“ใหลตาย คือ” หลังคาดคร่าชีวิต บีม ปภังกร นักแสดงซีรีส์เคว้ง

"ใหลตาย คือ" ทำความรู้จักโรคใหลตาย อาการเป็นอย่างไร ใครมีความเสี่ยง รักษาก่อนได้หรือไม่ หลังเกิดข่าวดังคาดคร่าชีวิต บีม ปภังกร นักแสดงซีรีส์เคว้ง

“ใหลตาย คือ”  โรคใหลตาย หรือที่คนเข้าใจผิดสะกดว่า ไหลตาย ทั้งที่ความจริงนั้นมีที่มาเดียวกับคำว่า หลับใหล นั่นเอง กลายเป็นที่พูดถึงสนั่นโซเชียลเพียงชั่วข้ามคืนเท่านั้น สืบเนื่องจากเมื่อคืนวันที่ 23 มีนาคม 2565 ที่ผ่านมา เกิดข่าวช็อกสนั่นวงการบันเทิง เมื่อนักแสดงหนุ่มชื่อดังอย่าง บีม ปภังกร จากซีรีส์เรื่อง เคว้ง ได้เสียชีวิตอย่างกะทันหัน หลังจากทางครอบครัวของเขานั้นได้พยายามปลุกขณะที่กำลังนอนหลับตามปกติแต่ไม่ตื่น จึงรีบนำตัวส่งโรงพยาบาลและพยายามกู้ชีพแต่ไม่เป็นผล ซึ่งอาการในลักษณะนี้หลายคนเรียกว่า ใหลตาย และโรคนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร มีอาการยังไง ใครมีความเสี่ยง TOP News มีคำตอบแล้ว

 

 

ใหลตาย คือ

 

 

ใหลตาย คือ

ข่าวที่น่าสนใจ

“ใหลตาย คือ” โดย ศูนย์โรคหัวใจ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับ โรคใหลตาย จาก พญ.ชญานุตย์ สุวรรณเพ็ญ ว่า โรคนี้ใช้เรียกการเสียชีวิตที่เกิดจากหัวใจห้องล่างเต้นพลิ้ว (ventricular fibrillation, VF) มักพบขณะหลับทำให้เกิดอาการคล้ายหายใจไม่สะดวกอาจเกิดเสียงร้องคล้ายละเมอก่อนเสียชีวิต (ซึ่งเป็นที่มาของคำว่าใหลที่หมายถึงละเมอ) มักเกิดในผู้ชายวัยหนุ่มที่ปกติแข็งแรงดีก่อนเข้านอน แต่ต่อมาพบว่าเสียชีวิตในตอนเช้าวันถัดไป จากการศึกษาในกลุ่มผู้ป่วยที่รอดชีวิต พบว่าใหลตายมีความสัมพันธ์กับความผิดปกติของคลื่นไฟฟ้าหัวใจลักษณะบรูกาดา (Brugada pattern) โดยไม่พบความผิดปกติของโครงสร้างและการทำงานส่วนอื่น ๆ ของหัวใจ  ทางการแพทย์เรียกกลุ่มอาการนี้ว่า กลุ่มอาการบรูกาดา (Brugada syndrome)

ใหลตาย คือ

อาการเป็นอย่างไร

อาการของโรคนี้เกิดจากหัวใจที่เต้นผิดจังหวะขั้นรุนแรงที่สุด ทำให้ไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงอวัยวะส่วนต่าง ๆ โดยเฉพาะสมองได้ เมื่อสมองขาดออกซิเจนอาจแสดงอาการชักเกร็ง หายใจครืดคราดผิดปกติคล้ายนอนละเมอ เรียกไม่รู้ตัว โดยความผิดปกติมักพบในขณะนอนหลับ  ผู้ป่วยจะเสียชีวิตถ้าการเต้นผิดจังหวะของหัวใจนั้นเกิดนานพอและไม่ได้รับการรักษา แต่ผู้ป่วยอาจจะรอดชีวิตฟื้นขึ้นมาได้กรณีที่การเต้นผิดจังหวะของหัวใจหยุดเองหรือได้รับการรักษาที่เหมาะสมอันได้แก่การช็อกหัวใจหรือการปั๊มหัวใจ นอกจากใหลตายจะพบบ่อยขณะที่ผู้ป่วยหลับแล้ว ก็ยังอาจพบได้ในขณะตื่นเช่นกัน โดยอาการที่เกิดอาจเกิดอาการใจสั่นช่วงสั้น ๆ หรืออาการวูบเป็นลมหมดสติได้

ใครเป็นผู้มีความเสี่ยง

มักพบในเพศชายวัยทำงาน (อายุ 25-55ปี) แต่ก็สามารถพบได้ทั้งในเพศหญิงในเด็กหรือในผู้สูงอายุได้เช่นกันสำหรับในประเทศไทย พบมากที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และรองลงมาในภาคเหนือ

ใหลตาย คือ

จะสงสัยว่ามีความเสี่ยงต่อใหลตายเมื่อไหร่

1. ผู้ที่รอดชีวิตจากอาการใหลตาย อาจเนื่องจากอาการใหลตายหยุดเองหรือได้รับการรักษาที่ทันท่วงที

2. ผู้ที่มีญาติสายตรงเสียชีวิตเฉียบพลันโดยไม่ทราบสาเหตุแต่ลักษณะอาการเข้าได้กับใหลตาย เนื่องจากพบว่าใหลตายมีความสัมพันธ์กับความผิดปกติในหน่วยพันธุกรรมหรือยีนที่มีผลต่อการควบคุมประจุไฟฟ้าในเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจและความผิดปกตินี้อาจส่งต่อไปในญาติสายตรงของผู้ป่วยใหลตายได้

3. ผู้ที่ตรวจพบความผิดปกติของคลื่นไฟฟ้าหัวใจชนิด Brugada แม้จะไม่มีประวัติอาการใหลตายหรือประวัติครอบครัว

การรักษาทำอย่างไร

ยังไม่มีการรักษาใดที่สามารถป้องกันหรือหยุดการเกิดหัวใจเต้นผิดจังหวะได้ทั้งหมด การรักษาจึงมุ่งหวังให้เกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะน้อยครั้งที่สุด และระยะเวลาที่หัวใจเต้นผิดจังหวะแต่ละครั้งสั้นที่สุดก่อนที่ผู้ป่วยจะหมดสติหรือเสียชีวิตโดยวิธีการดังนี้

1. หลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นที่ทำให้เกิดหัวใจเต้นผิดจังหวะ อันได้แก่การดื่มแอลกอฮอล์ ภาวะตึงเครียดของร่างกาย เช่นการพักผ่อนไม่เพียงพอ ออกกำลังกายหรือทำงานหนัก การรับประทานอาหารที่มีแป้งและน้ำตาลปริมาณมาก

2. ใส่เครื่องกระตุกไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติ (automatic implantable cardioverter defibrillator, AICD)

3.  การจี้หัวใจด้วยคลื่นวิทยุความถี่สูง

ขอขอบคุณข้อมูลและภาพจาก : chulacardiaccenterthebeamishere

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

เหนือ-กลาง อากาศร้อน เจอฝนฟ้าคะนองบางแห่ง 23 จังหวัด อ่วมฝนถล่ม เสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน
"ทหารพราน" ร่วมแต่งกายชุดมลายู ส่งเสริมอัตลักษณ์ที่ดีงามในวันฮารีรายอ
ทำผิดต้องรับโทษ "รมว.อุตสาหกรรม" เตือน "ซินเคอหยวน" บริษัทจีนผลิตเหล็กอย่าเหิม กม.ไทยไม่มีหยวน
อบจ.สงขลา ร่วมพิธีทางศาสนาและทำบุญตักบาตรถวายพระราชกุศล เนื่องวันคล้ายวันพระราชสมภพ "กรมสมเด็จพระเทพฯ" และวันอนุรักษ์มรดกไทย
“อธิบดีกรมโยธาฯ” เผยอาคารที่สั่งปิดใช้งาน 34 แห่งทั่วไทย ยันไม่อันตราย ขอปชช.อย่าตื่นกลัว
"กรมโยธาธิการและผังเมือง" เปิดเวทีภาคเหนือ ระดมความเห็นทุกภาคส่วน ขับเคลื่อนผังนโยบายระดับประเทศ
คณะกรรมการและผู้บริหารองค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทย ร่วมแสดงความยินดีกับ นางจงกลนี แก้วสด รองผู้อำนวยการองค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทย (สายบริหาร) ในโอกาสได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง รักษาการแทนผู้อำนวยการองค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทย
"พิพัฒน์" นั่งหัวโต๊ะ เคาะมาตรการเยียวยา "แรงงานไทย-ต่างด้าว" เหตุแผ่นดินไหวตึก สตง.ถล่ม
"ตร.ไซเบอร์" ร่วมธ.กสิกรไทย เปิดปฏิบัติการ "ปิดบัญชี ตามล่าม้า คว้าเงินคืน" อายัดเงินส่งคืนเหยื่อแก๊งคอลฯ 2 ราย
"มนพร" กำชับตรวจคุณภาพวัสดุก่อสร้างอาคาร "สนามบินนราฯ" แจ้งผลใน 3 วัน ป.ป.ช.ลุยสอบเหตุ "ซีไอเอส" ปล่อยงานล่าช้า

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น