"เคลมประกันโควิด" ยังไงให้ได้เงิน กรณีรักษาแบบ HI หรือ CI และ Hotel Isolation คำถามยอดฮิตที่หลายคนกังวล คปภ. มีคำตอบให้แล้ว เช็คได้ที่นี่
ข่าวที่น่าสนใจ
“เคลมประกันโควิด” ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดอย่างมากในปัจจุบัน ทางระบบสาธารณสุขจึงได้แบ่งเกณฑ์อาการผู้ป่วยออกเป็น 3 สี โดยผู้ป่วยที่อาการไม่รุนแรง หรือกลุ่มผู้ป่วยสีเขียว จะได้รับการแนะแนวทางการรักษาตัวเอง ทั้งแบบ Home Isolation (HI) การกักตัวในชุมชน Community Isolation (CI) หรือ การกักตัว/รักษาตัวที่โรงแรม Hotel Isolation ซึ่งอาจจะทำให้การเคลมมีปัญหา เนื่องจากไม่ตรงตามเงื่อนไข และอาจจะไม่ได้เงินประกันก็เป็นไปได้
จนกระทั่งเมื่อวันที่ 16 มีนาคมที่ผ่านมา ทางคปภ. ได้ข้อยุติกรณีจ่ายเคลมประกันโควิด ในการรักษาอาการป่วยแบบ Home Isolation (HI), Community Isolation (CI) และ Hotel Isolation ด้วยการ อนุโลมจ่าย เพื่อลดข้อพิพาทและบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ป่วย เตรียมออกเป็นคำสั่งนายทะเบียนฯ มีผลบังคับใช้ต่อไป
ประเด็นที่ 1 : การจ่ายค่ารักษาพยาบาล กรณีรักษาตัวแบบ Home Isolation (HI) แบบ Community Isolation (CI) หรือแบบ Hotel Isolation
- กรณีที่กรมธรรม์ประกันภัยมีความคุ้มครองแบบผู้ป่วยนอกเพียงอย่างเดียว ให้อนุโลมจ่ายค่าใช้จ่ายตามที่เกิดขึ้นจริงแต่ไม่เกินวงเงินความคุ้มครองแบบผู้ป่วยนอก หรือกรณีที่กรมธรรม์ประกันภัยมี
- ความคุ้มครองแบบผู้ป่วยในเพียงอย่างเดียว ให้อนุโลมจ่ายค่าใช้จ่ายตามที่เกิดขึ้นจริงแต่ไม่เกินวงเงินความคุ้มครองแบบผู้ป่วยใน และไม่เกิน 12,000 บาท
- ส่วนกรณีที่กรมธรรม์ประกันภัยมีความคุ้มครองแบบผู้ป่วยนอกและแบบผู้ป่วยใน ให้อนุโลมจ่ายค่าใช้จ่ายตามที่เกิดขึ้นจริง แต่ไม่เกินวงเงินความคุ้มครองแบบผู้ป่วยนอก หากมีค่าใช้จ่ายที่เกินกว่าวงเงินความคุ้มครองแบบผู้ป่วยนอก ให้อนุโลมจ่ายค่าใช้จ่ายตามที่เกิดขึ้นจริงแต่ไม่เกินวงเงินความคุ้มครองแบบผู้ป่วยใน และไม่เกิน 12,000 บาท
ประเด็นที่ 2 : “เคลมประกันโควิด” การจ่ายค่าชดเชยรายวันหรือค่าชดเชยรายได้ กรณีรักษาตัวแบบ Home Isolation (HI) แบบ Community Isolation (CI) หรือแบบ Hotel Isolation จะอนุโลมการจ่ายค่าชดเชยรายวันหรือค่าชดเชยรายได้ เฉพาะกรณีผู้เอาประกันภัยที่ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ที่มีผลตรวจโดยวิธี RT-PCR และมีปัจจัยเสี่ยงข้อใดข้อหนึ่งที่จะต้องเข้ารักษาตัวเป็นผู้ป่วยในในสถานพยาบาล แต่ไม่มีสถานพยาบาลรองรับ ดังต่อไปนี้
- อายุมากกว่า 60 ปี
- โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD)
- โรคปอดเรื้อรังอื่น ๆ
- โรคไตเรื้อรัง (CKD)
- โรคหัวใจและหลอดเลือด
- โรคหัวใจแต่กำเนิด
- โรคหลอดเลือดสมอง
- เบาหวานที่ควบคุมไม่ได้
- ภาวะอ้วน (น้ำหนักมากกว่า 90 กก. หรือ BMI ตั้งแต่ 30 กก./ตร.ม. ขึ้นไป)
- ตับแข็ง
- ภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ และ lymphocyte น้อยกว่า 1,000 เซลล์/ลบ.มม.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง