"คริปโต" แบงค์ชาติเตรียมขีดเส้นตาย ออกเกณฑ์การลงทุนธนาคารพาณิชย์ ชี้ ห้ามลงเกินเพดาน 3% ของกองทุน
ข่าวที่น่าสนใจ
“คริปโต” ธนาคารแห่งประเทศไทย ประกาศเตรียมออกเกณฑ์การลงทุนของธนาคารพาณิชย์ ให้มีความยืดหยุ่นในการประกอบธุรกิจมากขึ้น พร้อมยกระดับการกำกับธนาคารให้สอดคล้องกับความเสี่ยงที่เปลี่ยนไป โดยมีรายละเอียด ดังนี้
ยกเลิกเพดานการลงทุนในธุรกิจ FinTech จากเดิมที่เคยกำหนดไว้ที่ 3% ของเงินกองทุน
- เพื่อให้กลุ่มธนาคารพาณิชย์ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีทางการเงิน (FinTech) ได้มากขึ้น เนื่องจาก เห็นประโยชน์ที่ชัดเจน อีกทั้งกลุ่ม ธนาคารยังมีประสบการณ์การลงทุนในธุรกิจ FinTech มากขึ้น และหน่วยงานกำกับดูแลมีแนวทางดูแลความเสี่ยงในระดับหนึ่งแล้ว
ให้บริษัทในกลุ่มธนาคารพาณิชย์สามารถลงทุนในกิจการที่ประกอบธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับ DA ภายใต้เพดานที่ 3% ของเงินกองทุน
- เพื่อให้การขยายตัวเป็นไปอย่างค่อยเป็นค่อยไป ช่วยจำกัดความเสี่ยงใหม่ ๆ ที่อาจกระทบความเชื่อมั่น และให้กลุ่มธนาคารพิจารณาการลงทุนหรือจัดสรรทรัพยากรอย่างรอบคอบ โดยเมื่อมีมาตรฐานการกำกับดูแลที่เป็นสากลหรือมีแนวทางการบริหารความเสี่ยงที่ชัดเจนเพียงพอ ก็สามารถปรับเพิ่มหรือยกเลิกเพดานการลงทุนที่กำหนดได้เป็นการทั่วไป เช่นเดียวกับเพดานการลงทุนในธุรกิจ FinTech
หากสามารถยกระดับมาตรฐานของกิจการ DA ให้เป็นไปตามที่กำหนดได้ อนุญาตให้ไม่นับเงินลงทุนของกิจการนั้นในเพดานการลงทุน
- เพื่อสร้างแรงจูงใจในการยกระดับมาตรฐานการดำเนินธุรกิจ DA ในกลุ่มธนาคาร ซึ่งจะนำไปสู่การยกระดับมาตรฐานธุรกิจ DA ของประเทศ
ให้ธุรกิจที่ยังมีความเสี่ยงหรือยังไม่มีหน่วยงานกำกับดูแล สามารถดำเนินงานในกรอบ Sandbox ได้ในวงจำกัดก่อน
- เพื่อพิจารณาถึงประโยชน์ของประเทศ การดูแลความเสี่ยง และผลกระทบต่อระบบในภาพรวม หากเป็นธุรกิจอื่นๆ (เช่น NFT) ต้องขอเป็นรายกรณีผ่านกระบวนการ BOT Sandbox แทน ก่อนการให้บริการในวงกว้างต่อไป
ให้กลุ่มธนาคารจำกัดความเสี่ยงจากความเชื่อมโยงที่อาจเกิดต่อธนาคาร เพื่อให้การดำเนินงานในธุรกิจใหม่ ๆ ไม่กระทบต่อผู้ฝากเงินและระบบการเงิน
ทั้งนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทย เชื่อว่าการปรับเกณฑ์ดังกล่าว จะเอื้อให้ธุรกิจในภาคการเงินสามารถปรับตัวได้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี สามารถดำเนินธุรกิจให้เติบโตได้อย่างยั่งยืน ระบบการเงินได้รับประโยชน์จากการแข่งขัน เกิดการพัฒนาบริการให้มีประสิทธิภาพ เพิ่มการเข้าถึงบริการทางการเงินของประชาชน และทำให้ธุรกิจ DA ในประเทศมีมาตรฐานการบริการที่เป็นที่ยอมรับ ภายใต้การบริหารความเสี่ยงที่ดี ผู้บริโภคได้รับการคุ้มครองอย่างเหมาะสม ซึ่งสอดคล้องกับผลลัพธ์ที่คาดหวัง รวมทั้งผลการรับฟังความคิดเห็นต่อแนวนโยบาย Financial Landscape ด้วย แต่อย่างไรก็ตาม ทางธนาคารจะออกตัวร่างออกมาก่อน เพื่อรับฟังความเห็นบน BOT website ซึ่งคาดว่าน่าจะออกประกาศภายในครึ่งปีแรกนี้
ข้อมูล : ธนาคารแห่งประเทศไทย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
-