"อาการลองโควิดมีอะไรบ้าง" รักษายังไง เช็คด่วน อาการที่พบบ่อยที่สุด 3 อันดับแรก มีอะไรบ้าง กรมอนามัย แนะเคล็ดลับ วิธีฟื้นฟูร่างกาย ง่าย ๆ แค่ปรับพฤติกรรม
ข่าวที่น่าสนใจ
“อาการลองโควิดมีอะไรบ้าง” พบได้บ่อยแค่ไหน ?
ผู้ป่วย โควิด-19 บางรายจะประสบกับ กลุ่มอาการหลัง โควิด-19 ซึ่งประกอบด้วยอาการเรื้อรังจำนวนมาก เรียกสิ่งนี้ว่า ภาวะหลัง โควิด-19 หรือ ลองโควิด อาการเหล่านี้อาจเกิดขึ้นทันทีหลังจากที่ผู้ป่วยฟื้นตัวจากการติดเชื้อ โควิด-19 แบบเฉียบพลัน หรืออาจเป็นอาการที่เกิดขึ้นตั้งแต่ที่เริ่มป่วย และยังคงไม่หายไป อาการเหล่านี้อาจผันผวน หรือกลับมาอีกเมื่อเวลาผ่านไป ภาวะหลัง โควิด-19 สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคนที่ติดเชื้อ โควิด-19 แม้ว่าจะมีอาการเพียงเล็กน้อยหรือไม่มีอาการในช่วงแรกก็ตาม
200 อาการ ที่มีการรายงาน อาการที่พบบ่อยที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่
- หายใจไม่อิ่ม
- สมองล้า
- อ่อนเพลีย
อาการที่พบได้ไม่บ่อยเท่า ได้แก่
- เจ็บหน้าอก
- มีปัญหาในการพูด
- วิตกกังวล หรือ ซึมเศร้า
- ปวดกล้ามเนื้อ
- มีไข้
- สูญเสียการได้กลิ่น และการรู้รสชาติ
รายงานเบื้องต้น ระบุว่า ผู้ป่วย โควิด-19 ประมาณร้อยละ 10 – 20 จะยังคงมีอาการเรื้อรังเป็นเวลาหลายสัปดาห์หรือหลายเดือนหลังจากการติดเชื้อ SARS-CoV-2 แบบเฉียบพลัน อย่างไรก็ตาม โควิด-19 ยังคงเป็นโรคที่ค่อนข้างใหม่ และต้องมีการศึกษาเพิ่มเติม เพื่อให้ทราบว่าผู้ป่วยกลุ่มใดที่เสี่ยงต่อการได้รับผลกระทบระยะยาวเหล่านี้ และเพื่อให้เข้าใจสาเหตุของภาวะดังกล่าวมากขึ้น
องค์การอนามัยโลก แนะนำว่า ผู้ป่วยที่ติดเชื้อ โควิด-19 (ทั้งที่ได้รับการยืนยันและสงสัยว่าติด) ควรได้รับการดูแลและติดตามหากพบว่าตนมีอาการเรื้อรัง อาการใหม่ หรืออาการที่เปลี่ยนแปลงไป และควรได้รับการดูแลในหลายมิติ ทั้งจากผู้ให้บริการปฐมภูมิ (บุคลากรทางการแพทย์) ผู้เชี่ยวชาญด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพ เจ้าหน้าที่สังคมสงเคราะห์ เจ้าหน้าที่จิตสังคม และผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิต
3 เคล็ดลับ วิธีฟื้นฟูร่างกายผู้ป่วย ลองโควิด
- กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข แนะ 3 เคล็ดลับ ให้ผู้ป่วย ลองโควิด ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ด้วยการนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ มีกิจกรรมทางกายที่เหมาะสม และยืดเหยียดกล้ามเนื้อ เพื่อช่วยให้ปอดแข็งแรง ฟื้นฟูร่างกาย สร้างสุขภาพที่ดี
- นอนหลับพักผ่อนให้เหมาะสม
- ฝึกหายใจเข้าและออก โดยในแต่ละครั้งใช้เวลาประมาณ 5 วินาที ทำ 10 ครั้ง
- ควรมีการยืดเหยียดกล้ามเนื้อ บริเวณกล้ามเนื้อบริเวณหลังส่วนบน สะบัก และลำตัวด้านข้าง เพราะเป็นกลุ่มกล้ามเนื้อที่ช่วยขยายกระบังลมและซี่โครง ทำให้หายใจได้ดีขึ้น
ข่าวที่เกี่ยวข้อง