"ติดเชื้อ โควิด" ต้องจับตากลุ่มเสี่ยง ยาโมลนูพิราเวียร์ เข้าไทย 2 ล้านเม็ด ใช้ได้สำหรับคนเพียง 5 หมื่นคน หมอมนูญ ยกเคส กัมพูชาก้าวหน้ากว่าไทย
ข่าวที่น่าสนใจ
หมอมนูญ โพสต์ระบุ ในขณะนี้ ยาโมลนูพิราเวียร์ มีข้อบ่งชี้ให้เฉพาะผู้ “ติดเชื้อ โควิด” ที่มีความเสี่ยงที่จะเกิดอาการรุนแรง คือ
- ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป
- คนที่มีโรคประจำตัวเรื้อรัง เช่น
- อ้วน
- เบาหวาน
- โรคหัวใจและหลอดเลือด
- ไตเรื้อรัง
- ภูมิต้านทานร่างกายต่ำ เป็นต้น
- ฉีดวัคซีนยังไม่ครบ คือ
- ยังไม่ได้ฉีดเลย
- ฉีดเข็มเดียว
- หรือยังไม่ได้เข็มกระตุ้น
“เริ่มให้กับคนที่อาการน้อยถึงปานกลางภายในเวลา 5 วัน นับตั้งแต่เริ่มมีอาการ ยานี้ลดความเสี่ยงการนอนโรงพยาบาลหรือเสียชีวิตร้อยละ 30 ห้ามให้กับหญิงตั้งครรภ์ แม่ให้นมบุตร และเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี”
หมอมนูญ โพสต์ระบุยกเคส “ติดเชื้อ โควิด” ผู้ป่วยหญิง อายุ 70 ปี เป็นโรคข้อกระดูกสันหลังอักเสบชนิดติดยึด (Ankylosing Spondylitis) ฉีดยายับยั้งทีเอ็นเอฟ (TNF Blockers) Infliximab (Remicade) และกินยา Salazopyrin ไดัรับวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า 2 เข็ม เดือนกรกฎาคมและกันยายน 2564 กระตุ้นด้วยวัคซีนไฟเซอร์ 1 เข็ม เดือนธันวาคม 2564
- วันที่ 13 มีนาคม 2565ไปร่วมงานแต่งงาน หลังจากนั้น 2 วันเริ่มมีไข้ต่ำ ๆ ไม่ไอ ไม่เจ็บคอ ไม่มีน้ำมูก จมูกได้กลิ่น ลิ้นได้รส ไม่ท้องเสีย
ตรวจ ATK วันที่ 15 มีนาคม ให้ผลบวก
- เริ่มกินยาฟ้าทะลายโจร วันที่ 18 มีนาคม ยังมีไข้ 37.5 องศาเซลเซียส เริ่มไอมากขึ้น มีเสมหะ มีน้ำมูก ไม่เหนื่อย วัดระดับออกซิเจนที่ปลายนิ้วปกติ ตรวจ RT-PCR ยืนยัน ให้ผลบวก
- วันที่ 20 มีนาคม 2565 หยุดยาฟ้าทะลายโจร เริ่มยาโมลนูพิราเวียร์เนื่องจากเป็นคนสูงอายุ เป็นโรคข้อกระดูกสันหลังอักเสบชนิดติดยึด กินและฉีดยากดภูมิ มีปัจจัยเสี่ยงทำให้มีโอกาสป่วยรุนแรง
“ให้ยาภายใน 5 วันหลังเริ่มมีอาการ โดยให้กินยาที่บ้าน 4 เม็ด เช้า 4 เม็ด เย็น ติดต่อกัน 5 วัน ไอดีขึ้น เสมหะน้อยลง ไม่มีไข้ หลังกินยาโมลนูพิราเวียร์ และไม่มีผลข้างเคียงจากยา”
ก่อนหน้านี้ หมอมนูญ โพสต์เรื่องที่คนไข้ชาวเขมรเล่าให้ฟัง ระบุ ผู้ป่วยชาย อายุ 42 ปี ป่วยเป็นโรคโควิด-19 ไปหาแพทย์ที่โรงพยาบาลในประเทศกัมพูชา เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2565 แพทย์ที่นั่นจ่ายยาโมลนูพิราเวียร์ นำเข้าจากประเทศอินเดีย (ดูรูป)
ให้กินเช้า 4 เม็ด เย็น 4 เม็ด นาน 5 วัน อาการดีขึ้น เขาจ่ายเงินค่ายา คิดเป็นเงินไทย 1,500 บาท ยานี้ผลิตในประเทศอินเดีย ราคาขาย 2,000 รูปี คิดเป็นเงินไทย 878 บาท (ดูรูป)
“ในกัมพูชาสามารถซื้อยาโมลนูพิราเวียร์ตามร้านขายยา ในโรงพยาบาล ตั้งแต่ต้นปี 2565 และแพทย์ที่นั่นไม่ให้ยาฟาวิพิราเวียร์แล้ว ประเทศกัมพูชาก้าวหน้ากว่าไทยเรื่องการใช้ยาต้านไวรัสรักษาโรคโควิด-19”
ข่าวที่เกี่ยวข้อง