“ฉีดวัคซีน” เข็ม 3 กระตุ้นยังไงเชื้อไม่ลงปอดใครเสี่ยงต้องรู้

"ฉีดวัคซีน" เข็ม 3 เข็มกระตุ้น ป้องกันเชื้อ โควิด-19 ลงปอด หมอมนูญ ยกตัวอย่างกลุ่มเสี่ยงสูงกว่าแต่เอกซเรย์ปกติ ย้ำ ต้องแบบนี้ เปรียบเทียบชัด ๆ สูตรไหนได้ผล

“ฉีดวัคซีน” เข็มกระตุ้น ป้องกันโควิดลงปอด TOP News เกาะติดสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน (โอไมครอน) ที่น่ากังวลมากที่สุดในเวลานี้ ล่าสุด นายแพทย์ มนูญ ลีเชวงวงศ์ หัวหน้าห้องไอซียูเฉพาะทางด้านโรคระบบการหายใจ ผู้ป่วยหนัก และโรคผู้สูงอายุประจำโรงพยาบาลวิชัยยุทธ โพสต์เฟซบุ๊ก หมอมนูญ ลีเชวงวงศ์ FC ข้อความว่า คนกลุ่มเสี่ยงต้องเร่งฉีด วัคซีนเข็มกระตุ้น แม้จะฉีดวัคซีนครบโดสแล้ว

ข่าวที่น่าสนใจ

หมอมนูญ โพสต์ระบุ ปัจจุบันเป็นที่ทราบดีว่า วัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า 2 เข็ม ไม่เพียงพอในคนกลุ่มเสี่ยง ได้แก่ คนสูงอายุ คนที่มีโรคประจำตัวเรื้อรัง และหญิงตั้งครรภ์ สำหรับลดการป่วยหนักและเสียชีวิตจากเชื้อสายพันธุ์โอมิครอน (โอไมครอน) คนที่ได้รับวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าแล้ว 2 เข็ม เข็มที่ 3 ควรจะเป็นวัคซีนชนิด mRNA ไฟเซอร์ หรือ โมเดอร์นา ไม่ใช่วัคซีนเชื้อตาย ซิโนแวค หรือ ซิโนฟาร์ม และคนที่ได้วัคซีนเชื้อตาย 2 เข็ม ตามด้วย แอสตร้าเซนเนก้า 1 เข็ม ควรกระตุ้นด้วยวัคซีนชนิด mRNA ไฟเซอร์ หรือโมเดอร์นา อีก 1 เข็ม

ผู้ป่วยหญิง อายุ 71 ปี ปกติแข็งแรงดี ไม่มีโรคประจำตัวเรื้อรัง มีไขมันในเลือดสูงเล็กน้อย ไม่มียาประจำ

  • ฉีด วัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า 2 เข็ม เดือนพฤษภาคมและกรกฎาคม 2564
  • ฉีด วัคซีนซิโนฟาร์มเป็นเข็มที่ 3 เดือนธันวาคม 2564
  • เริ่มมีอาการเจ็บคอ น้ำมูก ไอเล็กน้อย ไข้ต่ำ 3 มีนาคม 2565 ตรวจ ATK ให้ผลบวก ยืนยันโดย RT-PCR เข้านอนใน รพ. วันที่ 5 – 9 มีนาคม

“ระหว่างอยู่ รพ. 5 วัน ไม่เหนื่อย ไม่มีไข้ วัดระดับออกซิเจนปกติ เอกซเรย์ปอดปกติ อนุญาตให้กลับบ้าน หลังกลับบ้าน 2 วัน เริ่มมีเหนื่อย หายใจลำบาก แน่นหน้าอก ไม่มีไข้ วัดระดับออกซิเจนเหลือ 92% เรียกรถฉุกเฉินมาส่งโรงพยาบาลวันที่ 12 มีนาคม เอกซเรย์ปอดมีฝ้าขาวทั้ง 2 ข้างเข้าได้กับปอดอักเสบจากการติดเชื้อไวรัส โควิด-19 (ดูรูป) ได้ให้ยาสเตียรอยด์ และยาเรมเดซิเวียร์ชนิดฉีด คนไข้ดีขึ้นเร็วใน 5 วัน”

ฉีดวัคซีน

ผู้ป่วยชาย อายุ 89 ปี เป็นโรคเบาหวานต้องฉีดอินซูลิน ไตเสื่อม เคยป่วยเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลืองรักษาหายแล้วด้วยเคมีบำบัด

  • ได้รับวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า 2 เข็ม เดือนมิถุนายนและสิงหาคม 2564
  • ฉีดเข็มกระตุ้นด้วยวัคซีนไฟเซอร์เดือนมกราคม 2565
  • เริ่มมีอาการเจ็บคอ มีน้ำมูก ไอเล็กน้อย ไม่มีไข้ เมื่อวันที่ 7 มีนาคม รับเข้านอนโรงพยาบาลวันที่ 11 มีนาคม ด้วยอาการท้องเสียหลายครั้ง

“ตรวจ RT-PCR ยืนยันติดเชื้อไวรัส โควิด-19 ตรวจอุจจาระพบติดเชื้อโนโรไวรัส ระหว่างอยู่โรงพยาบาล 8 วัน ท้องเสียดีขึ้น ไม่เหนื่อย ไม่มีไข้ วัดระดับออกซิเจนปกติ เอกซเรย์ปอดปกติ”

ผู้ป่วยรายที่ 2 มีความเสี่ยงที่เชื้อจะลงปอดมากกว่าผู้ป่วยรายแรก แต่เชื้อกลับไม่ลงปอด เพราะได้รับวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า 2 เข็ม และกระตุ้นด้วยวัคซีนชนิด mRNA ไฟเซอร์ 1 เข็ม คนที่เคยรับวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า 2 เข็ม ไม่ควรฉีดเข็มกระตุ้นด้วยวัคซีนเชื้อตาย ซิโนแวค หรือ ซิโนฟาร์ม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

เมียไรเดอร์ เปิดใจเสียงสั่น กลัวไม่ได้รับความเป็นธรรม หลังรู้ข่าว หนุ่มอินเดียซิ่งเก๋งได้ประกันตัว ลั่น ‘คนมีเงินมันยิ่งใหญ่’
นายกฯ เปิดงาน Thailand Reception เชิญชวนสัมผัสเสน่ห์อาหารไทย ชูศักยภาพเศรษฐกิจ
จีนแห่ ‘โคมไฟปลา’ แหวกว่ายส่องสว่างในอันฮุย
"พิพัฒน์" ตรวจเยี่ยมเอกชน ต้นแบบอุตสาหกรรม ผลิตด้วยเทคโนฯ AI พร้อมเร่งนโยบาย up skill ฝีมือแรงงานไทย
ผู้นำปานามาลั่นคลองปานามาไม่ใช่ของขวัญจากสหรัฐ
จีนไม่เห็นด้วยหลังไทยยืนยันไม่มีแผนส่งกลับอุยกูร์ในขณะนี้
"ดีเอสไอ" อนุมัติให้สืบสวนคดี "แตงโม" ปมมีการบิดเบือน บุคคลอื่น-จนท.รัฐเกี่ยวข้องหรือไม่
"พิพัฒน์" นำถก "คบต." ลงมตินายจ้างต้องยื่นบัญชีชื่อต้องการแรงงานต่างด้าว ให้เสร็จใน 13 ก.พ.68
ส่องรายได้ "ดิว อริสรา" หลัง "ไผ่ ลิกค์" เฉลยชื่อดาราดัง ปมยืมเงินปล่อยกู้ โซเชียลจับตา รอเจ้าตัวชี้แจง
ศาลให้ประกันตัว "หนุ่มลูกครึ่งอินเดีย" ขับรถชนไรเดอร์เสียชีวิต ตีวงเงิน 6 แสนบาท คุมเข้มใส่กำไล EM ภรรยาผู้ตาย ลั่นไม่ให้อภัย

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น