เปิดพ.ร.บ.ที่ราชพัสดุ ใครกล้ารื้อมติชะลอประมูลท่อน้ำEEC

เปิดพ.ร.บ.ที่ราชพัสดุ ใครกล้ารื้อมติชะลอประมูลท่อน้ำEEC

TOPNEWS ยังคงเกาะติดอย่างต่อเนื่อง สำหรับการคัดเลือกเอกชนในการจัดให้เช่า/บริหาร ระบบท่อส่งน้ำสายหลักในภาคตะวันออก ในพื้นที่ ฉะเชิงเทรา, ชลบุรี , ระยอง , ซึ่งตามสัญญาสัมปทานเดิม บริษัท จัดการและพัฒนาทรัพยากรน้ำภาคตะวันออก จำกัด หรือ อีสท์ วอเตอร์ คือ ผู้รับผิดชอบโครงการ ในกรอบระยะเวลาโครงการ 30 ปี นับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2537 เพื่อรองรับการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC

และในขั้นตอนการประมูลครั้งที่ 1 ยังปรากฎว่า อีสท์ วอเตอร์ คือ ผู้ชนะการประมูล ด้วยคะแนน 173.83 คะแนน ขณะที่บริษัท วงษ์สยามก่อสร้าง จำกัด ได้ 170.10 คะแนน แต่ต่อมากรมธนารักษ์ โดย นายยุทธนา หยิมการุณ อธิบดีกรมธนารักษ์ ในขณะนั้น อ้างมีคณะกรรมการมีความเห็นต่างในเรื่องของบริษัทที่ควรได้รับการคัดเลือก

โดยคณะกรรมการส่วนหนึ่งมองว่า บริษัทเดิมที่ได้รับสัมปทานนั้นควรจะได้รับการต่อสัมปทานออกไป เพื่อไม่ให้กระทบต่อการบริหารจัดการระบบท่อส่งน้ำสายหลักในภาคตะวันออก ซึ่งถือว่ามีความสำคัญต่อภาคการผลิตของประเทศเป็นอย่างมาก หากมีการเปลี่ยนมือเจ้าของสัมปทาน อาจจะกระทบต่อภาคอุตสาหกรรมของประเทศได้

ขณะที่คณะกรรมการอีกส่วนหนึ่งมองว่า ควรให้บริษัทใหม่ได้รับสัมปทานในครั้งนี้ เนื่องจากให้ผลตอบแทนที่น่าสนใจมากกว่า ท้ายที่สุดคณะกรรมการคัดเลือกจึงมีหนังสือแจ้งแก่บริษัทที่เข้าร่วมการคัดเลือกครั้งนี้โดยระบุว่า เนื่องจากมีความไม่ชัดเจนในการยื่นข้อเสนอบางประการ ประกอบกับคณะกรรมการคัดเลือกเห็นว่า หากให้มีการยื่นข้อเสนอใหม่โดยปรับปรุงประกาศเชิญชวน และเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชนให้ชัดเจน จะเป็นประโยชน์ต่อทางราชการ และเป็นธรรมกับผู้ยื่นข้อเสนอทุกราย จึงนำไปสู่เอกสารการประชุมฉบับแก้ไขวันที่ 19 สิงหาคม 2564 เปลี่ยนข้อสรุปการประมูล อันเป็นผลให้บริษัท วงษ์สยามก่อสร้าง จำกัด กลายเป็นผู้ชนะการประมูล

และล่าสุด พบว่าที่ผ่านมา คณะกรรมการคัดเลือกฯ และกรมธนารักษ์ ยังไม่ได้ยื่นคำให้การต่อศาล โดยได้ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาถึง 5 ครั้ง ดังนี้
ครั้งที่ 1 ครบกำหนด 3 พ.ย. 2564
ขอขยายไปถึง 3 ธ.ค. 2564
ครั้งที่ 2 ขอขยายไปถึง 2 ม.ค. 2565
ครั้งที่ 3 ขอขยายไปถึง 2 ก.พ. 2565
ครั้งที่ 4 ขอขยายไปถึง 3 มี.ค. 2565
ครั้งที่ 5 ขอขยายไปถึง 2 เมษายน 2565
และนี่้เป็นเหตุผลสำคัญทำให้คำร้อง ในชั้นการพิจารณาของศาลปกครองยังไม่มีข้อยุติ

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ประเด็นสำคัญ คือ นอกจากที่บริษัทวงษ์สยาม จะทำหนังสือร้องขอความเป็นธรรม ต่อนายสันติ พร้อมพัฒน์ รมช.คลัง ปรากฎว่ เมื่อวันที่ 22 ก.พ. 2565 ที่ผ่านมา กรรมการที่ราชพัสดุอย่างน้อย 2 ราย ได้ทำหนังสือถึงนายสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ในฐานะประธานคณะกรรมการที่ราชพัสดุ และอธิบดีกรมธนารักษ์ ในฐานะเป็น เลขานุการ และกรรมการ

อ้างเหตุขอให้มีการจัดให้จัดประชุมบอร์ดที่ราชพัสดุอีกครั้ง เพื่อให้มีการชี้แจงข้อเท็จจริงเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลการคัดเลือกเอกชนในโครงการบริหารท่อส่งน้ำสายหลักภาคตะวันออก หลังจากมีการประชุมบอร์ดที่ราชพัสดุ ครั้งที่ 1/2565 เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2565 และทำให้คิดได้ว่า อาจทำให้บริษัทเอกชนเสียประโยชน์

โดยหนังสือ 2 ฉบับ ประกอบด้วย
– หนังสือที่ลงนามโดย พล.ต.ปพน ไชยเศรษฐ ผู้อำนวยการสำนักการโยธาธิการ สำนักงานสนับสนุน สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ผู้แทนของปลัดกระทรวงกลาโหม
– หนังสือที่ลงนามโดยนายพิชิต สมบัติมาก ผู้ช่วยปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ปฏิบัติราชการแทนปลัด กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

โดยในส่วนของสำนักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ทำจดหมายถึงอธิบดีกรมธนารักษ์ ลงวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2565 โดยอ้างถึงการประชุมคณะกรรมการที่ราชพัสดุ ครั้งที่ 1/2565 วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2565 โดยขอให้ฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการที่ราชพัสดุ พิจารณาข้อเท็จจริงเพิ่มเติมอีก กรณีโครงการบริหารและดำเนินกิจการระบบท่อส่งน้ำหลักในภาคตะวันออก เพราะการประชุมในวันนั้นยังไม่ชัดเจน ในรายละเอียดเกี่ยวกับผลกระทบที่รัฐจะได้รับ จากการชะลอการดำเนินการ เพื่อรอฟังคำพิพากษาศาลปกครองกลาง ดังนั้น เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายแก่ทางราชการ จึงเห็นควรให้ฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการที่ราชพัสดุได้พิจารณาข้อเท็จจริงดังกล่าว หากปรากฎว่ามีรายละเอียดที่จะเป็นประโยชน์ต่อการพิจารณาเพื่อประโยชน์แห่งรัฐ ก็ขอให้ดำเนินการให้คณะกรรมการที่ราชพัสดุได้ร่วมกันพิจารณาต่อไป

ประเด็นที่ข้อพิจารณา สำหรับ Top News ก็คือ ในวันที่ 11 ก.2565 มีการประชุมบอร์ดที่ราชพัสดุ แล้ว เพราะมีการลงมติเสียงข้างมาก 6 ต่อ 4 ให้ชะลอรับรองผลการประมูลตามที่ กรมธนารักษ์ สรุปผลมาให้ ด้วยเงื่อยไขสำคัญคือ ต้องการรอผลวินิจฉัยของศาลปกครอง ไม่ให้เกิดปัญหาในทางกฎหมาย

ย้ำอีกครั้งว่าวันที่ 11 ก.พ. 2565 มีประชุมบอร์ดและมีมติ ให้ชะลอการพิจารณาผลประมูลโครงการ แต่กลายเป็นว่าหลังจากนั้นไม่ถึง 2 สัปดาห์ คือในวันที่ 22 ก.พ. 2565 กลับมีตัวแทนคณะกรรม 2 หน่วยงาน ย้ำว่าเป็นเพียงตัวแทน บุคคลผู้ดำรงตำแหน่ง ตามมาตรา 9 ของพ.ร.บ.ที่ราชพัสดุ พ.ศ. 2562 ออกมาเคลื่อนไหวให้มีการประชุมใหม่อีกครั้ง ***คำถามคือทำได้หรือไม่ตามกฎหมาย ในการรื้อ เปลี่ยนแปลง มติเดิม ที่เสียงข้างมากให้ความเห็นชอบไปก่อนหน้า

อย่างไรก็ตามเกี่ยวกับเรื่องนี้ นายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้สัมภาษณ์ทีมข่าว TOPNEWS ว่า กรณีการส่งหนังสือถึงอธิบดีกรมธนารักษ์ ไม่ใช่เป็นการขอเรียกประชุม แต่เป็นการขอข้อมูลเพิ่มเติม

เพราะการเรียกประชุมไม่ใช่สิทธิของกระทรวงทรัพย์ฯ แต่ขึ้นกับประธานบอร์ดที่ราชพัสดุจะพิจารณา ซึ่งเราไม่ได้ต้องการให้ปรับมติใหม่ แต่ถ้ากรณีนี้มีข้อมูลเพิ่มเติมมากกว่าเดิม ก็จะเป็นเรื่องดี เนื่องจากเท่าที่รับรู้มา การประชุมเมื่อรอบที่แล้วยังขาดเนื้อหาอีกหลายประเด็น และเท่าที่รู้มามีกระทรวงอื่นด้วยที่ทำจดหมายเข้าไป ส่วนตัวยืนยันว่า จะเรียกประชุมหรือไม่ ไม่ใช่หน้าที่ของกระทรวงทรัพย์ฯ
“ผมไม่ได้เข้าประชุมในวันนั้น แต่ผู้ที่ไป ได้มาปรึกษาว่า เนื้อหาการประชุมในวันนั้นยังขาดข้อมูลอีกหลายด้าน จึงให้คำแนะนำไปว่า ให้ทำจดหมายยื่นเข้าไป ส่วนการตัดสินใจจะประชุมหรือไม่เป็นเรื่องของประธานบอร์ดตัดสินใจ ผมคิดว่า เรื่องแบบนี้ต้องพิจารณาให้ครบถ้วน ซึ่งการประชุมเมื่อรอบที่แล้ว เราก็อยู่ในฝ่ายที่ให้รอฟังคำตัดสินจากศาลฯด้วย”

ทั้งนี้ ปลัดกระทรวงทรัพย์ ยังระบุด้วยว่า ได้ให้นโยบายผู้แทนเข้าร่วมประชุมด้วยว่า 1. ให้ยึดตามข้อมูล ข้อเท็จจริง ระเบียบกฎหมายที่ถูกต้องเป็นหลัก 2. ต้องอยู่บนพื้นฐานประโยชน์ของ ประเทศ ประชาชน เป็นสำคัญ ถ้าไม่ยึดประเด็นเหล่านี้เป็นหลัก กระทรวงทรัพย์ไม่ยอมแน่นอน

ตรงนี้จึงมีข้อคำถามว่าทำไมถึงรอมาถึงวันที่ 22 ก.พ. 2565 ปลัดกระทรวงทรัพย์ ในฐานะบอร์ดที่ราชพัสดุ ที่ได้รับการโปรดเกล้าฯให้มีภารกิจสำคัญ จึงมีการออกมาเคลื่อนไหวขอให้พิจารณาข้อมูล หรือ พิจารณาวันประชุมอีกครั้ง ทั้ง ๆ ที่เรื่องนี้ใครก็รู้ว่าสำคัญ เนื่องจากเกี่ยวข้องกับเม็ดเงิน และผลประโยชน์ชาติถึง 2.5 หมื่นล้าน รวมถึงผู้เกี่ยวข้องจะใช้อำนาจกฎหมายข้อไหน ในการเปลี่ยนแปลงมติเรื่องการชะลอพิจารณาการประมูล เพื่อรอคำวินิจฉัยศาลปกครอง

 

 

พ.ร.บ.ที่ราชพัสดุ พ.ศ.2562 กำหนดให้คณะกรรมการที่ราชพัสดุ ประกอบด้วย

ในมาตรา 9 กำหนดว่า “คณะกรรมการที่ราชพัสดุ” ประกอบด้วย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธานกรรมการ ปลัดกระทรวงการคลัง เป็นรองประธานกรรมการ ปลัดกระทรวงกลาโหม ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ปลัดกระทรวงมหาดไทย อธิบดีกรมที่ดิน และอธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง เป็นกรรมการโดยตำแหน่ง และผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ด้านเศรษฐศาสตร์ ด้านที่ดิน หรือด้านการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ จำนวนสามคน เป็นกรรมการ และอธิบดีกรมธนารักษ์ เป็นกรรมการและเลขานุการ

 

ให้อธิบดีกรมธนารักษ์ แต่งตั้งข้าราชการของกรมธนารักษ์ จำนวนไม่เกินสองคน เป็นผู้ช่วยเลขานุการ

คณะกรรมการที่ราชพัสดุ 12 ราย ได้แก่
1. รมว.คลัง หรือ รมช.ที่ได้รับมอบหมาย เป็นประธาน
2. ปลัดกระทรวงการคลัง รองประธาน : นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ ปลัดกระทรวงการคลัง
3. ปลัดกระทรวงกลาโหม : พล.อ.วรเกียรติ รัตนานนท์ ปลัดกระทรวงกลาโหม
4. ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ : ดร.ทองเปลว กองจันทร์ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
5. ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม : นายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติฯ
6. ปลัดกระทรวงมหาดไทย : นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย
7. อธิบดีกรมที่ดิน : นายนิสิต จันทร์สมวงศ์ อธิบดีกรมที่ดิน
8. อธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง : นายพรพจน์ เพ็ญพาส อธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง
9. กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
10. กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
11. กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
12. อธิบดีกรมธนารักษ์ เป็นกรรมการและเลขานุการ : นายประภาศ คงเอียด อธิบดีกรมธนารักษ์

 

 

 

ท้ายสุด ต้องย้ำว่า พ.ร.บ.ที่ราชพัสดุ พ.ศ.2562 ได้กำหนดบุคคล ผู้ทำหน้าที่ เป็นกรรมการ ถึง 12 ราย และทุกคนวนมีตำแหน่งสำคัญ ในการปฏิบัติภารกิจสำคัญที่มีการกำหนดไว้ ตั้งแต่มาตรา 1 ของพ.ร.บ.ที่ราชพัสดุ พ.ศ. 2562

แต่ข้อเท็จจริงทีมข่าว TOPNEWS ตรวจสอบพบว่า กลายเป็นว่าหน่วยงานต่าง ๆ เลือกส่งตัวแทนมาเป็นองค์ประชุมหารือในโครงการสำคัญนี้ อาทิ ปลัดกระทรวงกลาโหม และปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รวมถึงอธิบดีกรมที่ดิน ในการเลือกส่งผู้เชี่ยวชาญด้านที่ดินของรัฐ มาเป็นตัวแทนการประชุมเช่นกัน ทั้ง ๆ ที่โดยพันธกิจ ทุกคนว่า ทำไมถึงมีการแต่งตั้งบอร์ดที่ราชพัสดุ จากตำแหน่งสำคัญของกระทรวง กรม ต่าง ๆ

 

พ.ร.บ.ที่ราชพัสดุ พ.ศ.2562 กำหนดอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการที่ราชพัสดุ

โดยมาตรา 14 ระบุว่า การประชุมคณะกรรมการ ต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด จึงจะเป็นองค์ประชุม

ในการประชุมคณะกรรมการ ถ้าประธานกรรมการไม่มาประชุม หรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้รองประธานกรรมการเป็นประธานในที่ประชุม ในกรณีที่ประธานกรรมการและรองประธานกรรมการ ไม่มาประชุม หรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้กรรรมการที่มาประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม

การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก กรรมการคนหนึ่งให้มีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน ถ้าคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด

ในการประชุม ถ้ามีการพิจารณาเรื่องที่กรรมการผู้ใดมีส่วนได้เสียไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อม ให้คณะกรรมการผู้นั้นแจ้งคณะกรรมการทราบ และไม่มีสิทธิเข้าร่วมประชุมในเรื่องนั้น

อธิบดีกรมธนารักษ์ ด้วยให้จัดประชุมใหม่

ประเด็นสุดท้าย ที่ต้องพิจารณาติดตาม ก็คือ ท่าทีของ นายประภาศ คงเอียด อธิบดีกรมธนารักษ์ ในฐานะเลขานุการ ของคณะกรรมการที่ราชพัสดุ ให้สัมภาษณ์ทีมข่าว TOPNEWS เช่นกันว่า จนถึงขณะนี้ยังไม่กำหนดการประชุมบอร์ดที่ราชพัสดุ แต่เห็นด้วยให้จัดการประชุมใหม่ขึ้นอีกครั้ง เพราะรอบที่แล้วไม่มีการประชุมกันในเนื้อหา มีพิจารณาแค่ว่า ให้รอคำตัดสินจากศาลปกครอง

ส่วนการจัดประชุมใหม่เพื่อพิจารณาว่า ระหว่างรอศาลฯจะทำให้เกิดความเสียหายกับประเทศชาติหรือไม่ แต่ขณะนี้ยังไม่มีความคืบหน้าแต่อย่างใด เพราะรอรมช.สันติ ซึ่งถือเป็นประธานบอร์ดจะตัดสินใจต่อไป

• เนื่องจากการประชุมเมื่อรอบที่แล้ว พิจารณาแค่ว่า ให้ชะลอการตัดสินออกไป การจัดประชุมใหม่จะได้ร่วมกันพิจารณาถึงผลดี ผลเสียของการชะลอออกไป ถ้าเห็นด้วยว่า ไม่ควรชะลอออกไป ก็จะได้มาดูกันในเนื้อหา นี่คือประเด็นหลักที่จะมีการประชุมกันในรอบต่อไป

• “ส่วนตัวผมคิดว่า ในเนื้อหาของการดำเนินการประมูลก็ชัดเจนแล้ว แต่เมื่อรอบที่แล้วไม่ได้หยิบเรื่องนี้ขึ้นมาพิจารณา คุยกันแค่ให้รอฟังคำตัดสินศาลฯ

• อย่างไรก็ตาม หากเกิดจัดการประชุมครั้งต่อไปและคณะกรรมการได้ร่วมกันพิจารณาถึงผลดี ผลเสียของการชะลอออกไปเสร็จแล้ว และหากเกิดการตัดสินใจว่า เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยเลย นายประภาศ กล่าวต่อว่า ขึ้นกับที่ประชุมจะตัดสินใจ

ส่วนหากกรณีศาลปกครองมีคำตัดสินออกมา และฝ่ายเอกชนเรียกค่าเสียหาย นายประภาศ ระบุว่า ไม่กังวลที่จะถูกฟ้องเรียกค่าเสียหาย เพราะต้องระบุให้ได้ว่า ความเสียหายเกิดจากอะไรบ้าง แต่เรามองถึงผลดีมากกว่าว่า หากเกิดการตัดสินใจขึ้นเลยจะเกิดผลดีต่อประเทศและประชาชนมากกว่าหรือไม่

อย่างไรก็ตาม หากการประชุมในครั้งต่อไป คณะกรรมการเกิดการตัดสินใจในที่ประชุมว่า เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยต่อการประมูลในรอบ 2 ที่ผ่านมา และต่อมาหากศาลฯมีคำตัดสินออกมาในทิศทางที่ตรงข้ามกับที่คณะกรรมการพิจารณาไปแล้ว นายประภาส กล่าวในประเด็นนี้ว่า คณะกรรมการมีสิทธิที่จะพิจารณาว่าเห็นด้วยหรือไม่ โดยไม่มีความผิด ส่วนเมื่อศาลฯมีคำตัดสินออกมา ก็เป็นเรื่องที่อีกฝ่ายมีสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหาย แต่ต้องระบุให้ได้ว่า เป็นความเสียหายที่เกิดขึ้นจากอะไรบ้าง ซึ่งก็กลับสู่คำถามว่าบอร์ดที่ราชพัสดุ จะใช้อำนาจข้อไหน ในการเปลี่ยนแปลงผลมติการประชุม ซึ่งให้ชะลอการพิจารณาผลการประมูล ที่กรมธนารักษ์เสนอมาจากการประมูลรอบที่ 2 และมีการฟ้องร้องจากบริษัทเอกชน ซึ่งเห็นว่าไม่เป็นธรรม จากการประมูลครั้งที่ 1

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"อุตุฯ" เผย "เหนือ-อีสาน-กลาง" อากาศเย็นตอนเช้า เตือนใต้ยังรับมือฝนตก
แม่ทัพภาคที่ 2 ลงพื้นที่เยี่ยมเยียนครอบครัวกำลังพล ห่วงใยไปถึงบ้าน เพราะเราคือครอบครัวกองทัพบก
สวนนงนุชพัทยาเปิดเวที CHONBURI PROUD EXPO 2024 หนุน SMEs ชลบุรีสู่ตลาดโลก
“เอกภพ” ได้ประกันตัว ปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา ปมให้ข้อมูลเท็จดิไอคอน จ่อฟ้องกลับ
สามเชฟดังร่วมรังสรรค์เมนูเพื่อการกุศลทางการแพทย์
"ทนายบอสพอล" เผยเป็นไปตามคาด "เอก สายไหม" ถูกจับ จ่อดำเนินคดีหมิ่นประมาท เรียกค่าเสียหาย 100 ล้าน
ศาลออกหมายจับ 'เจ๊หนิง' พร้อมสามีและหลาน ร่วมกันแจ้งความเท็จ 'ภรรยาบิ๊กโจ๊ก'
อิสราเอลถล่มเลบานอนดับครึ่งร้อย
หมายจับ ICC กระทบอิสราเอลอย่างไร
เปิดวิสัยทัศน์ประธานเครือข่ายธุรกิจ Bizclub นครราชสีมาคนใหม่ “กิม ฐิติพรรณ จันทร์ประทักษ์”

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น