“นิด้าโพล” ชี้ ปชช.ยังหาคนที่เหมาะสม นั่งนายกฯไม่ได้ขึ้นอันดับ 1

"นิด้าโพล" ชี้ ปชช.ยังหาคนที่เหมาะสมนั่งนายกฯไม่ได้ขึ้นอันดับ 1 ขณะพิธา อันดับ 2 บิ๊กตู่มาที่ 3 อุ้งอิ๊ง ติดโผอันดับ 4 ขณะที่ประชาชนไม่ตัดสินใจหนุนพรรคการเมืองขึ้นที่ 1

ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “การสำรวจคะแนนนิยมทางการเมือง รายไตรมาส ครั้งที่ 1/2565” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 10-15 มีนาคม 2565 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 2,020 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับการสำรวจคะแนนนิยมทางการเมือง การสำรวจอาศัย การสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 97.0

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

จากการสำรวจเมื่อถามถึงบุคคลที่ประชาชนจะสนับสนุนให้เป็นนายกรัฐมนตรีในวันนี้ พบว่า อันดับ 1 ร้อยละ 27.62 ระบุว่า ยังหาคนที่เหมาะสมไม่ได้ อันดับ 2 ร้อยละ 13.42 ระบุว่าเป็น นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ (พรรคก้าวไกล) เพราะ เป็นคนตรงไปตรงมา ชื่นชอบในวิธีการทำงาน มีวิสัยทัศน์และแนวคิดแบบคนรุ่นใหม่ ขณะที่บางส่วนระบุว่า ต้องการให้คนรุ่นใหม่เข้ามาบริหารประเทศ อันดับ 3 ร้อยละ 12.67 ระบุว่าเป็น พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เพราะ เป็นคนซื่อสัตย์และสุจริต ทำให้บ้านเมืองเกิดความสงบ นโยบายสามารถช่วยเหลือประชาชนได้จริง ขณะที่บางส่วนระบุว่า จะได้บริหารประเทศอย่างต่อเนื่อง อันดับ 4 ร้อยละ 12.53 ระบุว่าเป็น น.ส.แพทองธาร (อุ๊งอิ๊งค์) ชินวัตร (พรรคเพื่อไทย) เพราะ ต้องการเปิดโอกาสให้คนรุ่นใหม่เข้ามาบริหารประเทศ ชื่นชอบผลงานในอดีตของตระกูลชินวัตร อันดับ 5 ร้อยละ 8.22 ระบุว่าเป็น คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ (พรรคไทยสร้างไทย) เพราะ ชื่นชอบนโยบาย มีประสบการณ์ในการบริหารประเทศ อันดับ 6 ร้อยละ 7.03 ระบุว่าเป็น พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส (พรรคเสรีรวมไทย) เพราะ เป็นคนชัดเจน เด็ดขาด ตรงไปตรงมา มีความมุ่งมั่นในการทำงาน อันดับ 7 ร้อยละ 3.96 ระบุว่าเป็น นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว (พรรคเพื่อไทย) เพราะ เป็นคนเก่ง ตรงไปตรงมา และตั้งใจทำงาน

อันดับ 8 ร้อยละ 3.61 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ อันดับ 9 ร้อยละ 2.77 ระบุว่าเป็น นายกรณ์ จาติกวณิช (พรรคกล้า) เพราะ เป็นคนที่มีความรู้ ความสามารถ มีความเชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจ ขณะที่บางส่วนระบุว่า เป็นผู้ที่ได้รับการยอมรับจากต่างชาติ อันดับ 10 ร้อยละ 2.58 ระบุว่าเป็น นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ (พรรคประชาธิปัตย์) เพราะ เป็นคนที่มีความซื่อสัตย์ บริหารงานอย่างตรงไปตรงมา และตั้งใจทำงาน และร้อยละ 5.59 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ นายอนุทิน ชาญวีรกูล (พรรคภูมิใจไทย) นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์ ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ น.ส.กัญจนา ศิลปอาชา (พรรคชาติไทยพัฒนา) พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ (พรรคพลังประชารัฐ) นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม (พรรคไทยภักดี) นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา (พรรคประชาชาติ) นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (พรรคประชาธิปัตย์) นายเทวัญ ลิปตพัลลภ (พรรคชาติพัฒนา) และนายมงคลกิตติ์ สุขสินธารานนท์ (พรรคไทยศรีวิไลย์)

และเมื่อเปรียบเทียบกับผลการสำรวจคะแนนนิยมทางการเมือง รายไตรมาส ครั้งที่ 4/64 เดือนธันวาคม 2564 พบว่า ผู้ที่ระบุว่า ยังหาคนที่เหมาะสมไม่ได้ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา และไม่ตอบ/ไม่สนใจ มีสัดส่วนลดลง ในขณะผู้ที่ระบุว่า นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ (พรรคก้าวไกล) น.ส.แพทองธาร (อุ๊งอิ๊งค์) ชินวัตร (พรรคเพื่อไทย) คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ (พรรคไทยสร้างไทย) พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส (พรรคเสรีรวมไทย) นพ. ชลน่าน ศรีแก้ว (พรรคเพื่อไทย) นายกรณ์ จาติกวณิช (พรรคกล้า) และนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ (พรรคประชาธิปัตย์) มีสัดส่วนเพิ่มขึ้น

 

ท้ายที่สุด เมื่อถามถึงพรรคการเมืองที่ประชาชนจะสนับสนุนในวันนี้ พบว่า อันดับ 1 ร้อยละ 28.86 ระบุว่า ไม่สนับสนุนพรรคการเมืองใดเลย อันดับ 2 ร้อยละ 25.89 ระบุว่า พรรคเพื่อไทย อันดับ 3 ร้อยละ 16.24 ระบุว่า พรรคก้าวไกล อันดับ 4 ร้อยละ 7.97 ระบุว่า พรรคประชาธิปัตย์ อันดับ 5 ร้อยละ 7.03 ระบุว่า พรรคพลังประชารัฐ อันดับ 6 ร้อยละ 2.28 ระบุว่า พรรคเสรีรวมไทย อันดับ 7 ร้อยละ 2.18 ระบุว่า พรรคไทยสร้างไทย อันดับ 8 ร้อยละ 2.03 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ อันดับ 9 ร้อยละ 1.88 ระบุว่า พรรคภูมิใจไทย อันดับ 10 ร้อยละ 1.83 ระบุว่า พรรคกล้า และร้อยละ 3.81 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ พรรคเพื่อชาติ พรรคชาติไทยพัฒนา พรรคไทยภักดี พรรคเศรษฐกิจใหม่ พรรคสร้างอนาคตไทย พรรคชาติพัฒนา พรรคประชาชาติ พรรครวมไทยสร้างชาติ พรรครวมพลังประชาชาติไทย และพรรคเศรษฐกิจไทย และเมื่อเปรียบเทียบกับผลการสำรวจคะแนนนิยมทางการเมือง รายไตรมาส ครั้งที่ 4/64 เดือนธันวาคม 2564 พบว่า ผู้ที่ระบุว่าไม่สนับสนุนพรรคการเมืองใดเลย พรรคพลังประชารัฐ และพรรคเสรีรวมไทย มีสัดส่วนลดลง ในขณะผู้ที่ระบุว่า พรรคเพื่อไทย พรรคก้าวไกล พรรคประชาธิปัตย์ พรรคไทยสร้างไทย ไม่ตอบ/ไม่สนใจ พรรคภูมิใจไทย และพรรคกล้า มีสัดส่วนเพิ่มขึ้น

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"สันติสุข" กางภาพชัดๆ ยืนกราน ไม่มีใครสั่ง ห้าม Top news เสนอข่าว MOU 44
"ชัยยะ อังกินันทน์" รักษาเก้าอี้ นายกอบจ.เพชรบุรี ได้อีกสมัย คะแนนนำขาด
อิสราเอลยกระดับเตือนพลเมืองในไทย
อุตุฯ เตือน ไทยตอนบนอุณหภูมิสูงขึ้น ภาคใต้ 10 จว.ฝนถล่มหนัก เสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก
ฉีกทุกตำราการเมือง “น้ำ”วาริน ชิณวงศ์ โค่นแชมป์เก่า“กนกพร เดชเดโช อดีตนายก อบจ.นครศรีธรรมราช นั่ง นายก อบจ.เมืองคอนคนใหม่-คนเมืองนครเทใจ ฝ่าสายฝนไปลงคะแนนท่วมท้นกว่า 3.25 แสนคะแนน
ชลบุรี หนุ่มโรงงานหัวร้อน อ้างถูกเพื่อนร่วมงานไม่ให้เกียรติก่อนกลับบ้าน คว้าปืนมายิงกลางร้านอาหาร
เพื่อไทยประกาศชัยชนะ เลือกตั้งนายกอบจ.อุดรธานี "ศราวุธ" คะแนนทิ้งห่าง "คณิศร" จากพรรคปชน.
เลือกตั้งนายกอบจ.นครศรีธรรมราช “น้ำ วาริน” คะแนนนำ “กนกพร” โค่นแชมป์เก่า
เล็ก ฝันเด่น มอบสิ่งของที่มีสารไอโอดีนให้ ทรภ.1 นำสู่น้อง ๆ สู่พื้นที่ภาคเหนือ
รพ.สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ จัดงานวันเบาหวานโลก “World Diabetes Day 2024”

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น