสาวถูกแก๊งคอลเซ็นเตอร์ ใช้เบอร์ธนาคารโทรหา สูญเงินกว่า 1.2 ล้าน
“พล.ต.ท.เรวัช” เตือนนักเคลื่อนไหวในไทย-ศัตรูเยอะ หวั่นเหตุซ้ำรอย “ลิม กิมยา”

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น