สั่งดูแลระบบนิเวศปากแม่น้ำตรัง

“วราวุธ”สั่งบูรณาการแก้ปัญหาขุดลอกปากแม่น้ำตรังกำชับต้องไม่กระทบระบบนิเวศแหล่ง “หญ้าทะเล” อาหารฝูงพะยูน200ตัว ย้ำนโยบาย ทส.รักษาสมดุลแห่งการพัฒนาคู่ขนานรักษาทรัพยากรทางทะเลอย่างยั่งยืน

เมื่อวันที่ 26 มี.ค. 2565 นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เปิดเผยว่าได้สั่งการนายโสภณ ทองดี อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง จัดทีมนักวิชาการและนักดำน้ำสำรวจพื้นที่และผลกระทบที่เกิดขึ้นอย่างละเอียดเพื่อช่วยแก้ไขปัญหา กรณีการขุดลอกปากแม่น้ำตรัง เมื่อปี 2562 – 2563 เพื่อขยายร่องน้ำให้เรือขนส่งสามารถเดินทางได้สะดวกขึ้น แต่ผลกระทบจากการขุดลอกกลับส่งผลให้เกิดการฟุ้งของตะกอนทรายและเกิดการทับถมบริเวณแหล่งหญ้าทะเลเสียหายจำนวนมาก ระบบนิเวศทางทะเลเกิดผลกระทบต่อเนื่องในทางลบ อีกทั้ง บริเวณดังกล่าวเป็นแหล่งอาศัยสำคัญของพะยูน สัตว์สงวนตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 ซึ่งในพื้นที่ดังกล่าวพบพะยูนอาศัยอยู่กว่า 200 ตัว หากแหล่งหญ้าทะเลเสียหายผลกระทบต่าง ๆ จะเกิดขึ้นกับพะยูนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เหตุผลกระทบของการขุดลอกปากแม่น้ำ สรุปว่า เกิดจากขาดการศึกษาผลกระทบก่อนการดำเนินงาน การไม่ได้ติดตั้งตะแกรงป้องกันการฟุ้งของตะกอนระหว่างการดำเนินงาน และการเตรียมความพร้อมพื้นที่ทิ้งตะกอนหลังจากดำเนินการขุดลอกแล้ว ซึ่งผลกระทบดังกล่าวทำให้โครงการเกิดการชะงัก ซึ่งงานนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นกรมเจ้าท่าในฐานะเจ้าของโครงการขุดลอก และกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง หน่วยงานผู้มีหน้าที่โดยตรงในการดูแลรักษาทรัพยากรได้หารือร่วมกันสรุปได้ว่า ข้อมูลผลการศึกษามีหลายประเด็นยังไม่ชัดเจน รวมถึง พื้นที่ทิ้งตะกอนเตรียมไว้ไม่เพียงพอ


OLYMPUS DIGITAL CAMERA

หากอัตราความเพิ่มขึ้นของเงิน สวนทางกับความสมบูรณ์ของทรัพยากร ความยั่งยืนย่อมไม่เกิด ทรัพยากรธรรมชาติพัง เศรษฐกิจย่อมเดินหน้ายาก การส่งเสริมอุตสาหกรรมอย่างสุดโต่งโดยไม่คำนึงถึงทรัพยากรธรรมชาติ นับเป็นการกระทำที่ไม่ชาญฉลาดเลย” รมว.ทส. กล่าว

นายวราวุธ กล่าวว่า ในปี 2565 กรมเจ้าท่า ได้เตรียมเดินหน้าโครงการขุดลอกร่องน้ำบริเวณปากแม่น้ำตรังอีกครั้ง เพื่อช่วยสนับสนุนการเดินเรือและการพัฒนาภาคธุรกิจแถบภาคใต้ โดยครั้งนี้จะมีการขยายพื้นที่เพิ่มขนาดความกว้างของร่องน้ำจากเดิม 60 เมตร เป็น 90 เมตร และความลึกมากกว่าเดิม 1 – 2 เมตร ซึ่งหลายฝ่ายให้ขอให้ศึกษาผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นได้เรียบร้อยก่อน พร้อมกำชับให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องศึกษาถึงผลกระทบ และต้องให้ประชาชนในพื้นที่ได้รับรู้และมีส่วนร่วมในการตัดสินใจด้วย โดยมี นางสาวกัญจนา ศิลปอาชา ในฐานะที่ปรึกษาคณะทำงานยุทธศาสตร์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จะยกทีมคณะทำงานและผู้เชี่ยวชาญลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์แหล่งหญ้าทะเลบริเวณปากแม่น้ำตรังและบริเวณเกาะลิบง จังหวัดตรัง พร้อมเตรียมหารือกับชาวบ้านในพื้นที่และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อร่วมกันหาแนวทางการแก้ไขปัญหาการเสื่อมโทรมของแหล่งหญ้าทะเล และระบบนิเวศทางทะเล

 


นายวราวุธ กล่าวว่า ทรัพยากรธรรมชาติ คือ ต้นทุนแห่งการขับเคลื่อนภาคอุตสาหกรรมด้วยเช่นกัน การมุ่งพัฒนาเศรษฐกิจอย่างไม่คำนึงถึงศักยภาพของทรัพยากรธรรมชาติ ย่อมไม่เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งในปัจจุบันหลายฝ่ายเริ่มวิตกกับแนวทางการฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังวิกฤติการแพร่ระบาดโรคโควิด-19 ที่ทั่วโลกต่างยกแผนพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อจัดการปัญหาเหล่านี้ รวมถึงประเทศไทย ที่ล่าสุดได้ประกาศแผนแก้ไขปัญหาความยากจน โดยรัฐบาลพยายามผนวกการดำเนินงานในทุกด้านเพื่อแก้ไขปัญหาการทรุดตัวของเศรษฐกิจของประเทศ แต่ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายอย่าลืมเรื่องความสมดุลของใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืนและสมดุล และคงต้องถอดบทเรียนจากเหตุการณ์ที่ผ่านมาในอดีตอย่างจริงจัง

ข่าวที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

“เอกภพ” ได้ประกันตัว ปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา ปมให้ข้อมูลเท็จดิไอคอน จ่อฟ้องกลับ
สามเชฟดังร่วมรังสรรค์เมนูเพื่อการกุศลทางการแพทย์
"ทนายบอสพอล" เผยเป็นไปตามคาด "เอก สายไหม" ถูกจับ จ่อดำเนินคดีหมิ่นประมาท เรียกค่าเสียหาย 100 ล้าน
ศาลออกหมายจับ 'เจ๊หนิง' พร้อมสามีและหลาน ร่วมกันแจ้งความเท็จ 'ภรรยาบิ๊กโจ๊ก'
อิสราเอลถล่มเลบานอนดับครึ่งร้อย
หมายจับ ICC กระทบอิสราเอลอย่างไร
เปิดวิสัยทัศน์ประธานเครือข่ายธุรกิจ Bizclub นครราชสีมาคนใหม่ “กิม ฐิติพรรณ จันทร์ประทักษ์”
เกาหลีใต้ชี้รัสเซียส่งระบบป้องกันภัยทางอากาศให้เกาหลีเหนือ
สหรัฐเมินไฮเปอร์โซนิครัสเซียลั่นไม่หยุดหนุนยูเครน
เมียเอเย่นต์ค้ายาบ้า ร้องถูกตร.รีด 5 แสน แลกปล่อยตัว พ่วงเรียกเก็บเงินรายเดือน

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น