อ่านมุมมอง “ปกรณ์ นิลประพันธ์ ” : เทคโนโลยี​ยิ่งล้ำจิตใจ​คนยิ่งดิ่ง​เหว​

ถ้าเรายังลดความเหลื่อมล้ำระหว่างการพัฒนาด้านวัตถุกับการพัฒนาด้านจิตใจไม่ได้ ก็ยากที่จะเกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน

ปกรณ์​ นิล​ประพันธ์​  เลขาธิการ​คณะกรรมการ​กฤษฏีกา​

ทุกวันนี้เราตื่นตัวกับคำว่า disruptive technology กันมาก โดยประเด็นหลักที่พูดกันในบ้านเรา ก็คือเราจะสร้างสภาพแวดล้อม (ecosystem) ที่เหมาะสมเพื่อรองรับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่กระโดดไปด้วยอัตราเร่งที่สูงยิ่งได้อย่างไร

เราพูดกันเรื่อง 5G เรื่อง big data เรื่อง AI

จะต้องพัฒนาโครงข่าย 5G ต้องพัฒนาคนให้มีความรู้ความสามารถสูงด้านดิจิทัลเทคโนโลยี ด้าน cyber security ด้าน data analytics ต้องให้เด็กทำ codeing ได้ตั้งแต่ประถม ฯลฯ

ผู้เขียนไม่มีข้อสงสัยใดต่อแนวคิดเพื่อการพัฒนาเหล่านั้น

แต่เหรียญก็มีสองด้าน และจากการสังเกตการณ์สภาพสังคมนับตั้งแต่สิ่งที่เรียกว่า IT หรือ Information Technology ได้เริ่มต้นเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของมนุษย์ในช่วง 1990s ผู้เขียนพบว่า “ช่องว่างระหว่างการพัฒนาด้านวัตถุ กับการพัฒนาด้านจิตใจ” ซึ่งเป็นความเหลื่อมล้ำอย่างหนึ่ง กว้างขึ้นเรื่อย ๆ และในอัตราเร่งที่สูงอย่างมีนัยสำคัญ

ความเหลื่อมล้ำดังกล่าวมีผลอย่างรุนแรงต่อ “ความยั่งยืน” ในการพัฒนาของทุกประเทศ

ปัญหาสังคมที่หลากหลายและสลับซับซ้อนมากกว่าแต่ก่อนล้วนเกิดจาก “การใช้” เทคโนโลยีในทางที่ไม่เหมาะสม ซึ่งบ้างก็อ้างว่า “รู้เท่าไม่ถึงการณ์” อีกประการหนึ่งก็เกิดจาก “การเสพย์” ข้อมูลโดยขาดสติ ขาดปัญญารู้คิด

การแสดงออกอย่างดิบ เถื่อน ถ่อย ที่สร้างความสะใจในอารมณ์ มีให้เห็นและติดตามกันดาษดื่น ทั้งเข้าถึงง่ายเพียงปลายนิ้ว

การปลุกเร้าทางเพศเพื่อแลกเศษเงิน แบบที่มักจะอ้างว่า “รู้เท่าไม่ถึงการณ์” กลายเป็นสิ่งใหม่ที่ธรรมดา (new normal)

การโกหกหลอกลวง การสร้างและการปั่นกระแส ในเรื่องต่าง ๆ มีมากมาย เพื่อจูงใจให้คนธรรมดาที่มีรัก โลภ โกรธ หลง และขาดปัญญา ได้ “ปลดปล่อย” อารมณ์ ความรู้สึก ทางใดทางหนึ่งออกมาเป็นปฏิกิริยา เพื่อสร้างความโกลาหลในสังคม

การปลุกเร้าหรือให้ความสำคัญกับการบริโภคในสิ่งที่ไม่จำเป็นมีมากมาย เป็นที่มาของความฟุ้งเฟ้อฟุ่มเฟือย

ดังนั้น นอกเหนือจากการพัฒนาทางวัตถุ การพัฒนาจิตใจเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันที่เข้มแข็งให้ปัจเจกบุคคล จึงต้องก้าวไปพร้อม ๆ กันด้วย

และการพัฒนาจิตใจนี้ไม่ใช่หน้าที่ของรัฐหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง หรือจำกัดแต่สถาบันศาสนา หากเป็นหน้าที่ร่วมกันของทุกภาคส่วนในสังคม โดยเฉพาะในระดับครอบครัว

ถ้าเรายังลดความเหลื่อมล้ำระหว่างการพัฒนาด้านวัตถุกับการพัฒนาด้านจิตใจไม่ได้ ก็ยากที่จะเกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน

ผู้เขียนเป็นนักกฎหมาย เป็นนักสังเกตการณ์สังคม ไม่เชี่ยวชาญด้านคณิตศาสตร์ จึงไม่อาจสร้างแบบจำลองทางวิชาการออกมาได้ ทั้งไม่ได้จำฝรั่งที่ไหนมา แต่เกิดจากการติดตามสถานการณ์ ข้อเขียนนี้จึงไม่อาจเป็นข้ออ้างอิงตามหลักวิชาการ

คงเป็นเพียงความห่วงใยจากลุงแก่ ๆ คนหนึ่งเท่านั้นเอง

ข่าวที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ทบ.ขานรับนโยบายปราบยาเสพติด เพิ่มทหาร 6 กองกำลัง วัดเคพีไอ 10 กพ.-10 มิ.ย.
ซีพีเอฟ ซีพี-เมจิ ร่วมหนุนสระบุรีแซนด์บ๊อกซ์ "รวมพลังสร้างเมืองคาร์บอนต่ำแห่งแรกของประเทศไทย”
สละเรือแล้ว! "ผบ.อิสราเอล" ยื่น "ลาออก" เซ่นเหตุ 7 ต.ค. ไล่แทงกันในเทลอาวีฟเจ็บ 5
สุดปัง “นายกฯ” สวมกระโปรงผ้าปาเต๊ะ ร่วมประชุม WEF
ทบ.ยืนยันอีกรอบ! ปมร้อน “แสตมป์” ไม่เกี่ยวกองทัพ พบไม่เคยร้อง 112
ผบ.ทร.เข้าเยี่ยม พร้อมมอบของบำรุงขวัญ สร้างกำลังใจทหารผ่านศึก ขอบคุณเสียสละเพื่อชาติจนทุพพลภาพ
“อัจฉริยะ” ยอมเสี่ยงชีวิต มาขึ้นไต่สวนคดีละเมิดอำนาจศาล พร้อมเปิดแผลผ่าตัดโชว์นักข่าว
"อิสราเอล" บิดหยุดยิง ถล่มเวสต์แบงก์ดับเกลื่อน "ฮามาส" รวมพลด่วน
ตม.4 บุกทลายเว็บพนันฯเกาหลีใต้ ใช้ไทยเป็นฐานบัญชาการควบคุมทั่วโลก เงินหมุนเวียน 100 ล้านบาท
เปิดคำพิพากษา “เต้ มงคลกิตติ์” ทำสัญญาประนีประนอม ยอมขอโทษ หมิ่นกล่าวหา “ศักดิ์สยาม”

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น