เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2565 ที่ผ่านมา นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน มอบหมายให้ นางธิวัลรัตน์ อังกินันทน์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ลงพื้นที่มอบสิทธิประโยชน์ให้แก่ทายาท ของลูกจ้างแรงงานต่างด้าวชาวเมียนมาที่ประสบอุบัติเหตุเสียชีวิตให้ได้รับสิทธิประโยชน์ความคุ้มครองตามกฎหมายประกันสังคมเท่าเทียมกับแรงงานไทย โดยมี หัวหน้าส่วนราชการสังกัดกระทรวงแรงงานจังหวัดเพชรบุรี ร่วมลงพื้นที่ด้วย ณ วัดบ้านท่า ตำบลบางเก่า อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี
รมว.เฮ้ง ห่วงใย ส่ง‘ที่ปรึกษา’รุดมอบเงินแก่ทายาทต่างด้าวประสบอุบัติเหตุเสียชีวิตที่เพชรบุรี คุ้มครองสิทธิประโยชน์เท่าเทียมแรงงานไทย
ข่าวที่น่าสนใจ
นางธิวัลรัตน์ กล่าวว่า จากกรณีที่ลูกจ้างแรงงานต่างด้าวสัญชาติเมียนมาประสบอุบัติเหตุรถชนที่บริเวณถนนเพชรเกษม อำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรีเมื่อช่วงเช้าวันที่ 24 มีนาคมที่ผ่านมา จากการตรวจสอบเบื้องต้น ทราบชื่อผู้เสียชีวิต คือ นาง kyi aye เป็นคนงานต่างด้าวชาวเมียนมา ซึ่งเป็นลูกจ้างของนายสมพงษ์ ป้านทอง ขณะนี้ ญาติได้ตั้งศพบำเพ็ญกุศลที่วัดบ้านท่า ตำบลบางเก่า อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี ผู้เสียชีวิตมีบุตร 3 คน สามีได้เสียชีวิตไปแล้ว จากการตรวจสอบของสำนักงานประกันสังคมจังหวัดเพชรบุรี สาขาชะอำ ผู้เสียชีวิตเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 จะได้รับสิทธิประโยชน์กรณีเสียชีวิตเป็นค่าทำศพ 50,000 บาท เงินสงเคราะห์กรณีตาย 15,860 เงินชราภาพ 18,167.70 ไม่รวมดอกผล รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 84,027.70 บาท
นางธิวัลรัตน์ กล่าวต่อว่า รัฐบาลภายใต้การนำของท่าน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและ รมว.กลาโหม และการกระทรวงแรงงานภายใต้การกำกับดูแลของ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีได้มีความห่วงใยแรงงานต่างด้าวทุกคนที่เข้ามาทำงานในประเทศไทยและกำชับให้กระทรวงแรงงาน ให้ความคุ้มครองตามหลักสิทธิมนุษยชน ในวันนี้ ท่านสุชาติ ชมกลิ่น รมว.แรงงาน จึงได้มอบหมายให้ตน ลงพื้นที่มามอบสิทธิประโยชน์ให้แก่ทายาท ของลูกจ้างแรงงานต่างด้าวชาวเมียนมาที่ประสบอุบัติเหตุเสียชีวิตให้ได้รับสิทธิประโยชน์ความคุ้มครองตามกฎหมายประกันสังคมเท่าเทียมเฉกเช่นเดียวกับแรงงานไทยทุกประการ ซึ่งกระทรวงแรงงาน โดยสำนักงานประกันสังคม จะได้ให้การดูแลเยียวยาลูกจ้างและทายาทในกรณีที่ประสบอันตรายจากการทำงานหรือเสียชีวิตให้ได้การดูแลคุ้มครองผู้ประกันตนต่างด้าว ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีและได้รับสิทธิประโยชน์เท่าเทียมกับแรงงานไทยทุกประการตามหลักสิทธิมนุษยชน เพราะแรงงานทุกคนที่เข้ามาทำงานในประเทศไทย ก็เป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศอีกด้วย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
-