"โรคลมแดด" เผย 4 อาการ เป็นสัญญาณอันตราย รีบป้องกันด่วน กรมอนามัยเปิดคำอธิบายชัด มีอะไรบ้าง
ข่าวที่น่าสนใจ
“โรคลมแดด” คืออะไร?
โรคลมแดด หรือ โรคลมร้อน หรือที่หลายคนคุ้นเคยกับอีกชื่อหนึ่งว่า Heatstoke เป็นภาวะที่เกิดจากร่างกายมีความร้อนสูงเกินไป เกิดขึ้นเมื่ออุณหภูมิร่างกายสูง 40 องศาเซลเซียส (104 ฟาเรนไฮต์) หรือมากกว่า และมักจะเกิดในช่วงฤดูร้อนหรือบริเวณที่มีความชื้นในอากาศสูง ภาวะนี้ อาจทำให้เกิดอันตรายต่ออวัยวะสำคัญ เช่น สมอง หัวใจ ปอด ไต และกล้ามเนื้อได้ หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องอย่างทันท่วงที ที่สำคัญหากผู้ป่วยได้รับการรักษาที่ล่าช้าจะมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนที่อันตราย โดยบางรายถึงขั้นพิการและเสียชีวิตได้
สาเหตุ แบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ ได้แก่
- Exertional Heatstroke : เกิดจากการที่ต้องอยู่ในสภาวะแวดล้อมที่อุณหภูมิสูง ทำให้อุณหภูมิร่างกายสูงตาม มักพบในผู้ที่อยู่ในบริเวณที่อากาศร้อนและชื้นเป็นเวลานาน
- Exertional Heatstroke : อุณหภูมิร่างกายสูงขึ้นจากการทำงานหรือออกกำลังกายอย่างหนักในบริเวณที่มีอุณหภูมิสูง การสวมใส่เสื้อผ้าที่หนาและมากเกินไปจนเหงื่อระเหยและระบายความร้อนได้ยาก ภาวะขาดสารน้ำ การดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งทำให้กลไกการควบคุมอุณหภูมิร่างกายผิดปกติไปก็เป็นสาเหตุร่วมที่ทำให้เกิด Heatstroke ได้
อาการสำคัญ
- เหงื่อไม่ออก
- สับสน มึนงง
- ผิวหนังเป็นสีแดง และแห้ง
- ตัวร้อนจัด
นอกจากนี้ ยังอาจเกิดอาการชักหรือหมดสติได้ ร่วมกับหัวใจเต้นเร็ว อัตราการหายใจเพิ่มขึ้น
หากพบผู้ป่วยที่มีอาการดังกล่าวให้โทร 1669 และควรทำการปฐมพยาบาลเบื้องต้น
- โดยการพาผู้ป่วยหลบเข้าที่ร่ม หรือห้องที่มีความเย็น
- นอนราบ ยกเท้าและสะโพกสูง
- ถอดเสื้อผ้าให้เหลือเท่าที่จำเป็น
- ใช้ผ้าชุบน้ำเย็นเช็ดตามตัว
- ใช้พัดลมเป่าหรือวางถุงน้ำแข็งที่คอ รักแร้ และขาหนีบ
- หากผู้ป่วยหมดสติ ให้จับนอนตะแคง เพื่อป้องกันโคนสิ้นอุดทางเดินหายใจ
- และนำส่งโรงพยาบาลโดยเร็วด้วยรถปรับอากาศ
- หรือเปิดหน้าต่างรถ เพื่อให้อากาศถ่ายเท
วิธีป้องกัน
- ในช่วงที่อากาศร้อนควรอยู่ในอาคาร บริเวณที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก หรือสถานที่ที่มีเครื่องปรับอากาศ
- สวมเสื้อผ้าสีอ่อน หลวม มีน้ำหนักเบา ระบายอากาศได้ดี
- ดื่มน้ำสะอาดบ่อย ๆ ประมาณ 10-12 แก้วต่อวัน
- หลีกเสี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ ชา กาแฟ และเครื่องดื่มที่มีปริมาณน้ำตาลสูง
- อาบน้ำบ่อย ๆ ไม่เปิดพัดลมแบบจ่อตัว เพราะ พัดลมจะดูดความร้อนเข้ามาหาตัว ควรเปิดพัดลมแบบส่าย และเปิดหน้าต่างระบายอากาศ
- หากมีอาการที่เกี่ยวข้องกับความร้อนควรรีบแจ้งบุคคลใกล้ชิดทันที
- หลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมกลางแจ้ง
- หากจำเป็นต้องอยู่กลางแจ้งเป็นเวลานาน ควรป้องกันตนเองด้วยการสวมหมวกปีกกว้าง สวมแว่นกันแดด กางร่ม และทาครีมกันแดดที่มีค่า SPF ตั้งแต่ 15 ขึ้นไป
ข้อมูล : กรมอนามัย และ โรงพยาบาลกรุงเทพฯ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง