“พล.ต.อ.อดุลย์” ปธ.กมธ.แรงงาน เปิดเวทีสัมมนาระดมความเห็นทุกภาคส่วน เร่งแก้ปัญหาขาดแคลนแรงงาน

"พล.ต.อ.อดุลย์" ปธ.กมธ.แรงงาน เปิดเวทีสัมมนาระดมความเห็นทุกภาคส่วน เร่งแก้ปัญหาขาดแคลนแรงงาน

เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2565 พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ประธานคณะกรรมาธิการการแรงงาน วุฒิสภา เป็นประธานในพิธีเปิดการสัมมนาเรื่อง “การแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงานในฤดูเก็บเกี่ยวผลผลิตภาคเกษตรกรรม” โดยมี พล.ต.ท.ศานิตย์ มหถาวร รองประธาน คณะกรรมาธิการ คนที่สี่ในฐานะประธานคณะอนุกรรมาธิการด้านการจัดหางานและพัฒนาฝีมือแรงงาน กล่าวรายงาน ณ ห้องบอลรูม 1 ชั้น 3 โรงแรมดิเอมเมอรัลด์ ถนนรัชดาภิเษก กรุงเทพมหานคร

พล.ต.อ.อดุลย์ กล่าวว่า ประเทศไทยสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจโดยมุ่งเน้นการส่งสินค้าออกไปต่างประเทศ การท่องเที่ยว และการบริโภคภายในประเทศเป็นหลัก รวมทั้งภาคเกษตรกรรมก็เป็นภาคที่มีความสำคัญต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมของประเทศเช่นเดียวกัน โดยมีประชากรในประเทศไทยที่ประกอบอาชีพภาคเกษตรกรรมกว่า 25 ล้านคนเศษ หรือคิดเป็นร้อยละ 40 ของประชากรทั้งประเทศ ซึ่งนับว่าเป็นแหล่งรองรับแรงงานที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ทั้งนี้ ภาคเกษตรกรรมยังสามารถสร้างรายได้ต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศประมาณร้อยละ 9 ของ GDP อย่างไรก็ตามภาคเกษตรกรรมก็ยังขาดแคลนแรงงาน เนื่องจากแรงงานวัยหนุ่มสาวส่วนใหญ่หลั่งไหลเข้าสู่เมืองใหญ่เพื่อทำงานภาคอุตสาหกรรมและบริการ ซึ่งได้รับผลตอบแทนจากการทำงานสูงประกอบกับภาคเกษตรกรรมมักจะขาดแคลนแรงงานในช่วงฤดูกาลเก็บเกี่ยวเป็นประจำทุกปี จึงจำเป็นต้องพึ่งพาแรงงานต่างด้าว 3 สัญชาติ ได้แก่ เมียนมา ลาว และกัมพูชา เนื่องจากคนไทยส่วนใหญ่ไม่นิยมทำงานในลักษณะ 3D คือสกปรก เสี่ยงภัย และอันตราย ทำให้ต้องพึ่งพาแรงงานต่างด้าว 3 สัญชาติ ประมาณกว่า 3 ล้านคน ที่ได้มาทำงานในประเทศไทย ซึ่งหากคิดเป็นสัดส่วนต่อประชากรของประเทศประมาณ 67 ล้านคนแล้ว จะมีแรงงานต่างด้าว 3 สัญชาติ คิดเป็นสัดส่วนเกือบร้อยละ 5 ของประชากรทั้งประเทศ และจำนวนแรงงานต่างด้าวก็จะมีจำนวนสูงขึ้น โดยเฉพาะแรงงานต่างด้าว 3 สัญชาติ ที่เกินกว่าร้อยละ 90 ของจำนวนแรงงานต่างด้าวทั้งหมดที่เข้ามาทำงานในประเทศไทย

 

ข่าวที่น่าสนใจ

พล.ต.อ.อดุลย์ กล่าวต่อว่า การนำแรงงานต่างด้าว 3 สัญชาติ เข้ามาในประเทศไทยก็จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการในการช่วยแก้ไขปัญหาขาดแคลนแรงงานในทุกภาคส่วน แต่ต้องแลกมากับผลกระทบต่อความมั่นคง สังคม เศรษฐกิจ และการเมืองทั้งในและต่างประเทศ ในด้านบวก คือ แรงงานต่างด้าวช่วยแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงานที่คนไทยไม่นิยมทำ และช่วยสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ส่วนผลกระทบด้านลบ คือ ปัญหาด้านสาธารณสุข ปัญหาอาชญากรรม และยาเสพติด ปัญหาการศึกษา และเด็กที่เกิดในประเทศไทย ปัญหาที่อยู่อาศัยไม่ได้มาตรฐาน รวมถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมอีกด้วย

“การสัมมนาในครั้งนี้ จึงจัดขึ้นเพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้นำเสนอข้อเท็จจริง ข้อคิดเห็นที่กว้างขวาง หลากหลายและเกิดประโยชน์สูงสุด ในการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ รวมทั้งนำข้อเสนอที่ได้จากทุกภาคส่วนในการช่วยแก้ไขปัญหาขาดแคลนแรงงาน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อความต้องการแรงงานของผู้ประกอบการ รวมทั้งข้อเสนอแนะดังกล่าวจะได้นำไปเสนอยังรัฐบาล เพื่อให้การดำเนินการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศสามารถเดินหน้าต่อไปได้” พล.ต.อ.อดุลย์ กล่าวในท้ายสุด

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

เมียไรเดอร์ เปิดใจเสียงสั่น กลัวไม่ได้รับความเป็นธรรม หลังรู้ข่าว หนุ่มอินเดียซิ่งเก๋งได้ประกันตัว ลั่น ‘คนมีเงินมันยิ่งใหญ่’
นายกฯ เปิดงาน Thailand Reception เชิญชวนสัมผัสเสน่ห์อาหารไทย ชูศักยภาพเศรษฐกิจ
จีนแห่ ‘โคมไฟปลา’ แหวกว่ายส่องสว่างในอันฮุย
"พิพัฒน์" ตรวจเยี่ยมเอกชน ต้นแบบอุตสาหกรรม ผลิตด้วยเทคโนฯ AI พร้อมเร่งนโยบาย up skill ฝีมือแรงงานไทย
ผู้นำปานามาลั่นคลองปานามาไม่ใช่ของขวัญจากสหรัฐ
จีนไม่เห็นด้วยหลังไทยยืนยันไม่มีแผนส่งกลับอุยกูร์ในขณะนี้
"ดีเอสไอ" อนุมัติให้สืบสวนคดี "แตงโม" ปมมีการบิดเบือน บุคคลอื่น-จนท.รัฐเกี่ยวข้องหรือไม่
"พิพัฒน์" นำถก "คบต." ลงมตินายจ้างต้องยื่นบัญชีชื่อต้องการแรงงานต่างด้าว ให้เสร็จใน 13 ก.พ.68
ส่องรายได้ "ดิว อริสรา" หลัง "ไผ่ ลิกค์" เฉลยชื่อดาราดัง ปมยืมเงินปล่อยกู้ โซเชียลจับตา รอเจ้าตัวชี้แจง
ศาลให้ประกันตัว "หนุ่มลูกครึ่งอินเดีย" ขับรถชนไรเดอร์เสียชีวิต ตีวงเงิน 6 แสนบาท คุมเข้มใส่กำไล EM ภรรยาผู้ตาย ลั่นไม่ให้อภัย

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น