ขอแสดงความเสียใจ สิ้น”ศ.เสน่ห์ จามริก”อดีตประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

สิ้น! ศ.เสน่ห์ จามริก วัย 95 ปี อดีตประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

นายกฤษฎา บุญชัย เลขาธิการสถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา โพสต์ข้อความผ่านเฟชบุ๊ก ว่า ทราบข่าวจากญาติ อ.เสน่ห์ จามริก ได้จากไปสู่สุคติแล้วเมื่อเช้ามืดวันนี้ ส่วนจะจัดงานที่วัดไหน ทางญาติจะแจ้งให้ทราบในวันนี้ครับ
สำหรับประวัติ ศาสตราจารย์ ดร.เสน่ห์ จามริก เป็นนักวิชาการด้านรัฐศาสตร์ เสียชีวิต ด้วยวัย 95 ปี (เกิดเมื่อวันที่ 11 กรกฏาคม 2470) เป็นนักวิชาการด้านรัฐศาสตร์ และนักวิชาการด้านสิทธิมนุษยชน ประะธานสหภาพเพื่อสิทธิเสรีภาพของประชาชน ประธานที่ปรึกษาคณะกรรมการรับข้อมูลและสืบพยานเหตุการณ์ 6 ตุลา 2519 อดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และเป็นอดีตประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ประวัติการทำงานและผลงาน ของ ดร.เสน่ห์ จามริก มีดังนี้

ข่าวที่น่าสนใจ

เริ่มรับราชการ ในปี 2492-93 ที่กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ และย้ายไปรับราชการในกรมการเมือง กระทรวงการต่างประเทศ ถึงปี 2496 ได้รับทุนไปเรียนต่อที่ประเทศอังกฤษ จนสำเร็จการศึกษาได้ปริญญา B.A. in Administration จากมหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์ ต่อมาในปี 2500 ศึกษาต่อในระดับปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัยปารีส ประเทศฝรั่งเศส
พ.ศ. 2503-2530 อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์ จนเกษียณอายุราชการ
พ.ศ. 2516-2517 ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2516
พ.ศ. 2518 ร่วมก่อตั้งสหภาพเพื่อสิทธิเสรีภาพของประชาชน (ปัจจุบันคือ สมาคมสิทธิเสรีภาพประชาชน หรือ สสส.) และได้รับเลือกตั้งเป็นประธาน หัวหน้าโครงการรัฐศาสตร์ศึกษา และหัวหน้าสาขาวิชาการต่างประเทศ
พ.ศ. 2518 รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
พ.ศ. 2518 ได้รับตำแหน่งศาสตราจารย์ ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในปีเดียวกันนี้เอง อาจารย์เสน่ห์ แต่งงานกับแพทย์หญิงอำนวยศรี (สกุลเดิม ชุตินธร)

นอกจากนี้ยังมีบทบาททางด้านการวิจัยและสนับสนุนการวิจัยหลายด้าน เช่น หัวหน้าโครงการวิจัย “พัฒนาการสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย” ของมูลนิธิฟอร์ด และมูลนิธิเอเชีย ,ประธานมูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, ผู้อำนวยการสถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, นายกสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย และกรรมการ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ)

หลังจากเกษียณอายุราชการ ก็ได้รับรางวัลนักสิทธิมนุษยชนดีเด่น และทำงานร่วมกับองค์กรพัฒนาเอกชนอีกหลายแห่ง งานที่ทำล้วนเน้นหนักไปทางด้านชนบท ชุมชนท้องถิ่น สิทธิมนุษยชน ตำแหน่งสำคัญคือ ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ในระหว่างปี พ.ศ. 2544 ถึงปี พ.ศ. 2552

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

“อนุทิน” แจงพรรคร่วมฯคุยนายกฯ ยกเหตุผลเลื่อนร่างกม.เอ็นเตอร์เทนเมนต์ฯ ยันไม่ใช่เพราะคนต้านหนัก
"ซินเคอหยวน" เลื่อนแถลงข้อเท็จจริง ปมเหล็กสร้างตึก สตง. ไม่ได้มาตรฐาน
“เชียงใหม่” แตกตื่น! แผ่นดินไหว 12 ครั้งซ้อน “นักธรณีฯ” เผยเกิดจากสิ่งนี้
‘ช่างเบิร์ด’ ให้ข้อมูลดีเอสไอ เปิดรายชื่อซับคอนแทรครายใหญ่ "ตึกสตง." ขณะบ.เอกชนจีน ขอเจรจาเงินติดค้าง
"สรวงศ์" โต้ข่าวลือ " ทักษิณ" ขู่ไล่พรรคร่วม หากไม่โหวตหนุนกฎหมายกาสิโน ท้าโชว์หลักฐาน
"นายกฯ" พูดชัดไม่ถอนญัตติ ร่าง พ.ร.บ.เอ็นเตอร์เทนเมนต์+กาสิโน ชี้เป็นโอกาสทางศก. แต่ถูกบิดเบือนเป็นการเมือง
"บางจากฯ" ลดราคาน้ำมันกลุ่มไฮพรีเมียมทั้งเบนซิน-ดีเซล ลิตรละ 5 บาท ทั่วประเทศ
"นฤมล" ยันชัดต้องไม่นำผลประโยชน์เกษตรกรไทย ใช้เป็นเงื่อนไขต่อรอง เจรจาบรรเทามาตรการภาษีสหรัฐ
ย้อนนาทีระทึก! CCTV แผ่นดินไหว 7.7 เขย่า “วัดพม่า” ปูนแตก-เสาถล่ม
"ตร.ภูธรภาค 3" ระดมกำลังพลกว่า 4,600 นาย ช่วยอำนวยความสะดวก-ดูแลความปลอดภัยให้ ปชช.ช่วงเทศกาลสงกรานต์

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น