"Aphasia" โรคอะไร? ทำไมถึงส่งผลต่อการทำงานของดาราชื่อดังถึงขนาดต้องออกจากวงการ แล้วเกิดจากสาเหตุอะไร? หาคำตอบได้ที่นี่
ข่าวที่น่าสนใจ
“Aphasia” หรือ ภาวะบกพร่องทางการสื่อความ เป็นความผิดปกติทางการสื่อสาร จากการที่สมองได้รับความเสียหายจากเส้นเลือดในสมองแตกหรือการได้รับบาดเจ็บบริเวณศีรษะ ทำให้ผู้ป่วยมีความผิดปกติในด้านทักษะของการสื่อสารและการใช้ภาษา จนไม่สามารถโต้ตอบหรือทำความเข้าใจได้ นอกจากจะส่งผลต่อการสื่อสารแล้ว โรคนี้ยังอาจส่งผลต่อการอ่านและการเขียนได้อีกด้วย
ภาวะบกพร่องทางการสื่อความ ความรุนแรงมักจะขึ้นอยู่กับความเสียหายที่สมองได้รับ โดยสามารถแบ่งออกได้ 4 รูปแบบ ดังนี้
- บกพร่องด้านความเข้าใจ
- บกพร่องด้านการพูด
- บกพร่องในการพูดทวนซ้ำ
- บกพร่องทั้งด้านการพูดและการทำความเข้าใจ
ภาวะบกพร่องทางการสื่อความแบบที่สามารถสื่อสารได้
- เกิดจากส่วนกลางของสมองซีกซ้ายได้รับความเสียหาย
- ผู้ป่วยสามารถพูดได้ปกติ แต่ไม่เข้าใจในสิ่งที่ผู้อื่นพูด หรือใช้ภาษาได้เหมาะสม
ภาวะบกพร่องทางการสื่อความแบบที่ไม่สามารถสื่อสารได้
- เกิดจากส่วนหน้าของสมองซีกซ้ายได้รับความเสียหาย
- ทำให้มีปัญหาด้านการสื่อสาร สามารถพูดได้แค่ประโยคสั้น ๆ อาจลืมคำบางคำในประโยค
- ไม่เข้าใจสิ่งที่ผู้อื่นสื่อสารได้ทั้งหมด
- มีอาการผิดหวังหรือไม่พอใจหากผู้อื่นไม่เข้าใจที่จะสื่อ
- มีอาการอ่อนแรงหรือเป็นอัมพาตในซีกขวา
ภาวะบกพร่องทางการสื่อความแบบ Conduction
- เข้าใจและสามารถใช้ภาษาได้ดี ทั้งการพูดและการเขียน
- แต่ไม่สามารถพูดตามได้หรือหากพูดตามจะพูดผิด
ภาวะบกพร่องทางการสื่อความแบบ Global
- เกิดจากสมองซีกซ้ายได้รับความเสียหายทั้งส่วนหน้าและส่วนกลาง
- ทำให้ไม่สามารถอ่านหรือเขียนได้
- มีอาการของภาวะบกพร่องทางการสื่อความแบบที่สามารถสื่อสารได้และไม่ได้รวมกัน
สาเหตุ
- เกิดจากสมองส่วนที่ทำหน้าที่ควบคุมการใช้ภาษาได้รับความเสียหาย ทำให้การลำเลียงเลือดเข้าสู่ในบริเวณดังกล่าวถูกขัดขวางจนทำให้เนื้อสมองตายในที่สุด
- อาจเกิดขึ้นได้อย่างกะทันหันหลังบาดเจ็บบริเวณศีรษะหรือการเข้ารับการผ่าตัดสมอง
- บางรายอาการอาจจะเกิดขึ้นอย่างช้า ๆ เพราะ เนื้องอก การติดเชื้อในสมอง โรคทางระบบประสาท หรือภาวะเสื่อมถอยของสมองอย่างโรคสมองเสื่อม เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม ภาวะนี้มักพบในผู้ป่วยที่มีอาการเส้นเลือดในสมองแตกมากที่สุด นอกจากนี้ ยังมีภาวะบกพร่องทางการสื่อความแบบชั่วคราว มักจะเกิดจากไมเกรน อาการชัก หรือภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราว (TIA) ซึ่งเป็นภาวะที่เสี่ยงต่อการเกิดอาการเส้นเลือดในสมองแตกหรือโรคหลอดเลือดสมองได้ในอนาคต
วิธีป้องกัน
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
- รับประทานอาหารที่มีโซเดียมและไขมันต่ำ
- งดการสูบบุหรี่
- ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณที่เหมาะสมและเท่าที่จำเป็น
- ควบคุมระดับความดันโลหิตและไขมันในเลือด
- ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน หรือมีปัญหาที่เกี่ยวข้องกับระบบการไหลเวียนโลหิต ควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างสม่ำเสมอ
- หากสงสัยว่ามีอาการของภาวะเส้นเลือดในสมองแตก ควรเข้าพบแพทย์โดยเร็วที่สุด รวมถึงหากมีภาวะการเต้นของหัวใจผิดปกติ ควรเข้าพบแพทย์เพื่อรักษาอาการเช่นกัน
ข้อมูล : pobpad และ มหาวิทยาลัยมหิดล
ข่าวที่เกี่ยวข้อง