“ยาฆ่าพยาธิ VS โควิด” 2565 ไอเวอร์เม็กติน ข้อมูลอันผิดพลาด

"ยาฆ่าพยาธิ VS โควิด" ผลศึกษา 2565 ไอเวอร์เม็กติน ไม่มีประสิทธิภาพลดเข้ารักษาตัวใน รพ. เปิดทางหันไปทุ่มเทค้นคว้าและพัฒนาแนวทางรักษาอื่น ๆ ดีกว่า

“ยาฆ่าพยาธิ VS โควิด” ไอเวอร์เม็กติน (Ivermectin) ยากำจัดพยาธิในคนและสัตว์ ฆ่าเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (SARS-CoV-2) ในห้องปฏิบัติการ เป็นข้อมูลแพร่หลายไปในวงกว้าง แต่ล่าสุด TOP News มีข้อมูลใหม่ ผลการศึกษาจากคณะนักวิจัยนานาชาติและ ออสเตรเลีย พบ ไอเวอร์เม็กติน ไม่มีประสิทธิภาพลดการเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลจาก โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (โควิด-19)

ข่าวที่น่าสนใจ

การศึกษา “ยาฆ่าพยาธิ VS โควิด” ฉบับดังกล่าวเผยแพร่ในวารสารการแพทย์ นิว อิงแลนด์ (New England) เมื่อวันพฤหัสบดี (31 มีนาคม 2565) โดยเป็นผลลัพธ์จากการทดลองแบบปกปิดข้อมูลสองทาง (Double-blind) ในกลุ่มผู้ป่วยโรคโควิด-19 จำนวน 3,515 ราย

ผู้ป่วย 679 ราย จำนวน 2 กลุ่ม ที่มีอาการของโรคโควิด-19 นานถึง 7 วัน และมีปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้โรคลุกลามอย่างน้อยหนึ่งปัจจัย ถูกสุ่มให้รับประทานยาไอเวอร์เม็กติน วันละ 1 ครั้ง เป็นเวลา 3 วัน หรืออาจได้รับยาหลอก

นักวิทยาศาสตร์จากเซอร์ทารา (Certara) บริษัทชั้นนำด้านการจำลองทางชีวภาพ และอดีตนักวิจัยของมหาวิทยาลัยโมนาช ศาสตราจารย์ เครก เรย์เนอร์ ซึ่งร่วมเป็นส่วนหนึ่งในโครงการดังกล่าวผ่านแพลตฟอร์มการทดลองนานาชาติ ทูเกเธอร์ คลินิคัลไทรอัลส์ (TOGETHER ClinicalTrials) เผยกับ สำนักข่าวซินหัว ว่า การศึกษาพบการรักษาด้วยยาไอเวอร์เม็กตินในกลุ่มผู้ป่วยนอกที่ถูกวินิจฉัยว่าป่วยโรคโควิด-19 ตั้งแต่ระยะแรกเริ่ม ไม่ได้ลดความจำเป็นของการเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล

ยาฆ่าพยาธิ VS โควิด
แฟ้มภาพซินหัว : บุคลากรการแพทย์อินโดนีเซียสวมชุดป้องกันขณะเก็บตัวอย่างสารคัดหลั่งเพื่อตรวจโรคโควิด-19 ในจังหวัดชวาตะวันตกของอินโดนีเซีย วันที่ 24 ก.ย. 2020

“การทดลองแบบปกปิดข้อมูลสองทางมีความสำคัญ โดยช่วยรับประกันว่าผลลัพธ์นั้นเป็นจริง และไม่ได้รับผลกระทบจากการปัจจัยอื่น เนื่องจากทั้งผู้ป่วยและผู้ให้บริการด้านการรักษาพยาบาลไม่ทราบถึงการแทรกแซง ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการขจัดอคติที่อาจเกิดขึ้น” เรย์เนอร์ ระบุ

ทั้งนี้ ข้อมูลอันผิดพลาดเกี่ยวกับยาไอเวอร์เม็กตินนั้นแพร่หลายเป็นวงกว้าง หลังจากมีการพบว่ายาตัวนี้สามารถฆ่าเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (SARS-CoV-2) ในห้องปฏิบัติการ ทว่าปัจจุบันไม่มีหลักฐานทางคลินิกใดที่บ่งชี้ว่ามันสามารถฆ่าเชื้อไวรัสฯ ในร่างกายมนุษย์ได้

เรย์เนอร์ ทิ้งท้ายว่า การศึกษาข้างต้นจะช่วยให้เหล่านักวิทยาศาสตร์หันไปทุ่มเทเวลาและกำลังกับการค้นคว้าและพัฒนาแนวทางการรักษาโรคโควิด-19 ที่มีศักยภาพอื่น ๆ มากกว่า

ยาฆ่าพยาธิ VS โควิด
แฟ้มภาพซินหัว : ประชาชนรอรถรางในนครซิดนีย์ของออสเตรเลีย วันที่ 30 มี.ค. 2022

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ตำรวจท่องเที่ยวพัทยา รวบ อดีตดาบตำรวจนอกรีต วีรกรรมสุดแสบหนีหมายจับ 3 ปี ชีวิตตกอับมาเป็นคนส่งเหล้า
บริษัท บลูสโตน ครีเอชั่นส์ จำกัด ร่วมกับ สมาคมคนพิการภาคตะวันออก จัดกิจกรรม CSR ประจำปี 2567 มอบสิ่งของแก่คนพิการ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดี
2อุทยานฯ ร่วมมือปราบปราม การลักลอบขุดหาแร่ทองคำ
ปิดหีบเลือกตั้ง "นายก อบจ.สุรินทร์" เริ่มนับคะแนน รอลุ้นผล
ชาวบ้านแห่ส่องเลขเด็ดคึกคัก ในพิธีอัญเชิญ “เจ้าพ่อพระศรีนครเตาท้าวเธอ” เจ้าเมืองคนแรกของชาวอำเภอรัตนบุรี
"บิ๊กจ้าว" ลงดาบ "ผกก.สน.หนองค้างพลู" สั่งปลดออกจากราชการ ชี้มูลผิดวินัยร้ายแรง ม.157
สีกากียอมรับ "บิ๊กต่าย" ไม่หวั่นโดนบางฝ่ายบีบวางมาตรฐานแต่งตั้ง "ตร." "เอก อังสนานนท์" คือผู้ยืนยัน
"หลวงพี่น้ำฝน" แจงสั่งตามลูกศิษย์ ส่งตัวให้ตร. ยืดอกรับผิด ย้ำไม่สนับสนุนความรุนแรง เตือน "พระปีนเสา" ปากจะพาเดือดร้อน
"ศปช." ย้ำ "ภาคใต้" ฝนกระหน่ำต่อเนื่อง “ภูมิธรรม” กำชับเร่งช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย
"ภรรยา-ลูกสาว" ของหมอบุญ เข้ามอบตัวกับตร. ตามหมายจับร่วมกันฉ้อโกง กว่า 7.5 พันล้านบาท

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น