“เงินขาดรายได้” หายป่วยโควิดแล้ว ผู้ประกันตนจะขอเงินชดเชยจากประกันสังคม ต้องไปยื่นที่ไหน ใช้เอกสารเยอะไหม? มีเอกสารอะไรบ้าง?
ข่าวที่น่าสนใจ
รู้หรือไม่? ผู้ประกันตนทั้งมาตรา 33, 39 และมาตรา 40 สามารถขอเงินชดเชยหลังติดโควิดได้ภายใน 2 ปี ดาวน์โหลดแบบฟอร์มแล้วส่งมาให้สำนักงานประกันสังคม พร้อมสำเนาบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ให้เรียบร้อย ทางสำนักงานประกันสังคมจะดำเนินการโอนเงินเข้าบัญชีให้ตามที่ยื่นมา โดยมีเงื่อนไขและรายละเอียด ดังนี้
กรณีขอรับเงินทดแทนการขาดรายได้
หลักเกณฑ์และเงื่อนไข
- หากผู้ประกันตนลาป่วย โดยได้รับค่าจ้างจากนายจ้างครบ 30 วัน ตามกฎหมายของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ต้องหยุดงานตามคำสั่งแพทย์ต่อไปอีก
- สำนักงานประกันสังคมจะจ่ายเงินทดแทนการขาดรายได้ ทดแทนการขาดรายได้ร้อยละ 50 ของค่าจ้าง ครั้งละไม่เกิน 90 วันในรอบปีจ่ายให้ปีละไม่เกิน 180 วัน เว้นแต่ เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังไม่เกิน 365 วัน
- ในกรณีที่ผู้ประกันตนมีสิทธิได้รับค่าจ้างจากนายจ้างในระหว่างหยุดงาน เพื่อการรักษาพยาบาลตามกฎหมายของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน หรือมีสิทธิตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานสัญญาจ้างแรงงาน หรือข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างแล้วแต่ กรณี ผู้ประกันตนไม่มีสิทธิได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้จนกว่าสิทธิที่ได้รับเงินค่าจ้างนั้นได้สิ้นสุด จึงจะมีสิทธิได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ดังกล่าวเท่ากับระยะเวลาที่คงเหลือ
เอกสารประกอบการยื่นคำขอรับสิทธิประโยชน์
- แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน (สปส.2-01 )
- ใบรับรองแพทย์
- หนังสือรับรองจากนายจ้าง
- สำเนาบัตรประชาชนหรือบัตรอื่นที่ทางราชการออกให้
- สถิติวันลาของผู้ยื่นคำขอ
- หลักฐานอื่น ๆ ที่ทางเจ้าหน้าที่ขอเพิ่มเติมเพื่อประกอบการพิจารณา
- สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากประเภทออมทรัพย์ของธนาคารหน้าแรกที่มีชื่อ–เลขที่บัญชี (กรณีขอรับเงินทางธนาคาร)
ข่าวที่เกี่ยวข้อง