ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 20 มีนาคม 2565 นายประภัตร โพธสุธน รมช.เกษตรและสหกรณ์ ได้เดินทางมาเป็นประธานมอบเงินเยียวยาให้กับเกษตรกร ผู้เลี้ยงโค-กระบือในจังหวัดสุรินทร์ กว่า 85 ล้านบาท ณ หอประชุมองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุรินทร์ โดยมีนายสุวพงศ์ กิติภัทย์พิบูลย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ กล่าวต้อนรับ มีนายจำลอง ผูกดวง ปศุสัตว์จังหวัดสุรินทร์ กล่าวรายงาน /มีนายวิวัฒน์ ไชยชะอุ่ม ผู้อำนวยการกองส่งเสริมและพัฒนาการปศุสัตว์ พร้อมด้วย นายสุรพล ธัญญเจริญ ปศุสัตว์เขต 4 สพ.ญ.ขนิษฐา ฐิติดิลกรัตน์ ปศุสัตว์เขต 3 และมี ส.ส.ปกรณ์ มุ่งเจริญพร/ส.ส.ณัฐพงศ์ จรัสรพีพงษ์(สส.เซี้ยะ)/ส.ส.ครูมานิตย์ สังข์พุ่ม/ส.ส.สมบัติ ศรีสุรินทร์ ส.ส.สุรินทร์ และส่วนราชการการจังหวัดสุรินทร์ ร่วมมอบเงินช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบภัยพิบัติโรคระบาดสัตว์ (โรคลัมปี สกิน) จำนวนทั้งสิ้น 85,478,000 บาท
นายประภัตร โพธสุธน รมช.เกษตรและสหกรณ์ ได้กล่าวว่า ในครั้งนี้ จังหวัดสุรินทร์ ได้มอบเงินช่วยเหลือเกษตรกร จำนวน 3,357 ราย 3,579 ตัว วงเงินช่วยเหลือเกษตรกร 85,478,000 บาท รวมให้ความช่วยเหลือแล้ว 3,749 ราย 3,989 ตัว วงเงินช่วยเหลือเกษตรกร 96,076,000 บาท คงเหลืออยู่ระหว่างขอความช่วยเหลืออีก 986 ราย 1,038 ตัว 19,910,800 บาท อยู่ระหว่างเร่งดำเนินการให้ความช่วยเหลือต่อไป รวมรัฐบาลให้ความช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบภัยพิบัติโรคระบาดสัตว์ (โรคลัมปี สกิน) แล้วทั้งสิ้น 39 จังหวัด 42,266 ราย วงเงินกว่า 972 ล้านบาท คิดเป็น 70 % ของวงเงินที่ขอความช่วยเหลือทั้งประเทศ
สำหรับ การเดินทางมามอบเงินช่วยเหลือเกษตรกรผู้เดือดร้อนจากกรณีโคล้มตายด้วยเหตุโรคลัมปิสกินระบาด โดยมีรายละเอียดดังนี้/
อ.ศีขรภูมิได้รับ 1,297,000 บาท อำเภอเขวาสินรินทร์3,396,000บาท อำเภอสนม 4,110,000 บาท อำเภอลำดวน 4,476,000 บาท อำเภอจอมพระ4,231,000บาท อำเภอท่าตูม10,113,000บาท อำเภอชุมพลบุรี 9,974,000บาท อำเภอเมืองสุรินทร์ 17,524,000 บาท อำเภอปราสาท 14,092000บาท อำเภอสังขะ4,360,000บาท อำเภอบัวเชด2,010,000บาท อำเภอพนมดงรัก1,577,000บาท อำเภอศรีณรงค์ 3,895,000บาท/
จากนั้น นายประภัตร ได้กล่าวแสดงความยินดีกับเกษตรกรที่ได้รับความช่วยเหลือ และสำหรับเกษตรกรส่วนที่เหลือจะเร่งดำเนินการช่วยเหลือโดยเร็ว นอกจากนี้ยังได้ ชี้แจงผลักดันส่งเสริมโครงการสานฝันสร้างอาชีพเพื่อยกระดับรายได้เกษตรกร ด้านพืช ปศุสัตว์ ประมง สิ่งที่เกษตรกรจะได้รับ (1)หาตลาดได้ง่าย (2)มีประกันราคารับซื้อ (3)ธกส.อนุมัติสิ้นเชื่อ 100,000 บาท/ราย ไม่ต้องมีหลักทรัพย์คำประกัน (1 คนกู้ 2 คนค้ำ ไม่ต้องใช้หลักทรัพย์ค้ำประกัน)
ด้าน นายปกรณ์ มุ่งเจริญพร ส.ส.สุรินทร์ เขต 1. ได้กล่าวว่า ราคาโค-กระบือช่วงนี้ราคาตก เนื่องจากเรายังไม่สามารถส่งออกได้ เนื่องจากต่างประเทศกลัวในเรื่องโควิด-19 อย่างไรก็ตามอีกระยะอันใกล้นี้เมื่อโควิด-19 ปรับเป็นโรคประจำถิ่น ราคาโค-กระบือคงสูงขึ้น ให้พี่น้องเกษตรกรอดทนอีดนิดหน่อย.
ภาพ/ข่าว:สื่อสร้างสรรค์สุรินทร์
เรียบเรียง / ชูชัย ดำรงสันติสุข ศูนย์ข่าวภูมิภาค TOP NEWS ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ