logo

“โควิด xe” 2565 Omicron ไข้หวัด ไข้เลือดออก อาการนี้เป็นอะไร

โควิด xe, Omicron, ไข้หวัด, ไข้เลือดออก, อาการ

"โควิด xe" ล่าสุด โควิด 2565 ลูกผสมสายพันธุ์ย่อย Omicron ไทยพบแล้ว เช็คลิสต์อาการ โอมิครอน หรือ โอไมครอน ไข้หวัด ไข้เลือดออก อาการนี้เป็นอะไร

“โควิด xe” ล่าสุด โควิด 2565 องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ออกคำเตือนหลังเจอ Omicron สายพันธุ์ลูกผสมระหว่างสายพันธุ์ย่อย BA.1 X BA.2 (XE) แพร่ได้ง่ายและรวดเร็วกว่าทุกสายพันธุ์ โดยประเทศไทย ก็มีพบแล้ว ขณะที่ โควิดกลายพันธุ์ โควิดสายพันธุ์ใหม่ (โอมิครอน หรือ โอไมครอน) ในประเทศไทย ศูนย์ข้อมูล COVID-19 รายงานพบผู้ติดเชื้อพุ่งสูงทำนิวไฮ (รวมยอด ATK) ต่อเนื่อง ทั้งนี้ ส่วนใหญ่ผู้ติดเชื้อมีอาการไม่รุนแรง หรือมีอาการน้อย แต่ถึงอย่างนั้น ก็ไม่ควรไว้วางใจ เพราะการติดเชื้อโควิดส่งผลเสียระยะยาวต่อร่างกาย TOP News สรุปรวบตึงอาการ โควิด Omicron มาให้เช็คอีกครั้ง เนื่องจากหลายอาการนั้นอาจเป็นจาก ไข้หวัด หรือ ไข้เลือดออก ก็เป็นได้

ข่าวที่น่าสนใจ

เพจเฟซบุ๊ก Center for Medical Genomics ของ ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ได้รายงานว่า องค์การอนามัยโลก (WHO) เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2565 ได้ออกคำเตือนเกี่ยวกับ “โควิด xe” Omicron สายพันธุ์ลูกผสม XE  ที่แพร่เชื้อติดต่อได้ง่ายและรวดเร็วกว่าไวรัสโคโรนา 2019 ทุกสายพันธุ์ ที่เราเคยประสบมา

“โควิด xe” เป็นสายพันธุ์ลูกผสมระหว่าง Omicron สายพันธุ์ย่อย BA.1 X BA.2 ไม่ใช่ เดลตาครอน ซึ่งเป็นสายพันธู์ลูกผสมระหว่าง เดลตา X โอมิครอน หรือ โอไมครอน WHO ยังไม่ตั้งชื่อให้อย่างเป็นทางการจนกว่า XE จะแสดงอาการทางคลินิกที่รุนแรงแตกต่างไปจากสายพันธุ์อื่นอย่างมีนัยสำคัญ สำหรับสายพันธุ์ลูกผสม เดลตาครอน หรือ XD WHO แจ้งว่าไม่พบการระบาดที่รวดเร็ว (transmissibility) และอาการที่รุนแรง (severity) แต่ประการใด

ล่าสุด ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ รพ. รามาธิบดี ตรวจพบสายพันธุ์ลูกผสม XE “โควิด xe” จากการถอดรหัสพันธุกรรมทั้งจีโนมจากตัวอย่างสวอบ (Swab) จากผู้ติดเชื้อ ชาวไทย 1 ราย และจากการตรวจกรองด้วยเทคโนโลยี Massarray Genotyping พบสายพันธุ์ลูกผสม เดลตาครอน อีก 1 ราย ซึ่งต้องยืนยันด้วยการถอดรหัสพันธุกรรมทั้งจีโนมอีกครั้งหนึ่ง

โควิด xe, Omicron, ไข้หวัด, ไข้เลือดออก, อาการ

โควิด xe, Omicron, ไข้หวัด, ไข้เลือดออก, อาการ

ทั้งนี้ จากการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับ อาการ โควิด Omicron (โอมิครอน หรือ โอไมครอน) ตั้งแต่ช่วงที่เริ่มระบาดใหม่ ๆ ในปลายปีที่ผ่านมา กรมการแพทย์ ได้เปิดเผยถึงลักษณะอาการป่วยของผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่พบว่ามีอาการ ดังนี้

  • ไอ 54%
  • เจ็บคอ 37%
  • ไข้ 29%
  • ปวดกล้ามเนื้อ 15%
  • มีน้ำมูก 12%
  • ปวดศีรษะ 10%
  • หายใจลำบาก 5%
  • ได้กลิ่นลดลง 2%

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เตือน อาการ โควิด Omicron ดังต่อไปนี้ มีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อ คือ

  • แรกเริ่มมีน้ำมูก จาม ปวดหัว
  • ต่อมา อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ เจ็บคอ
  • บางคนมีเหงื่อออกตอนกลางคืน

สำหรับผู้ไปพื้นที่เสี่ยง แม้ฉีดวัคซีนครบโดส ก็ไม่ควรประมาท ให้หมั่นสังเกตอาการตนเอง หากไม่ดีขึ้น ให้รีบพบแพทย์

โควิด xe, Omicron, ไข้หวัด, ไข้เลือดออก, อาการ

ไข้หวัดใหญ่

เกิดจากการติดเชื้อไวรัสอินฟลูเอนซา (Influenza Virus) อาการโดยทั่วไป มักจะไม่รุนแรง ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ปัจจุบันได้กลายเป็นไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาลที่พบปะปนกับสายพันธุ์ต่าง ๆ ทั่วไป อาการทั่วไปคล้ายกับ โควิด โอมิครอน หรือ โอไมครอน ค่อนข้างมาก

  • มีไข้สูง (เกิน 38 องศาฯ)
  • ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อมาก
  • ปวดศีรษะ
  • อ่อนเพลีย
  • หนาวสั่น
  • เบื่ออาหาร
  • คัดจมูก
  • น้ำมูกใส
  • ไอแห้ง
  • คลื่นไส้ (บางราย)
  • อาเจียน (บางราย)

ทั้งนี้ โรคไข้หวัดใหญ่สามารถป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีนปีละ 1 ครั้ง

ไข้เลือดออก

โรคไข้เลือดออก (dengue hemorrhagic fever) เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเดงกี (dengue virus) โดยมียุงลายเป็นพาหะนำโรค พบในประเทศเขตร้อนและระบาดในช่วงฤดูฝนของทุกปี ปัจจุบันยังไม่มียาต้านเชื้อไวรัสสำหรับโรคไข้เลือดออก การรักษาจึงเป็นไปตามอาการ แต่ห้ามใช้ แอสไพริน (Aspirin) , ไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) ถ้าผู้ป่วยรับประทานอาหารได้น้อย อาจให้ดื่มนม นํ้าผลไม้ หรือนํ้าเกลือแร่ร่วมด้วย

  • มีไข้สูงแบบเฉียบพลัน และต่อเนื่อ (2 – 7 วัน)
  • ปวดศีรษะ
  • ปวดเมื่อยตามตัว
  • อาจมีจุดแดงเล็ก ๆ ขึ้นตามลำตัว แขน ขา
  • ไม่ไอ
  • ไม่มีน้ำมูก
  • คลื่นไส้
  • อาเจียน
  • ปวดท้อง
  • เบื่ออาหาร

หากอาการไข้ลดลงอย่าเพิ่งวางใจ เพราะอาจจะทำให้เกิดภาวะช็อกจนกระทั่งเสียชีวิตได้ หรือหากมีไข้สูงต่อเนื่องกว่า 2 วัน แม้จะเช็ดตัวหรือทานยาลดไข้แล้วก็ไม่ดีขึ้น ให้สงสัยว่าเป็นไข้เลือดออกไว้ก่อน และรีบพบแพทย์

ผู้มีประวัติเสี่ยง ควรตรวจ ATK วันไหน นับจากวันที่มีความเสี่ยงได้รับเชื้

  • ข้อมูล กรมควบคุมโรค เผยว่า ระยะฟักเชื้อของโควิด สายพันธุ์โอมิครอน หรือสายพันธุ์โอไมครอน จะอยู่ที่ 5 – 14 วัน นับจากวันที่ติดเชื้อจนถึงมีอาการ
  1. หากนับจากวันที่สันนิษฐานว่าได้รับเชื้อมา ส่วนใหญ่ในช่วง 10 วันแรก การตรวจ ATK จะไม่พบเชื้อ
  2. ส่วนระยะที่ตรวจ ATK แล้วมีโอกาสพบเชื้อมากที่สุด คือ ช่วงวันที่ 11 หลังจากที่สันนิษฐานว่ารับเชื้อ

สรุป ผู้มีประวัติสัมผัสกับผู้ป่วย โควิด-19 ในกรณีที่ทราบวันที่มีความเสี่ยงแน่นอน จะต้องเฝ้าติดตามอาการหลังจากนั้นไป 14 วัน และตรวจ ATK ในช่วงวันที่ 11 – 14 จะได้ผลการตรวจที่ค่อนข้างแม่นยำ

กลุ่มผู้มีอาการเข้าข่ายสงสัยว่าติดเชื้อโควิด

  • สำหรับผู้ที่มีอาการป่วยใกล้เคียงกับอาการโควิดตามที่กระทรวงสาธารณสุขระบุไว้ ควรตรวจ ATK ทันทีหลังมีอาการไม่เกิน 7 วัน เนื่องจากเป็นระยะที่ตรวจ ATK และได้ผลแม่นยำที่สุดนั่นเอง

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ครม.นัดพิเศษ แต่งตั้ง "หมอมิ้ง นพ.พรหมินทร์" นั่งเลขาธิการนายกฯ
ตามรวบ "สาวแสบมิจฉาชีพออนไลน์" ส่งลิ้งลวงเหยื่อ ขอคืนเงินค่า FT ก่อนดูดเงินเกลี้ยงบัญชี เสียหายเกือบ 2 ล้านบาท
ททท.จัดต่อเนื่อง "Amazing Muay Thai Experiences" ตอกย้ำเสริมเสน่ห์ไทยด้วยกีฬา "มวยไทย" ชวนนักท่องเที่ยวเดินทางสัมผัสประสบการณ์ถึงถิ่นกำเนิดมวยดี 4 สาย
จนท.บุกตรวจ "แรงงานต่างด้าว" 149 คน แอบเช่าบ้าน 2 หลังในชุมชนขอนแก่น เร่งตรวจสอบข้อเท็จจริง
"วรชัย" วอน "เสรีพิศุทธ์" อย่าตั้งเป้าโจมตี ขอโอกาสรัฐบาลทำงาน ให้เวลาพิสูจน์แก้ปัญหาปชช.
“อ.ธรณ์” ห่วง “ฮาลองเบย์” สถานที่สวยงาม ถูกพายุไต้ฝุ่น "ยางิ" พัดถล่ม หวังให้ทุกคนที่นั่นปลอดภัย
ไร้ปาฏิหาริย์ พบแล้ว "นทท.เบลเยี่ยม" หลังหายตัวลึกลับ ทีมค้นหาพบร่าง บริเวณท้ายฝาย "น้ำตกแม่เย็น"
"พิพัฒน์" เดินหน้า 1 ต.ค. ปรับค่าแรง 400 พร้อม 7 มาตรการ ลดกระทบนายจ้าง-ลูกจ้าง ถกพณ.คุมสินค้าแพง
เลขาธิการ สทนช. ลงพื้นที่ตราดรับฟังสถานการณ์บริหารจัดการน้ำรับมือน้ำท่วมหลังพายุไต้ฝุ่นนางิ และ ฝนตกหนักกลางเดือนกันยายน หวั่นท่วมรอบ 2
น่าห่วง "แม่น้ำยม" สายหลักพิษณุโลก เพิ่มระดับสูงขึ้นต่อเนื่อง ไหลท่วมพื้นที่ลุ่มต่ำทุกหมู่บ้านแล้ว

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น