"เชื้อราย่อยพลาสติก" เรื่องจริงไม่อิงนิยาย หลังนักวิทายศาสตร์จีนพบเชื้อราชนิดหนึ่ง สามารถย่อยสลายได้อย่างมีประสิทธิภาพภายใน 2 สัปดาห์เท่านั้น
ข่าวที่น่าสนใจ
“เชื้อราย่อย พลาสติก” เมื่อวันที่ 26 มีนาคมที่ผ่านมา คณะนักวิจัยจากสถาบันสมุทรศาสตร์ สังกัดสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์จีน ค้นพบเชื้อราชนิดหนึ่งในทะเล ซึ่งสามารถย่อยสลายพลาสติกพอลิเอทิลีน (polyethylene) และพลาสติกชนิดอื่น ๆ โดยพลาสติกบางชนิดสามารถย่อยสลายเป็นเศษชิ้นส่วนได้ในเวลาเพียง 2 สัปดาห์เท่านั้น
คณะวิจัยดังกล่าว ได้รวบรวมขยะพลาสติกกว่า 1,000 ชิ้น ตั้งแต่ปี 2016 ที่ผ่านมา พบเชื้อราในตัวอย่างพลาสติก 1 รายการ ซึ่งมีความสามารถในการทำให้พลาสติกหดตัว เปลี่ยนสี และย่อยสลายเป็นเศษเล็กเศษน้อยในเวลาประมาณ 4 เดือน ซุนเชาหมิน หัวหน้าคณะวิจัยดังกล่าวว่า เชื้อราดังกล่าวได้รับการยืนยันแล้วว่ามีประสิทธิภาพการย่อยสลายราวร้อยละ 95 และไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม
ทั้งนี้ คณะนักวิจัย ได้ปรับปรุงสภาพการเพาะเลี้ยงเชื้อราดังกล่าว และพบว่า เชื้อราตัวนี้ สามารถย่อยสลายพลาสติกพอลิเอสเตอร์ พอลิยูรีเทน (Polyester polyurethane) และพลาสติกชีวภาพเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยภายในเวลา 2 สัปดาห์เท่านั้น
ล่าสุด คณะวิจัยได้ยื่นขอจดสิทธิบัตรระดับประเทศสำหรับผลการศึกษานี้แล้ว นอกจากนี้ ซุนยังได้คาดการณ์ว่าทุกปี จะมีขยะพลาสติกไหลลงสู่มหาสมุทรมากกว่า 8 ล้านตัน และกลายเป็นอนุภาคพลาสติกขนาดเล็ก (microplastics) เข้าสู่ห่วงโซ่อาหารของโลก ซึ่งส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศทางทะเล และเชื้อราในทะเลนี้ ถือเป็นความหวังในการย่อยสลายพลาสติก และอาจเป็นวิธีใหม่ในการแก้ปัญหามลพิษพลาสติกทั่วโลกได้อีกด้วย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง