ศาลปกครองสูงสุด แจงคดีโฮปเวลล์ รฟท.มีสิทธิ์ชะลอจ่ายค่าโง่ปี 65 สรุปจบแน่

ศาลปกครองสูงสุด แจงคดีโฮปเวลล์ รฟท.มีสิทธิ์ชะลอจ่ายค่าโง่ปี 65 สรุปจบแน่

นายชาญชัย แสวงศักดิ์ ประธานศาลปกครองสูงสุด เป็นประธานในการแถลงข่าวผลการดำเนินงานของศาลปกครอง เนื่องในโอกาสครบรอบ 21 ปี โดย ภารกิจด้านการพิจารณาพิพากษาคดีในภาพรวม นับถึงวันที่ 27 กันยายน 2564 ก่อนที่เข้ามารับตำแหน่งประธานศาลปกครองสูงสุดนั้น มีจำนวนทั้งสิ้น 180,986 คดี พิจารณาได้แล้วเสร็จ จำนวน 154,106 คดี คิดเป็นร้อยละ 85.15 ของคดีรับเข้า เมื่อตนเข้ามารับตำแหน่งประธานศาลปกครองสูงสุด ซึ่งเป็นระยะเวลาประมาณ 5 เดือน มีจำนวนคดีรับเข้า 4,847 คดี พิจารณาคดีแล้วเสร็จ จำนวน 4,135 คดี คิดเป็นร้อยละ 85.31 ของคดีรับเข้า ซึ่งในจำนวนคดีที่พิจารณาแล้วเสร็จนี้ พบว่า ศาลปกครองสูงสุดพิจารณาคดีได้แล้วเสร็จ เป็นจำนวน 1,730 คดี ส่งผลให้ศาลปกครองสูงสุดมีคดีค้างสะสมลดลง จำนวน 236 คดี และคาดว่าในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ศาลปกครองสูงสุดจะพิจารณาคดีได้แล้วเสร็จมากกว่าปีงบประมาณก่อนหน้า และเป็นปีที่ศาลปกครองสูงสุดพิจารณาคดีได้แล้วเสร็จมากที่สุดนับตั้งแต่เปิดทำการศาลปกครองมาอีกด้วย​

นายชาญชัย กล่าวอีกว่า นับตั้งแต่มีการเปิดใช้งานระบบงานคดีปกครองอิเล็กทรอนิกส์ เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2562 และได้มีการพัฒนาระบบดังกล่าวอย่างต่อเนื่องโดยไม่จำเป็นต้องเดินทางมาที่ศาลปกครอง ซึ่งปัจจุบันมีจำนวนคดีที่ยื่นฟ้องทางอิเล็กทรอนิกส์ตั้งแต่เปิดใช้ระบบ รวม​ 2 ชั้นศาล จำนวน 970 คดี และได้พิจารณาแล้วเสร็จ จำนวน 385 คดี

นอกจากนี้ศาลปกครองยังได้เปิดให้มีการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในคดีปกครอง ซึ่งเป็นวิธีการที่สามารถทำให้ข้อพิพาทยุติลงด้วยดีภายในระยะเวลาที่รวดเร็ว และนับตั้งแต่เดือนกันยายน 2562 ที่นำกระบวนการไกล่เกลี่ยมาใช้ มีคดีที่เข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ยของศาลปกครองชั้นต้น จำนวน 373 คดี ไกล่เกลี่ยแล้วเสร็จ จำนวน 315 คดี คิดเป็นร้อยละ 84.45 และมีคดีอยู่ระหว่างกระบวนการไกล่เกลี่ย จำนวน 58 คดี หรือร้อยละ 15.55

 

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

นายชาญชัย​ ยัง​กล่าวถึง​ความคืบหน้าในการพิจารณาคดีขอเพิกถอนใบอนุญาต​โครงการก่อสร้างคอนโด​แอสตัน​ อโศก​ที่ศาลปกครองกลางมีคำพิพาก​ษาสั่งเพิกถอนไปแล้ว​ ว่า​ ขณะนี้คู่กรณี​2 ฝ่ายมีการยื่นอุทธรณ์​ต่อศาลปกครองสูงสุด​ และศาลได้ให้คู่กรณีทั้ง​ 2 ฝ่าย​ ยื่นคำให้การ​ และข้อโต้งแย้ง​ อยู่ระหว่างสรุปสำนวนคดี​ ซึ่งตนพยายาม​เร่งรัด​ แต่ไม่อยากให้มีการไปกดดันจนทำให้เสียความยุติธรรม​ คาดว่าคดีจะเสร็จ​ในปีนี้แน่นอน​ ส่วนที่ประชาชนซึ่งเป็นลูกบ้าน​จะขอมาเป็นผู้ร้องสอดในคดี​ ขณะนี้คงไม่สามารถทำได้​ เพราะคดีอยู่ในชั้นอุทธรณ์​แล้ว​ เพราะถ้าจะเข้ามาก็ต้องเข้ามาตั้งแต่ในชั้นศาลชั้นต้นแล้ว​

 

 

ด้านนายวิษณุ​ วรัญญู​ รองประธาน​ศาลปกครองสูงสุด​ ชี้แจงขั้นตอนการพิจารณาคดีโฮปเวลล์ใหม่​ ว่า​ หลังศาลปกครองสูงสุดโดยที่ประชุมใหญ่​มีมติ​ให้รับรื้อคดีใหม่​ คดีก็ต้องไปเริ่มที่ศาลปกครองชั้นต้น​ โดยจะต้องมีการแสวงหาข้อเท็จจริง​ซึ่งคดีนี้ไม่ใช่ข้อพิพาท​ ระหว่างกระทรวงคมนาคม​ และบริษัท​ โฮปเวลล​์​ โดยตรง​ แต่เป็นกรณีพิพาท​ว่าคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ​ที่ให้กระทรวง​คมนาคม​ จ่ายค่าเสียหายถูกต้องหรือไม่​ จึงไม่ใช่เรื่องที่ศาลต้องลงไปดูรายละเอียด​ในข้อพิพาท​ ระหว่างคมนาคม​ และบริษัท​ โฮปเวลล์​ ประกอบกับมีแนวคำวินิจฉัย​ของศาลรัฐธรรมนูญ​ เรื่องการนับระยะเวลาการฟ้องคดี​ ก็ทำให้การพิจารณา​คดีมีความชัดเจนขึ้น​ ดังนั้นการพิจารณาคดีคาดว่าไม่นาน​ ส่วนการที่กระ​ทร​วงคมนาคมจะขอยื่นให้ศาลออกคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวเพื่อระงับการจ่ายเงินตามคำพิพากษา​ โดยเรื่องนี้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจ​ขององคณะเจ้าของสำนวน​ แต่โดยระเบียบการบังคับคดีของศาลปกครองข้อที่​ 131 เมื่อมีการรับคำขอพิจารณาคดีใหม่​ ก็สามารถงดการบังคับคดีตามคำพิพากษา​เดิมได้

 

 

 

นายวิษณุ​ กล่าวอีกว่า​ เรื่องการรับพิจารณา​คดีใหม่ไม่ใช่เรื่องปกติ​ ต้องทำอย่างพิเศษ​มากๆ​ ไม่ใช่สิ่งที่ทำกันได้ง่ายๆ​ อย่างที่มีการเรียกร้องกัน​ หรือที่มีการพูดกันว่ายื่นมาไม่รู้กี่ครั้ง​ ศาลก็ไม่รับเสียที่​ กฎหมาย​จึงมีการกำหนดหลักเกณฑ์​ที่จะพิจารณา​คดีใหม่อย่างเคร่งครัด​ โดยพ.ร.บ.จ​ัดตั้ง​ศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง​ 2542​ มาตรา​75 ได้กำหนดหลักเกณฑ์​ไว้​ 4 ข้อ​ คือ​1. มีข้อเท็จจริง​ใหม่​ 2.คู่กรณีแท้จริงไม่ได้เข้ามาในคดี​ หรือเข้ามาแล้วไม่ได้รับความยุติธรรม​ 3. มีข้อบกพร่องสำคัญในชั้นพิจารณา​ 4. มีข้อเท็จจริง​ หรือข้อกฎหมาย​เปลี่ยนไปในสาระสำคัญ​ อาจทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลง​ไป​ ซึ่งโฮปเวลล์​ อยู่ในข้อ​ 4 นี้​ ข้อเท็จจริง​ไม่ได้เปลี่ยน​ แต่เป็นข้อกฎหมายที่เปลี่ยนจากวินิจฉัย​ของศาลรัฐธรรมนูญ​ เรื่องการนับระยะเวลาการฟ้องคดีพร้อมยอมรับว่าโดยการพิจารณาคดีใหม่​ ในกรณีทั่วๆไปมักจะไม่ทำกัน​ เมื่อมีคำพิพากษาออกไปจะผิดจะถูกก็ต้องปฏิบัติตาม​ วิธีการที่ในต่างประเทศที่เขาจะทำ​กัน​ ในกรณีที่รับไม่ได้กับผลของคำพิพาก​ษาจริงๆ​ จะต้องไปออกกฎหมาย​แก้ไขหรือลบล้างคำพิพากษา​ ถ้าเป็นคดีอาญาต้องไปออกกฎหมาย​นิรโทษกรรม​ ซึ่งในไทยมักจะกล่าวหา​ว่าอย่างนี้เป็นการแทรก​แซง​อำนาจตุลาการซึ่งไม่ใช่นะครับ เป็นระบบปกติเพราะว่า​ศาลจะต้องปฏิบัติ​ตามกฎหมาย​ ในระบบทั่วไปถ้าสมมติว่าคำพิพากษา​มีข้อผิดพลาดจะต้องไปแก้ในกระบวนการนิติบัญญัติ​ ต้องออกกฎหมาย​มานิรโทษกรรม​ก็ดี​ มาแก้ไขผลคำพิพากษา​ก็ดี​ ไม่ใช่เป็นการไม่เคารพคำพิพากษา​ของศาล​ แต่เป็นการใช้อีกกระบวนการหนึ่งเพื่อบรรเทาผลของคำพิพากษา​ ในกระบวนการปกครองของเรามีอีกวิธีการ​หนึ่ง​คือเรื่องของการพิจารณาคดีใหม่​ ซึ่งไม่ใช่เรื่องที่จะทำง่ายๆตามที่เรียกร้อง​กัน​ ตามกฎหมายจึงกำหนดหลักเกณฑ์​และเงื่อนไขในการที่จะพิจารณา​คดีใหม่​ไว้อย่างเคร่งครัดมาก​

 

 

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ซีพีเอฟ ซีพี-เมจิ ร่วมหนุนสระบุรีแซนด์บ๊อกซ์ "รวมพลังสร้างเมืองคาร์บอนต่ำแห่งแรกของประเทศไทย”
สละเรือแล้ว! "ผบ.อิสราเอล" ยื่น "ลาออก" เซ่นเหตุ 7 ต.ค. ไล่แทงกันในเทลอาวีฟเจ็บ 5
สุดปัง “นายกฯ” สวมกระโปรงผ้าปาเต๊ะ ร่วมประชุม WEF
ทบ.ยืนยันอีกรอบ! ปมร้อน “แสตมป์” ไม่เกี่ยวกองทัพ พบไม่เคยร้อง 112
ผบ.ทร.เข้าเยี่ยม พร้อมมอบของบำรุงขวัญ สร้างกำลังใจทหารผ่านศึก ขอบคุณเสียสละเพื่อชาติจนทุพพลภาพ
“อัจฉริยะ” ยอมเสี่ยงชีวิต มาขึ้นไต่สวนคดีละเมิดอำนาจศาล พร้อมเปิดแผลผ่าตัดโชว์นักข่าว
"อิสราเอล" บิดหยุดยิง ถล่มเวสต์แบงก์ดับเกลื่อน "ฮามาส" รวมพลด่วน
ตม.4 บุกทลายเว็บพนันฯเกาหลีใต้ ใช้ไทยเป็นฐานบัญชาการควบคุมทั่วโลก เงินหมุนเวียน 100 ล้านบาท
เปิดคำพิพากษา “เต้ มงคลกิตติ์” ทำสัญญาประนีประนอม ยอมขอโทษ หมิ่นกล่าวหา “ศักดิ์สยาม”
KIA-PDF ตีวงล้อมพม่า! ทอ.โผล่ช่วย แต่ยิงพลาดเป้า-สอยร่วงพวกเดียวกัน

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น