"อาการ โควิด Omicron" 2565 เปรียบเทียบ ไข้หวัด ไข้เลือดออก แบบนี้จะเป็นอะไรแน่ แล้วหากสงสัยว่าติดเชื้อโควิด ควรตรวจ ATK วันไหนถึงจะได้ผลแม่นยำที่สุด
ข่าวที่น่าสนใจ
จากการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับ “อาการ โควิด Omicron” (โอมิครอน หรือ โอไมครอน) ตั้งแต่ช่วงที่เริ่มระบาดใหม่ ๆ ในปลายปีที่ผ่านมา กรมการแพทย์ ได้เปิดเผยถึงลักษณะอาการป่วยของผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่พบว่ามีอาการ ดังนี้
- ไอ 54%
- เจ็บคอ 37%
- ไข้ 29%
- ปวดกล้ามเนื้อ 15%
- มีน้ำมูก 12%
- ปวดศีรษะ 10%
- หายใจลำบาก 5%
- ได้กลิ่นลดลง 2%
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เตือน “อาการ โควิด Omicron” ดังต่อไปนี้ มีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อ คือ
- แรกเริ่มมีน้ำมูก จาม ปวดหัว
- ต่อมา อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ เจ็บคอ
- บางคนมีเหงื่อออกตอนกลางคืน
สำหรับผู้ไปพื้นที่เสี่ยง แม้ฉีดวัคซีนครบโดส ก็ไม่ควรประมาท ให้หมั่นสังเกตอาการตนเอง หากไม่ดีขึ้น ให้รีบพบแพทย์
ไข้หวัดใหญ่
เกิดจากการติดเชื้อไวรัสอินฟลูเอนซา (Influenza Virus) อาการโดยทั่วไป มักจะไม่รุนแรง ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ปัจจุบันได้กลายเป็นไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาลที่พบปะปนกับสายพันธุ์ต่าง ๆ ทั่วไป อาการทั่วไปคล้ายกับ โควิด โอมิครอน หรือ โอไมครอน ค่อนข้างมาก
- มีไข้สูง (เกิน 38 องศาฯ)
- ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อมาก
- ปวดศีรษะ
- อ่อนเพลีย
- หนาวสั่น
- เบื่ออาหาร
- คัดจมูก
- น้ำมูกใส
- ไอแห้ง
- คลื่นไส้ (บางราย)
- อาเจียน (บางราย)
ทั้งนี้ โรคไข้หวัดใหญ่สามารถป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีนปีละ 1 ครั้ง
ไข้เลือดออก
โรคไข้เลือดออก (dengue hemorrhagic fever) เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเดงกี (dengue virus) โดยมียุงลายเป็นพาหะนำโรค พบในประเทศเขตร้อนและระบาดในช่วงฤดูฝนของทุกปี ปัจจุบันยังไม่มียาต้านเชื้อไวรัสสำหรับโรคไข้เลือดออก การรักษาจึงเป็นไปตามอาการ แต่ห้ามใช้ แอสไพริน (Aspirin) , ไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) ถ้าผู้ป่วยรับประทานอาหารได้น้อย อาจให้ดื่มนม นํ้าผลไม้ หรือนํ้าเกลือแร่ร่วมด้วย
- มีไข้สูงแบบเฉียบพลัน และต่อเนื่อ (2 – 7 วัน)
- ปวดศีรษะ
- ปวดเมื่อยตามตัว
- อาจมีจุดแดงเล็ก ๆ ขึ้นตามลำตัว แขน ขา
- ไม่ไอ
- ไม่มีน้ำมูก
- คลื่นไส้
- อาเจียน
- ปวดท้อง
- เบื่ออาหาร
หากอาการไข้ลดลงอย่าเพิ่งวางใจ เพราะอาจจะทำให้เกิดภาวะช็อกจนกระทั่งเสียชีวิตได้ หรือหากมีไข้สูงต่อเนื่องกว่า 2 วัน แม้จะเช็ดตัวหรือทานยาลดไข้แล้วก็ไม่ดีขึ้น ให้สงสัยว่าเป็นไข้เลือดออกไว้ก่อน และรีบพบแพทย์
ผู้มีประวัติเสี่ยง ควรตรวจ ATK วันไหน นับจากวันที่มีความเสี่ยงได้รับเชื้
- ข้อมูล กรมควบคุมโรค เผยว่า ระยะฟักเชื้อของโควิด สายพันธุ์โอมิครอน หรือสายพันธุ์โอไมครอน จะอยู่ที่ 5 – 14 วัน นับจากวันที่ติดเชื้อจนถึงมีอาการ
- หากนับจากวันที่สันนิษฐานว่าได้รับเชื้อมา ส่วนใหญ่ในช่วง 10 วันแรก การตรวจ ATK จะไม่พบเชื้อ
- ส่วนระยะที่ตรวจ ATK แล้วมีโอกาสพบเชื้อมากที่สุด คือ ช่วงวันที่ 11 หลังจากที่สันนิษฐานว่ารับเชื้อ
สรุป ผู้มีประวัติสัมผัสกับผู้ป่วย โควิด-19 ในกรณีที่ทราบวันที่มีความเสี่ยงแน่นอน จะต้องเฝ้าติดตามอาการหลังจากนั้นไป 14 วัน และตรวจ ATK ในช่วงวันที่ 11 – 14 จะได้ผลการตรวจที่ค่อนข้างแม่นยำ
กลุ่มผู้มีอาการเข้าข่ายสงสัยว่าติดเชื้อโควิด
- สำหรับผู้ที่มีอาการป่วยใกล้เคียงกับอาการโควิดตามที่กระทรวงสาธารณสุขระบุไว้ ควรตรวจ ATK ทันทีหลังมีอาการไม่เกิน 7 วัน เนื่องจากเป็นระยะที่ตรวจ ATK และได้ผลแม่นยำที่สุดนั่นเอง
ข่าวที่เกี่ยวข้อง