ล่าสุด "ประกันสังคม ม.33 ม.39" ผู้ประกันตนส่งเงินต้องรู้ กี่เดือนใช้สิทธิได้ พร้อมจ่าย ชดเชย ทุกมาตรา ม.33 ม.39 ม.40 รับเงินกรณีไหน เท่าไหร่ เช็คจบที่นี่
ข่าวที่น่าสนใจ
มาตรา 33
- กรณีลาป่วย : รับค่าจ้าง 30 วันแรก จากนายจ้าง
- หยุดรักษาตัว เกิน 30 วัน : สามารถเบิกสิทธิประโยชน์กรณีขาดรายได้ จากประกันสังคม นับตั้งแต่วันที่ 31 ของการลาป่วย โดยได้รับเงินทดแทนร้อยละ 50 ของค่าจ้างจริง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท โดยได้รับครั้งละไม่เกิน 90 วัน ปีละไม่เกิน 180 วัน เว้นแต่โรคเรื้อรังไม่เกิน 365 วัน
มาตรา 39
- รับเงินทดแทน ขาดรายได้ร้อยละ 50
- คิดจากฐานอัตราการนำส่งเงินสมทบ (4,800 บาท) : ครั้งละไม่เกิน 90 วัน ปีละไม่เกิน 180 วัน เว้นแต่โรคเรื้อรังไม่เกิน 365 วัน ยื่นแบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน (สปส. 2-01)
* ประกันสังคม ม.33 ม.39 จะพิจารณาจากเอกสารหลักฐาน และใบรับรองแพทย์ และผู้ประกันตนต้องมีการนำส่งเงินสมทบ 3 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนวันรับบริการทางการแพทย์ ตามหลักเกณฑ์เงื่อนไขฯ
มาตรา 40
- รับเงินทดแทนขาดรายได้ตามทางเลือก 1 – 2 – 3
- ต้องนำส่งสมทบ 3 เดือน : ภายในระยะเวลา 4 เดือน ก่อนเดือนที่ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย พิจารณาจากเอกสารหลักฐาน และใบรับรองแพทย์ ยื่นแบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน (สปส. 2-01/ม.40)
“ประกันสังคม ม.33 ม.39” ผู้ประกันตนตามแต่ละมาตราจะได้รับสิทธิประกันสังคมไม่เหมือนกัน คือ
- มาตรา 33 คุ้มครอง 7 กรณี
- มาตรา 39 คุ้มครอง 6 กรณี
เงื่อนไขการคุ้มครอง
กรณีเจ็บป่วย
- ส่งเงินสมทบไม่น้อยกว่า 3 เดือน
- ภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนเจ็บป่วย
กรณีคลอดบุตร
- ส่งเงินสมทบครบ 5 เดือน
- ภายใน 15 เดือน ก่อนเดือนที่คลอดมีสิทธิ์ได้รับค่าคลอดบุตรโดยไม่จำกัดจำนวนครั้ง
กรณีทุพพลภาพ
- ส่งเงินสมทบครบ 3 เดือน
- ภายใน 15 เดือน ก่อนเดือนที่ทุพพลภาพ
กรณีตาย
- ส่งเงินสมทบครบ 1 เดือน
- ภายใน 6 เดือน ก่อนถึงแก่ความตาย
กรณีสงเคราะห์บุตร
- ส่งเงินสมทบครบ 12 เดือน
- ภายใน 36 เดือน ก่อนเดือนที่มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทน
กรณีชราภาพ
- บำเหน็จชราภาพ
- กรณีจ่ายเงินสมทบต่ำกว่า 12 เดือน จะได้รับเงินบำเหน็จ เท่ากับจำนวนเงินสมทบเฉพาะส่วนของผู้ประกันตน
- กรณีจ่ายเงินสมทบตั้งแต่ 12 เดือนขึ้นไป แต่ไม่ครบ 180 เดือน จะได้รับเงินบำเหน็จเท่ากับจำนวนเงินสมทบส่วนของผู้ประกันตน + นายจ้าง พร้อมผลประโยชน์ทดแทนตามที่กำหนด
- บำนาญชราภาพ
- ได้รับบำนาญชราภาพร้อยละ 20 ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย หากมีการจ่ายเงินสมทบเกินกว่า 180 เดือน จะปรับเพิ่มขึ้นให้อีกร้อยละ 1.5 ต่อระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบครบ ทุก 12 เดือน
กรณีว่างงาน (ม.33) - ส่งเงินสมทบครบ 6 เดือน ภายใน 15 เดือนก่อนว่างงาน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง