"ยารักษาโควิด" เปิดประสิทธิภาพกันชัด ๆ แต่ละยี่ห้อมีความแตกต่างกันอย่างไร ค่ารักษาเท่าไหร่ แบบไหนดีที่สุด หาคำตอบได้ที่นี่
ข่าวที่น่าสนใจ
เมื่อวันที่ 19 มีนาคมที่ผ่านมา นพ.มานัส โพธาภรณ์ รองอธิบดีกรมการแพทย์ ได้อธิบายถึงการใช้ “ยารักษาโควิด” ทั้ง 4 ตัวที่ใช้อยู่ในประเทศไทย ได้แก่
- ฟาวิพาราเวียร์ (Favipiravir)
- เรมเดซิเวียร์ (Remdesivir)
- โมลนูพิราเวียร์ (Molnupiravir)
- แพ็กซ์โลวิด (Paxlovid)
เปิดทุกข้อสงสัยทั้งประสิทธิภาพ ปริมาณการใช้ และค่าใช้จ่าย ว่า ผู้เชี่ยวชาญได้ติดตามข้อมูลทั้งในประเทศและต่างประเทศ พร้อมปรับแนวทางการรักษาอย่างอย่างต่อเนื่อง ดังนี้
1. ฟาวิพิราเวียร์ (Favipiravir)
- สามารถยับยั้งการเพิ่มจำนวนของไวรัสได้
- ผู้ป่วยที่ใช้ยาฟาวิพิราเวียร์ มีอาการดีขึ้น เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้รับ โดยเฉพาะในช่วง 14 วัน สัดส่วนอาการดีขึ้นถึง 86.9%
- ใช้ในผู้ป่วยทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ที่มีอาการเล็กน้อยถึงปานกลาง กลุ่มเสี่ยง โดยช่วงไตรมาส 2-3 อาจพิจารณาให้ใช้ในหญิงตั้งครรภ์ได้
- ค่ารักษาต่อคอร์สอยู่ที่ 800 บาท
2. เรมเดซิเวียร์ (Remdesivir)
- สามารถยับยั้งการเพิ่มจำนวนของไวรัสได้ เช่นเดียวกับฟาวิพิราเวียร์
- US FDA รับรองใช้ในภาวะฉุกเฉิน
- ให้ทางหลอดเลือดดำ (ตอบโจทย์ผู้ป่วยที่รับประทานยาไม่ได้ มีปัญหาการดูดซึม และสามารถใช้ได้ในหญิงตั้งครรภ์)
- ผู้ป่วยที่ได้รับยาเรมเดซิเวียร์ ใช้เวลาในการรักษาตัว 10 วัน
- ค่ารักษาต่อคอร์สอยู่ที่ 1,512 บาท
3. โมลนูพิราเวียร์ (Molnupiravir)
- กลไกการทำงานเหมือนฟาวิพิราเวียร์และเรมเดซิเวียร์
- ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดอาการรุนแรง (ขนาดยา 800 มก.) แบ่งเป็น 200 มก. จำนวน 4 แคปซูล
- ต้องได้รับภายใน 5 วันหลัง หลังรับการวินิจฉัยเริ่มมีอาการ
- ค่ารักษาต่อคอร์สอยู่ที่ประมาณ 1 หมื่นบาท
4. แพ็กซ์โลวิด (Paxlovid)
- ทำให้จำนวนเชื้อลดลง
- หากทานภายใน 5 วันหลังมีอาการ สามารถลดความเสี่ยงการนอนโรงพยาบาลลง 88%
- ใช้ในผู้ป่วยอาการน้อยถึงปานกลาง เน้นในกลุ่มเสี่ยงที่จะเกิดอาการรุนแรง ห้ามใช้ในหญิงตั้งครรภ์และหญิงให้นมบุตร
- ค่ารักษาต่อคอร์สอยู่ที่ประมาณ 1 หมื่นบาท
ข่าวที่เกี่ยวข้อง