“โควิด สงกรานต์” ราชกิจจานุเบกษา มาตรการรับมือ มีผล 1 เม.ย.

"โควิด สงกรานต์" 2565 ราชกิจจานุเบกษา ประกาศแล้ว มาตรการรับมือสถานการณ์ มีผลตั้งแต่ 1 เมษายน นี้ กิจกรรมอะไรจัดได้ - ไม่ได้ แล้วข้อห้ามล่ะ เช็คด่วน

“โควิด สงกรานต์” 2565 ราชกิจจานุเบกษา ประกาศแล้ว TOP News นำรายละเอียดข้อกำหนด ศบค. ฉบับที่ 43 ซึ่งเกี่ยวกับ มาตรการเทศกาลวันสงกรานต์ ประจำปี 2565 เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของ โควิด-19 ลงนามโดย พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มีผลตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2565 เป็นต้นไป ดังนี้

ข่าวที่น่าสนใจ

เว็บไซต์ ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ ประกาศ ข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 43) “โควิด สงกรานต์” ลงนามโดย พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ความว่า ตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักรตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม 2563 และต่อมาได้ขยายระยะเวลาการบังคับใช้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินดังกล่าวออกไปอย่างต่อเนื่องเป็นระยะ นั้น

โดยที่การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สายพันธุ์โอมิครอน หรือ สายพันธุ์โอไมครอน (Omicron) ได้แพร่กระจายเป็นวงกว้างอย่างรวดเร็วจนเป็นสายพันธุ์หลักที่ระบาดในประเทศ ซึ่งบรรดาแพทย์ และหน่วยงานด้านสาธารณสุขได้แนะนําและเชิญชวนประชาชนกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มเปราะบาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มผู้สูงอายุให้เข้ารับวัคซีนเข็มกระตุ้น (Booster Dose) อันจะช่วยลดอัตราความเสี่ยง จากการเสียชีวิตและลดความรุนแรงของโรคได้

ประกอบกับการเข้าสู่เทศกาลประเพณีสงกรานต์ ซึ่งมีวันหยุดต่อเนื่องที่คาดการณ์ว่าประชาชนจํานวนมากจะเดินทางกลับภูมิลําเนาและท่องเที่ยว รัฐบาล โดยข้อเสนอของฝ่ายสาธารณสุขจึงเตรียมพร้อมกําหนดเป็นมาตรการควบคุมและป้องกันโรคให้เหมาะสมกับสถานการณ์เพื่อลดความเสี่ยงของการระบาดแบบกลุ่มก้อนขนาดใหญ่

อีกทั้งเพื่อเป็นการสืบสานประเพณีและวัฒนธรรมไทยร่วมกับการสร้างความรับผิดชอบต่อครอบครัวและสังคม เพื่อให้การฟื้นฟูเศรษฐกิจควบคู่กับการบริหารจัดการด้านสาธารณสุขเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกําหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 และมาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 นายกรัฐมนตรีจึงออกข้อกําหนดและข้อปฏิบัติแก่ส่วนราชการทั้งหลายตามคําแนะนําของศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) (ศบค.) ดังต่อไปนี้

ข้อ 1 การปรับปรุงเขตพื้นที่จังหวัดตามพื้นที่สถานการณ์และการกําหนดพื้นที่นําร่อง ด้านการท่องเที่ยวเพิ่มเติม ให้ ศบค. มีคําสั่งปรับปรุงเขตพื้นที่จังหวัดจําแนกตามเขตพื้นที่สถานการณ์ และกําหนดพื้นที่นําร่องด้านการท่องเที่ยวเพิ่มเติม ตามบัญชีรายชื่อจังหวัดแนบท้ายคําสั่ง เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์การระบาดที่เกิดขึ้นในปัจจุบันและเป็นไปตามแผนการเปิดประเทศเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจของรัฐบาล

โดยให้นํามาตรการควบคุมแบบบูรณาการที่กําหนดไว้สําหรับพื้นที่สถานการณ์ระดับต่าง ๆ ข้อห้ามและข้อปฏิบัติที่ได้ประกาศไว้แล้วก่อนหน้านี้มาใช้บังคับเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับ ข้อกําหนดนี้

ข้อ 2 การขยายเวลาการบังคับใช้มาตรการควบคุมและป้องกันโรค ให้บรรดามาตรการ ควบคุมแบบบูรณาการ ข้อห้าม ข้อยกเว้น และข้อปฏิบัติสําหรับพื้นที่สถานการณ์ระดับต่าง ๆ รวมทั้งมาตรการเตรียมความพร้อมตามข้อกําหนด (ฉบับที่ 37) ลงวันที่ 30 ตุลาคม 2564 และมาตรการควบคุมแบบบูรณาการในพื้นที่นําร่องด้านการท่องเที่ยวตามข้อกําหนด (ฉบับที่ 42) ลงวันที่ 8 มกราคม 2565

ได้แก่ การห้ามจัดกิจกรรมที่มีความเสี่ยงต่อการแพร่โรค กิจกรรมการรวมกลุ่มของบุคคลที่สามารถจัดได้โดยไม่ต้องขออนุญาต มาตรการควบคุมแบบบูรณาการจําแนก ตามพื้นที่สถานการณ์ มาตรการควบคุมแบบบูรณาการในพื้นที่นําร่องด้านการท่องเที่ยว และมาตรการเฝ้าระวังเพื่อควบคุมการระบาดของโรคในสถานที่เสี่ยงต่อการแพร่โรค รวมถึงบรรดามาตรการ หลักเกณฑ์ หรือแนวปฏิบัติที่พนักงานเจ้าหน้าที่หรือหน่วยงานที่รับผิดชอบกําหนดขึ้นภายใต้ข้อกําหนด ดังกล่าวยังคงมีผลใช้บังคับต่อไป

ข้อ 3 การปรับมาตรการควบคุมแบบบูรณาการทั่วราชอาณาจักรเป็นกรณีเฉพาะรองรับ ช่วงเทศกาลสงกรานต์ ประชาชนที่จะเดินทางเพื่อการท่องเที่ยวหรือเดินทางกลับภูมิลําเนาควรได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์ที่ทางราชการกําหนดเพื่อลดอัตราการแพร่โรคและการติดเชื้อรุนแรงต่อบุคคลที่มีภาวะเสี่ยง โดยเฉพาะการเข้าเยี่ยมเยียน กราบไหว้ พบปะผู้สูงอายุ ญาติพี่น้อง หรือกลุ่มเปราะบาง

และแนะนําให้ประเมินความเสียงสังเกตอาการของตนเอง หรือใช้ชุดตรวจและน้ำยาที่เกี่ยวข้องกับ การวินิจฉัยการติดเชื้อ SARS-CoV-2 (เชื้อก่อโรค COVID-19) แบบตรวจหาแอนติเจนด้วยตนเอง (ชุดตรวจ ATK) เป็นระยะเวลาไม่เกิน 72 ชั่วโมงก่อนการเดินทาง การพบปะ หรือการเข้าร่วม กิจกรรมรวมกลุ่ม และขอให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มเปราะบางโดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุเตรียมความพร้อม โดยเข้ารับวัคซีนเข็มกระตุ้นตามคําแนะนําของกระทรวงสาธารณสุข ทั้งนี้ เพื่อความปลอดภัยทั้งต่อตนเอง และบุคคลในครอบครัว

ให้คณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานครหรือคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด แล้วแต่กรณี พิจารณากําหนดสถานที่ กิจการ หรือกิจกรรม ที่สามารถดําเนินการได้เป็นกรณีเฉพาะเพื่อการจัดกิจกรรม เทศกาลสงกรานต์เพื่อสืบสานวัฒนธรรมไทยให้เหมาะสมกับสถานการณ์และพื้นที่รับผิดชอบ ภายใต้ เงื่อนไขดังต่อไปนี้

(1) พื้นที่กําหนดไว้เป็นการเฉพาะหรือพื้นที่ได้รับอนุญาตให้จัดกิจกรรมเทศกาลสงกรานต์ได้ ให้ผู้ประกอบการ ผู้จัดงาน หรือผู้มีหน้าที่รับผิดชอบการจัดงาน จัดสถานที่และดําเนินกิจกรรมภายใต้มาตรการป้องกันและลดความเสี่ยงที่ก่อให้เกิดการแพร่ระบาดแบบกลุ่มก้อน รวมทั้งมาตรการปลอดภัย สําหรับองค์กร (Covid Free Setting) ตามที่กระทรวงสาธารณสุขกําหนด ดังนี้

ก. การจัดกิจกรรมในลักษณะของการเล่นน้ำหรือจัดกิจกรรมตามวัฒนธรรมประเพณี เช่น การสรงน้ำพระ รดน้ำดําหัว การละเล่นตามประเพณี การแสดงทางวัฒนธรรม ประเพณีท้องถิ่น ขบวนแห่ หรือการแสดงดนตรี สามารถกระทําได้

ข. ห้ามจัดกิจกรรมที่มีการเล่นประแป้งและกิจกรรมในลักษณะปาร์ตี้โฟม

ค. ห้ามการจําหน่ายและการบริโภคสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ในบริเวณพื้นที่ จัดกิจกรรม

ง. ให้มีจุดคัดกรองบริเวณทางเข้าออกและให้มีการลงทะเบียนก่อนเข้าและออกจากสถานที่ หรือพื้นที่จัดกิจกรรม

จ. ให้ควบคุมจํานวนผู้เข้าร่วมกิจกรรมมิให้แออัดตามขนาดของสถานที่หรือพื้นที่จัดกิจกรรม เกณฑ์ไม่น้อยกว่า 4 ตารางเมตรต่อผู้เข้าร่วมกิจกรรม 1 คน

(2) ห้ามการเล่นน้ำ เล่นประแป้ง ปาร์ตี้โฟม หรือกิจกรรมใด ๆ ที่เป็นความเสี่ยงต่อการ ระบาดของโรค ในพื้นที่สาธารณะและพื้นที่ซึ่งไม่ได้รับอนุญาตให้จัดกิจกรรม

(3) สําหรับการจัดกิจกรรมเทศกาลสงกรานต์ในพื้นที่หมู่บ้านหรือชุมชน สามารถดําเนินการได้ โดยให้ ศปก. ในพื้นที่ที่ตั้งของชุมชนนั้น ๆ หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พิจารณาอนุญาต และต้องมีมาตรการควบคุมและป้องกันโรคที่สอดคล้องกับแนวทางและมาตรการที่กําหนดในข้อกําหนดนี้ด้วย

(4) สถานที่หรือการจัดกิจกรรมใด ๆ ที่อาจทําให้เกิดมีความเสี่ยงต่อการระบาดของโรค ให้ผู้ประกอบการหรือผู้มีหน้าที่รับผิดชอบดําเนินมาตรการความปลอดภัยตามหลักเกณฑ์ที่ทางราชการ กําหนดขึ้นเป็นการเฉพาะด้วย
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่สอดส่อง เฝ้าระวัง และติดตามการดําเนินมาตรการของผู้ประกอบการ และผู้มีหน้าที่รับผิดชอบสถานที่และการจัดงานหรือกิจกรรมต่าง ๆ ให้เป็นไปตามมาตรการควบคุมและป้องกันโรคที่ทางราชการกําหนด

หากพบว่าการจัดงานหรือกิจกรรมต่าง ๆ ที่ได้ผ่อนคลายให้สามารถดําเนินการได้นี้ มิได้ปฏิบัติตามหรือย่อหย่อนการดําเนินการมาตรการป้องกันและควบคุมโรคที่ทางราชการกําหนดซึ่งอาจเป็นเหตุให้เกิดการระบาดแบบกลุ่มก้อน ให้ดําเนินการตักเตือน และให้คําแนะนําเพื่อให้ปฏิบัติตามมาตรการดังกล่าวก่อนที่จะดําเนินการตามมาตรการทางกฎหมายต่อไป

เพื่อกํากับและเฝ้าระวังการระบาดของโรค ขอความร่วมมือให้เจ้าหน้าที่และผู้ปฏิบัติงาน ซึ่งได้กลับมาปฏิบัติหน้าที่ภายหลังการเดินทางในช่วงเทศกาลสงกรานต์ประเมินความเสี่ยงและสังเกตอาการของตนเองในช่วงระยะเวลาหนึ่งสัปดาห์ โดยหัวหน้าส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐ เจ้าของกิจการ หรือผู้ประกอบการภาคเอกชน สามารถพิจารณาตามความเหมาะสมเพื่อดําเนินมาตรการให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้งหน่วยงานได้

ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2565 เป็นต้นไป

โควิด สงกรานต์

โควิด สงกรานต์

โควิด สงกรานต์

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"น.1" แจงปมร้อน เรียกรับผลประโยชน์ เป็นข้อมูลเก่า ไขน็อตสั่งสอบตำรวจในสังกัด
อุทาหรณ์ "เด็ก ป.4" เล่นเศษประทัด โชคร้ายเกิดระเบิดใส่หน้า หวิดตาบอด
"คารม" เผย ครม.เคาะเพิ่ม "เงินสงเคราะห์บุตร" 1,000 บาท พร้อมเปิดขั้นตอนลงทะเบียน
"ผู้เสียหายดิไอคอน" ยื่นค้านการประกันตัว 18 บอส ก่อนที่จะครบกำหนดฝากขัง
เมืองไทยประกันภัย คว้า Set ESG Rating ระดับ AA ในปี 2567 ตอกย้ำการดำเนินงานด้วยแนวทางแห่งความยั่งยืน
"ญาญ่า อุรัสยา" ลุคสุดปัง พร้อม "เครื่องแต่งกาย-เครื่องประดับ" สำหรับผู้หญิง ในงาน Louis Vuitton SS25 กรุงปารีส
กรมส่งเสริมสหกรณ์ ขานรับนโยบาย รมว.เกษตรฯ เปิดรับสมัครทุนเรียนฟรีแก่ทายาทสหกรณ์ มุ่งสานต่ออาชีพพระราชทาน “เลี้ยงโคนม”
ปรากฏการณ์ ‘แสงเหนือ’ สีสันสุดโรแมนติกที่จีน
"แม่แบงค์ เลสเตอร์" ร้องขอความเป็นธรรม หลังโดนไล่ออกจากงาน
ต่างกัน 50℃! นทท ไทยบินลัดฟ้า ตะลุยดินแดนหิมะ 'ฮาร์บิน'

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น