"ภาวะ มิส ซี" MIS-C ภาวะการอักเสบในอวัยวะทั่วร่างกายในเด็กหลังป่วย โควิด จะมีอาการไหนเข้าข่ายบ้าง สังเกตให้ดีแล้วควรพบแพทย์ รีบเช็คก่อนได้ที่นี่เลย
ข่าวที่น่าสนใจ
“ภาวะ มิส ซี” เป็นอีกหนึ่งอาการป่วยที่คลายความกังวลไปไม่ได้ โดยภาวะมิสซี (MIS-C ) นี้ ข้อมูลจาก สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข นายแพทย์อดิศัย ภัตตาตั้ง ผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กล่าวว่า กลุ่มอาการมิสซี เริ่มมีการรายงานครั้งแรกเมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2563 ที่ประเทศอังกฤษ หลังจากนั้นมีรายงานที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ส่วนใหญ่พบในเด็กผู้ชายมากกว่าเด็กผู้หญิง พบได้ในเด็กทุกกลุ่มอายุ อายุโดยเฉลี่ย 8-10 ปี อุบัติการณ์ประมาณร้อยละ 0.03 ของผู้ป่วยเด็กที่ติดเชื้อโควิดทั้งหมด ผู้ป่วยเด็กมากกว่าร้อยละ 50 จำเป็นต้องรักษาในหอผู้ป่วยเด็กวิกฤตเนื่องจากภาวะช็อก ภาวะนี้มีอันตรายถึงชีวิตได้ อัตราการเสียชีวิตอยู่ที่ประมาณร้อยละ 3 สามารถรักษาด้วยการให้อิมมูโนกลอบูลินและสเตียรอยด์ ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักตอบสนองต่อการรักษาดี
และต่อมาทางด้าน ศูนย์ข้อมูล COVID-19 ได้ข้อมูลความรู้ว่า MIS-C หรือ โรค Multisystem Inflammatory Syndrome in Children เป็นภาวะการอักเสบในอวัยวะทั่วร่างกาย มักพบในเด็กที่มีประวัติการติดเชื้อโควิด-19 ในช่วง 2 – 4 สัปดาห์หลังการรักษาตัว สาเหตุเกิดจากการตอบสนองระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายที่สูงผิดปกติ
วิธีสังเกตอย่างไรว่าลูกน้อยเข้าข่ายอาการ มิสซี (MIS-C)
- มีไข้สูง
- ผื่น ตาแดง ปากหรือลิ้นแดง มือเท้าบวมแดง ต่อมน้ำเหลืองที่คอโต
- ถ่ายเหลว ปวกท้อง อาเจียน
- ความดันโลหิตต่ำ ปอดอักเสบ มีอาการชัก เป็นต้น
หากเด็กติดโรคโควิด-19 ผู้ปกครองควรเฝ้าระวังอาการต่อเนื่องอย่างน้อย 2 – 4 สัปดาห์ หากมีอาการดังกล่าวควรมาพบแพทย์ทันที และแจ้งว่ามีประวัติโรคโควิด-19 มาก่อน เพราะอาการดังกล่าวต้องได้รับการรักษาที่จำเพาะ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
-