“สีข้างถลอก”นายกฯอบต.ราชาเทวะ ยันแจงได้หมดเสาไฟกินรี โยนบาป “คณะกรรมการประชาคม”

หลังจากที่ทีมข่าว ท็อปนิวส์ ลงพื้นที่ตรวจสอบติดตามความคืบหน้าเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2564 ที่พ.ต.อ.ประสงค์ เฉลิมพันธ์ รอง ผบก.ปปป. และ พ.ต.อ.พยงค์ เอี่ยมสกุล ผกก.3 บก.ปปป.เดินทางมาพร้อมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ เพื่อตรวจสอบข้อมูลการใช้จ่ายงบประมาณ อบต.ราชาเทวะ อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ ในโครงการจัดซื้อครุภัณฑ์ไฟฟ้าและวิทยุ เสาไฟประติมากรรมกินรี พร้อมโคมไฟระบบพลังงานแสงอาทิตย์ (โซลาเซลล์) ชนิดกิ่งเดี่ยวพร้อมติดตั้ง รวมทั้งสิ้น 642,650,000 บาท จำนวน 6,773 ต้น เฉลี่ยต้นละ 94,884 บาท ซึ่งปรากฏชื่อ บริษัท บางกอกไฟถนน จำกัด เอกชนรายเดียวผูกขาดรับงานเป็นคู่สัญญาทุกโครงการ

 

และถ้าใครได้ฟังการแถลงข่าวของ นายทรงชัย นกขมิ้น นายก อบต.ราชาเทวะ อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ ฉบับเต็ม ต่อหน้า ตำรวจกองบังคับการป้องกันปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ หรือ บก.ปปป. กรณีโครงการจัดซื้อครุภัณฑ์ ไฟฟ้าและวิทยุ เสาไฟประติมากรรมกินรี พร้อมโคมไฟระบบพลังงานแสงอาทิตย์ หรือ โซลาเซลล์  ชนิดกิ่งเดี่ยวพร้อมติดตั้ง รวมทั้งสิ้น 642,650,000 บาท จำนวน 6,773 ต้น เฉลี่ยต้นละ 94,884 บาท ซึ่งปรากฏชื่อ บริษัท บางกอกไฟถนน จำกัด เอกชนรายเดียว ผูกขาดรับงานเป็นคู่สัญญาทุกโครงการ คงต้องส่ายหัว เพราะถ้อยแถลงดังกล่าว นายทรงชัย ในฐานะ นายกองค์การบริหารส่วนตำบล ราชาเทวะ  ทำให้เห็นการ “โยนบาป” ไปให้ “ระบบ” และคณะกรรมการ ในรูปของ “ประชาคม”

นายทรงชัย กล่าวว่า ก่อนหน้านี้มีผู้ร้องเรียนเรื่องดังกล่าวมานานแล้ว จนกระทั่งเมื่อ 3 เดือนที่ผ่านมา ป.ป.ช.จังหวัดและภาค เรียกตนไปสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับเสาไฟกินรี ซึ่งตนก็ชี้แจงทุกอย่างๆ โปร่งใส มีที่ไปที่มาอย่างชัดเจน โดยเริ่มตั้งแต่การประชาคม ที่ชาวบ้านอยากให้ทาง อบต.ราชาเทวะ พัฒนาหรือสร้างอะไรขึ้นมาในชุมชน ซึ่งชาวบ้านได้เสนอมา 2 เรื่อง คือ เรื่องการทำถนนให้เป็นคอนกรีตกับเสาไฟฟ้า

อบต.ราชาเทวะ จัดเก็บรายได้ต่อปี ได้ถึง 400 ล้านบาท  200 ล้านบาท เป็นรายจ่ายประจำ เช่นค่าน้ำ ค่าไฟ เงินเดือน ค่าตอบแทน ส่วนอีก 200 ล้าน ต้องเอามาพัฒนาให้หมดในปีนั้น ๆ ดังนั้น ในฐานะ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลราชาเทวะ จะต้องทำโครงการพัฒนา ปีละ 200 ล้านบาท ให้หมดในปีงบประมาณนั้น

 

ส่วนประเด็นเรื่อง เสาไฟฟ้ากินรี เกิดขึ้นมาได้อย่างไร นายทรงชัย บอกว่า เรื่องนี้ไม่ได้เกิดขึ้นเพราะนายกฯ หรือ อบต. เป็นผู้ต้องโครงการนี้ขึ้นมา  แต่เป็นไปตามแผนพัฒนา 5 ปี ที่ กระทรวงมหาดไทยกำหนด โดยจะมีการเลือกประชาชน มาเป็นคณะกรรมการพัฒนาแผน 20 คน ใน 20 คนนี้ จะไปประชาคมกับชาวบ้านว่า ปีนี้จะพัฒนาพื้นที่อย่างไร ก็จำนำมาบรรจุในแผน ส่วน นายก อบต. มีหน้าที่ดึงโครงการที่อยู่ในแผนเอามาจัดทำงบประมาณเท่านั้น

 

แต่ด้วยงบประมาณที่มีจึงทำได้เพียงเสาไฟฟ้าก่อน เมื่อได้ความต้องการของชาวบ้านแล้ว จึงนำเรื่องเข้าสู่คณะกรรมการแผนของโครงการ จากนั้นก็มีการออกแบบเสาไฟฟ้า และเสนอมาที่นายก อบต. ซึ่งราคากลางของเสาไฟกินรีอยู่ที่ต้นละ 9.5 หมื่นบาท ส่วนบริษัทที่ได้จัดทำก็มาจากการวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ หรือ e-bidding (อี-บิดดิ้ง) อบต.ไม่เคยปิดกั้นบริษัทไหน ก็เปิดให้มาแข่งขันกัน แต่ถามว่าทำไมบริษัทนี้ได้อยู่รายเดียว ตนไม่ทราบ เพราะเขาไปแข่งขันกันเอง

 

ส่วนกรณีเรื่องการติดตั้งเสาไฟถี่ หรือติดชิดกัน ทางคณะกรรมการทีโออาร์เป็นผู้กำหนดว่า แต่ละต้นต้องติดห่างกัน 20 เมตร เอามาจากมาตรฐานการไฟฟ้า เพราะไฟฟ้าจะสว่างถึงกันหมด บางคนอาจสงสัยว่าทำไมบางจุดห่างกันไม่ถึง 20 เมตร หรือบางจุด 17 เมตร เพราะอยู่ที่บ้านประชาชน แต่บางต้นห่างกว่า 20 เมตรก็มี

ส่วนข้อครหาว่ามีบางจุดไปติดตั้งไม่เหมาะสม เช่น ถนนลูกรัง หรือริมบ่อปลา หมู่บ้านซอยรกร้าง ทางนายก อบต.ราชาเทวะ ชี้แจงว่า พื้นที่ตรงไหนยังไม่พัฒนา หรือเข้าไม่ถึง ตนก็จะไปทำให้ตรงนั้นเกิดการพัฒนา

 

พอฟังคำแถลงของนายกองค์การบริหารส่วนตำบลราราเทวะ แล้วคนที่เป็นคณะกรรมการพัฒนาแผน  ทั้ง 20 คน คงนั่งกลืนน้ำลายแบบฝืด ๆ   เพราะนอกเหนือ นายกฯ อบต. จะลอยตัวเหนือปัญหาแล้ว ยัง “โยนบาป” ไปให้ คณะกรรมการพัฒนาแผน และชาวบ้านร้านถิ่น ว่า เป็นผู้มีส่วนสร้างป่าหิมพานต์ ใจกลางเมืองเสียอีก เรื่องนี้ถึงมือ ปปป. แล้ว  นายกฯ อบต. / สมาชิก อบต. และคณะกรรมการต่าง ๆ คงเกิดอาการ “ก้นร้อน” ไปตาม ๆ กัน เพราะเรื่องนี้คงมีการสาวอีกยาว

 

ด้าน พ.ต.อ.พยงค์ เอี่ยมสกุล ผกก.3 บก.ปปป. เปิดเผยว่า การลงมาตรวจสอบครั้งนี้ มาดูว่าการจัดซื้อจัดจ้างถูกต้องไหม จะต้องนำเอกสารทั้งหมดมาตรวจสอบ ซึ่งถ้าหากพบว่ามีการทุจริต ก็จะส่งเรื่องให้ ป.ป.ช. ต่อ ซึ่งจะใช้เวลาในดำเนินการพอสมควร เพราะเอกสารค่อนข้างมาก ขณะเดียวกันได้นำทีมเจ้าหน้าที่ตำรวจลงพื้นที่ซอยจามจุรี ย่านกิ่งแก้ว และภายใน ซ.ลาดกระบัง 14/1 เพื่อตรวจสอบการติดตั้งเสาไฟกินรี โซลาร์เซลล์อีกครั้งว่า สิ่งที่ได้ดำเนินการเหมาะสมกับโครงการหรือไม่ พร้อมทั้งมาวัดระยะห่างการติดตั้งเสาไฟกินรีจากสถานที่จริง

ซึ่งจากการตรวจวัดเบื้องต้นพบว่า เสาไฟแต่ละต้นมีระยะห่างไม่เท่ากัน ตั้งแต่ 10 เมตรถึง 14 เมตร ซึ่งอาจจะไม่ตรงกับข้อมูลที่นายก อบต.ราชาเทวะ ที่ชี้แจงว่ามีการติดตั้งเสาไฟระยะห่าง 20-25 เมตร ส่วนการติดตั้งเสาไฟกินรี รอบบึงน้ำทั้งที่ยังไม่มีถนน ประเด็นนี้ก็จะต้องรวบรวมส่งให้ ป.ป.ช.เช่นเดียวกัน ถึงแม้ว่านายก อบต.ราชาเทวะ จะชี้แจงว่า บึงดังกล่าวเตรียมที่จะทำเป็นสวนสาธารณะ จึงนำไฟกินรีไปติดตั้งไว้ก่อนก็ตาม

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

คอหวยแตกตื่น!!แห่ร่วมพิธีและส่องเลขหางประทัดพิธีอัญเชิญพระบรมรูปทรงม้าสมเด็จพระเจ้าตากสินขึ้นประดิษฐาน ณ วัดคงคาเลียบเมืองคอน
"เจ๊อ้อย" เปิดใจหลังให้ปากคำเป็นวันที่ 4 พร้อมเอาผิด "ทนายตั้ม" ยืนยันคำเดิม เงิน 71 ล้าน ไม่ได้ให้โดยเสน่หา
"สุสานเนอร์วาน่า" แจงชัดไร้ส่วนเกี่ยวข้อง พิธีซื้อที่ดินสะเดาะเคราะห์ต่อชีวิตของ "หมอดูฮวงจุ้ย"
“อนุทิน” มอง “ปทุมธานี” เป็นเมืองต้นแบบกระจายอำนาจ ยินดี “บิ๊กแจ๊ส” นั่งนายกฯอบจ.
สุดเศร้า ลูกเศร้า กลับจากโรงเรียนเจอพ่อผูกคอดับ ขณะแม่ได้ข้อความขอโทษจากลูกชาย แต่ไม่ได้เอะใจ
จังหวัดฉะเชิงเทรา จัดงานนมัสการหลวงพ่อโสธรและงานประจำปีจังหวัดฉะเชิงเทรา พ.ศ. 2567 ครั้งที่ 134 ระหว่างวันที่ 12 - 24 พฤศจิกายน 2567 ณ สนามหน้าศาลากลางจังหวัดฉะเชิงเทรา
‘ทนายไพศาล’ ยืนยันไม่ได้เป็นทนายให้ ‘ซินแสดัง’ขออีกฝ่ายอย่าเอารูปถ่ายคู่กันไปแอบอ้าง
งาน CIIE ครั้งที่ 7 เปิดฉากแล้วที่จีน
ตร.เมืองชล ตั้งด่านป้องปรามอาชญากรรม-ยาเสพติดกลางดึก หนุ่มขนยาบ้า 3 แสนเม็ด ขับผ่านด่านแต่ไม่รอด สารภาพรับจ้างขนยา 3 หมื่น ยังไม่ได้รับค่าจ้าง ถูกจับเสียก่อน
เลือกตั้งสหรัฐเปิดฉากขึ้นแล้ว

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น