"ยื่น ภาษี ออนไลน์" 2564 ได้ถึงวันนี้ เกินกำหนดมีค่าปรับเท่าไหร่ ติดตามการคืนภาษี ได้อย่างไร เช็คด่วน ทางลัด สรุปรวบตึงข้อมูลมาให้แล้ว ที่นี่ ครบ จบ
ข่าวที่น่าสนใจ
“ยื่น ภาษี ออนไลน์” ต้องรู้ 3 เรื่อง ไม่เหมือนเดิม มีอะไรบ้าง
ลดการส่งเงินสมทบประกันสังคม
- ปกติแล้วผู้มีรายได้ที่มีการจ่ายเงินสมทบเข้าไปในประกันสังคมทุก ๆ เดือน จะสามารถนำจำนวนเงินที่สมทบเข้าประกันสังคมตลอดทั้งปี ในอัตราที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 9,000 บาท ไปใช้ในการลดหย่อนภาษีได้ แต่ในปีนี้ ประกันสังคม มีนโยบายลดอัตราส่งเงินสมทบของกองทุนประกันสังคมทุกมาตรา ทั้ง ม.33 ม.39 ม.40 ทำให้ผู้เสียภาษีสามารถนำเงินส่วนนี้ไปลดหย่อนภาษีได้น้อยลงด้วย
ผู้ประกันตน ม.33
- จะสามารถยื่นลดหย่อนภาษีในส่วนของประกันสังคมได้สูงสุดที่ 5,100 บาทในปีภาษี 2564 (จากเดิมสูงสุด 9,000 บาท) เนื่องจากในปีนี้ ประกันสังคมมีนโยบายเรียกเก็บเงินสมทบลดลงในช่วง โควิด-19 ระบาด จากสูงสุดเดือนละ 750 บาท ดังนี้
- เดือน มกราคม หัก 3% สูงสุด 450 บาท
- เดือน กุมภาพันธ์ – มีนาคม หัก 0.5% สูงสุด 75 บาท
- เดือน เมษายน – พฤษภาคม หักเงินสมทบตามเดิม 750 บาท
- เดือน มิถุนายน – พฤศจิกายน หัก 2.5% สูงสุด 375 บาท
- เดือน ธันวาคม ไม่ได้มีการแจ้งลดการหักเงินสมทบ จึงกลับมาคิดที่เต็มจำนวนเงินสมทบเดิมที่อัตรา 750 บาท
ผู้ประกันตน ม.39
- จะสามารถใช้สิทธิลดหย่อนประกันสังคมในปีภาษี 2564 ได้สูงสุดไม่เกิน 3,483 บาท เนื่องจากมีการลดการส่งเงินประกันสังคมในปีนี้จากเดิม 432 บาท ดังนี้
- เดือน มกราคม – มีนาคม ลดสมทบเหลือ 278 บาท
- เดือน เมษายน – พฤษภาคม หักสมทบ 432 บาทตามเดิม
- เดือน มิถุนายน – สิงหาคม ลดสมทบเหลือ 216 บาท
- เดือน กันยายน – พฤศจิกายน ลดสมทบเหลือ 235 บาท
- เดือน ธันวาคม ไม่ได้มีการแจ้งลดการหักเงินสมทบ จึงคิดการหักสมทบ 432 บาทตามเดิม
ผู้ประกันตน ม.40
- จะสามารถใช้สิทธิลดหย่อนประกันสังคมในปีภาษี 2564 ได้สูงสุดไม่เกิน 700 , 1,000 และ 3,000 บาท ตามการสมทบ ทางเลือกที่ 1 ทางเลือกที่ 2 และ ทางเลือกที่ 3 ตามลำดับ
- เดือน มกราคม – กรกฎาคม จ่ายตามปกติ ทางเลือกที่ 1 = 70 บาท ทางเลือกที่ 2 = 100 บาท และทางเลือกที่ 3 = 300 บาท
- เดือน สิงหาคม – ธันวาคม ลดเงินสมทบประกันสังคมลง ทางเลือกที่ 1 = 42 บาท ทางเลือกที่ 2 = 60 บาท และทางเลือกที่ 3 = 180 บาท
* ดังนั้น หมายความว่า ผู้มีเงินได้ที่มีรายได้เท่าเดิม หรือเพิ่มขึ้น ในช่วงปี 2564 จะมีตัวช่วยลดหย่อนภาษีได้น้อยลง และอาจต้องมองหาสิ่งที่จะสามารถนำมาช่วยลดหย่อนภาษีจากส่วนอื่น ๆ เพิ่มขึ้นในปีนี้
หักภาษี ณ ที่จ่าย ลดลง
- อีกหนึ่งมาตรการพิเศษช่วยเหลือประชาชนที่เกิดขึ้นในปีนี้ คือ การลดอัตรา หักภาษี ณ ที่จ่าย ในปี 2564 จากเดิม 3% ลดลงเหลือ 1.5 – 2% ในช่วงเวลาที่แตกต่างกัน และเป็นไปตามประเภทของเงินได้ที่แต่ละคนได้รับ ทั้งนี้ กระทรวงการคลัง ให้ลดอัตราภาษีหัก ณ ที่จ่าย จาก 1 ตุลาคม 2563 – 31 ตุลาคม 2564 ลดหักภาษี ณ ที่จ่าย จาก 3% เป็น 2% สำหรับผู้มีประเภทเงินได้สำหรับบุคคลธรรมดา ดังนี้
เงินได้ตาม มาตรา 40 (6)* หักภาษี ณ ที่จ่าย 2%
* เงินได้ประเภทที่ 6 คือ รูปของค่าตอบแทนจากการประกอบวิชาชีพอิสระที่มีจำนวนไม่แน่นอน ขึ้นอยู่กับปริมาณหรือความยากง่าย ซึ่งมี 6 อาชีพ ได้แก่ การประกอบโรคศิลปะ , นักกฎหมาย , วิศวกร , สถาปนิก , นักบัญชี และ ช่างประณีตศิลป์
เงินได้ตาม มาตรา 40 (7)** หักภาษี ณ ที่จ่าย 2%
** เงินได้ประเภทที่ 7 คือ ค่ารับเหมาที่มีการเหมาทั้งค่าแรงและค่าของ โดยที่คุณเป็นผู้จัดหาทั้งแรงงาน เครื่องมือ และสัมภาระเอง เช่น รับเหมาก่อสร้าง , รับผลิตสินค้าตามแบบที่ลูกค้าต้องการโดยที่ปกติคุณไม่ได้ทำขายเป็นปกติทั่วไป เช่น ผลิตตามต้นแบบของลูกค้า
เงินได้ตาม มาตรา 40 (8)*** ในส่วนจ้างทำของ รางวัล ส่วนลด ส่งเสริมการขาย หักภาษี ณ ที่จ่าย 2%
*** เงินได้ประเภทที่ 8 คือ เงินได้พึงประเมินที่ไม่สามารถจัดให้เข้ากลุ่มเงินได้ประเภทที่ 1 – 7 ได้ เช่น ขายของออนไลน์ เปิดร้านอาหาร กำไรจากการขายกองทุน LTF / RMF เงินส่วนแบ่งกำไรจากห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียนและคณะบุคคล และอื่น ๆ เป็นต้น
ทั้งนี้ หักภาษี ณ ที่จ่าย คือ การหักภาษีล่วงหน้าบางส่วนตอนที่มีการจ่ายและรับเงิน หากผู้มีรายได้มีการยื่นภาษีแล้วเงินได้สุทธิไม่ถึงเกณฑ์เสียภาษี หรือพบว่าถูกหักภาษีไว้มากกว่าจำนวนภาษีที่ต้องจ่ายจริง จะสามารถขอรับเงินภาษีคืนจากที่เคยถูกหักไปก่อนหน้านี้ได้
ดังนั้น ผลจากการลดการหักภาษี ณ ที่จ่าย ลดลง ช่วยให้ประชาชนถูกหักภาษีน้อยลง ณ เวลาที่ได้รับเงิน มีสภาพคล่องมากขึ้น แต่ในช่วงที่กำลังมองหาตัวช่วยลดหย่อนภาษี อัตราการหักภาษี ณ ที่จ่าย ที่ลดลงทำให้ตัวเลขที่จะนำมาช่วยลดหย่อนต่ำลงไปด้วย สำหรับคนที่ยังมีรายได้สุทธิอยู่ในเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษี จึงควรวางแผนภาษีใหม่ หรือหาตัวช่วยอื่น ๆ มาลดหย่อนภาษีในส่วนนี้แทน
“ยื่น ภาษี ออนไลน์” ได้รับ เงินเยียวยา จากมาตรการของรัฐ เสียภาษีเงินได้อย่างไร ?
- ในช่วงปี 2564 มีมาตรการเยียวยาและการกระตุ้นเศรษฐกิจออกมาให้ประชาชนหลายโครงการ ซึ่งผู้ที่เป็นบุคคลธรรมดาที่ได้รับสิทธิใช้เงิน เช่น โครงการ คนละครึ่ง เราชนะ เราเที่ยวด้วยกัน ไม่ต้องนำเงินจำนวนนี้มา ยื่นภาษี และไม่ต้อง เสียภาษี แต่อย่างใด เนื่องจากตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้ยกเว้นภาษีเงินได้โครงการ คนละครึ่ง และ เราเที่ยวด้วยกัน ไว้อยู่แล้ว ส่วนผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการ คนละครึ่ง และ เราเที่ยวด้วยกัน ซึ่งเป็นนิติบุคคลหรือร้านค้า หากมีเงินได้ที่ถึงฐานก็ต้องเสียภาษีปกติ ซึ่งเป็นคนละกรณีกับบุคคลทั่วไป
การคืนเงินเข้าบัญชีธนาคารที่ลงทะเบียนพร้อมเพย์ด้วยเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก
- กรมสรรพากรจะทำการโอนเงินภาษี ที่ได้อนุมัติคืนเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารที่ลงทะเบียนพร้อมเพย์ สำหรับบุคคลธรรมดาสัญชาติไทยที่ลงทะเบียนพร้อมเพย์ด้วยเลขประจำตัวประชาชนกับบัญชีเงินฝากธนาคาร และได้แจ้งความประสงค์ขอรับเงินคืนเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารดังกล่าว ซึ่งเป็นช่องทางที่ผู้ขอคืนเงินภาษีเกินกว่า 90% เลือกใช้บริการในปีภาษีที่ผ่านมา
การคืนเงินผ่านสาขา บมจ.ธนาคารกรุงไทย และ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)
- กรณีผู้ขอคืนเงินภาษีไม่ประสงค์รับเงินภาษีคืนด้วยการโอนเงินภาษีคืนเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารที่ลงทะเบียนพร้อมเพย์ กรมสรรพากรจะออกหนังสือแจ้งคืนเงินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ค.21) เป็นหลักฐานเพื่อนำไปติดต่อรับเงินคืนที่สาขาธนาคารธนาคารกรุงไทย หรือธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
การคืนเงินสำหรับผู้ขอคืนที่ไม่สามารถลงทะเบียนพร้อมเพย์ด้วยเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก
- กรณี ชาวต่างชาติ ห้างหุ้นส่วนสามัญ คณะบุคคล วิสาหกิจชุมชน และกองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง กรมสรรพากรจะออกหนังสือ ค.21 (หนังสือแจ้งคืนเงินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา) พร้อมเช็ค โดยจัดส่งทางไปรษณีย์ตามที่อยู่บนแบบแสดงรายการให้ผู้ขอคืน เพื่อนำไปเข้าบัญชีเงินฝากที่สาขาธนาคารเท่านั้น
* สำหรับผู้ขอคืนที่ได้รับ ค.21 ก่อนวันที่ 1 มกราคม 2565 ที่ยังไม่ได้ขอคืนเงินที่สาขาธนาคาร และ ค.21 หมดอายุ ให้ยื่นคำร้องขอออกเช็คคืนเงินภาษี ที่ สำนักงานสรรพากรพื้นที่ กรมสรรพากรจะออก ค.21 ฉบับใหม่พร้อมเช็คและจัดส่งทางไปรษณีย์ให้ผู้ขอคืนต่อไป
“ยื่น ภาษี ออนไลน์” ได้ถึง 8 เมษายน 2565 นี้ เท่านั้น เกินกว่านี้ระวังโดนปรับ
นางสมหมาย ศิริอุดมเศรษฐ โฆษกกรมสรรพากร เปิดเผยว่า กรมสรรพากรเปิดให้ประชาชนผู้มีเงินได้สามารถยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภ.ง.ด.90 และ ภ.ง.ด.91 ประจำปี 2564 ผ่านช่องทางออนไลน์ ได้จนถึงวันที่ 8 เมษายน 2565 เวลา 24.00 น. หากพ้นกำหนดดังกล่าว จะต้องเสียค่าปรับอาญาไม่เกิน 2,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 1.5
“วิธีการยื่นภาษีนั้นให้เข้าไปที่เว็บไซต์ www.rd.go.th คลิกที่เมนู ยื่นแบบ จากนั้นกรอกข้อมูลตามขั้นตอน ระบบจะคำนวณสิทธิลดหย่อนภาษีให้อัตโนมัติในทันที ซึ่งเป็นวิธีที่ง่ายและสะดวก สามารถยื่นแบบได้ทุกที่ ทุกเวลา ขอเชิญชวนผู้มีเงินได้ ยื่นแบบภาษีตามกำหนด โดยกรมสรรพากรจะนำรายได้จากการจัดเก็บภาษีประจำปี นำส่งรัฐบาลเพื่อจัดสรรและนำไปใช้จ่ายในการบริหารประเทศต่อไป”
วิธีการ “ยื่น ภาษี ออนไลน์” ผ่านระบบ E-Filing สามารถทำได้ ดังนี้
- เปิดเว็บไซต์ของกรมสรรพากรเพื่อสมัครสมาชิก efiling.rd.go.th : คลิกที่นี่
- เลือก ยื่นแบบออนไลน์ : คลิกที่นี่
- กรอกข้อมูลส่วนตัว ชื่อ วัน เดือน ปีเกิด และเลขหลังบัตรประชาชน จากนั้นกด ตรวจสอบ
- กรอกข้อมูลที่อยู่ พร้อมเลือกวิธีที่จะใช้ยืนยันตัวตน สามารถเลือกได้ระหว่าง โทรศัพท์มือถือ และ อีเมล
- หากเลือกยืนยันตัวตนผ่านเบอร์โทรศัพท์มือถือ ให้กรอกรหัส OTP ที่ได้รับภายใน 5 นาที
- กำหนดคำถามสำหรับใช้ในการยืนยัน กรณีหากลืมรหัสผ่าน
- กดยืนยันการลงทะเบียน
ทางลัด ตรวจสอบข้อมูลการขอ คืนเงินภาษี
- หลังจากยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.90 และ ภ.ง.ด.91 พร้อมยื่นขอคืนเงินภาษี แล้ว สามารถตรวจสอบสถานะคืนเงินภาษี หรือสอบถามข้อมูลการขอคืนเงินภาษีได้ 3 ช่องทาง ดังนี้
- ผ่านเว็บไซต์ กรมสรรพากร www.rd.go.th เลือกเมนู สอบถามการขอคืนเงินภาษี หรือเข้าเมนูลัด : คลิกที่นี่ (กรณียื่นแบบฯ กระดาษ สามารถตรวจสอบได้ภายหลังจากวันที่ยื่นแบบฯ แล้ว 1 วัน)
- ศูนย์บริการข้อมูลสรรพากร (RD Call Center) : 1161
- สำนักงานสรรพากรพื้นที่ตามภูมิลำเนาที่ปรากฏตามการยื่นแบบฯ
“ยื่น ภาษี ออนไลน์” แล้วสามารถ ตรวจสอบผลการขอคืน ผ่านทางเว็บไซต์ www.rd.go.th : คลิกที่นี่
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
-