"เด็กติดโควิด" กลายเป็นเรื่องช็อกประชนชนไม่น้อย เมื่อแพทย์เผยเคสเด็ก 2 ราย ร่างกายแข็งแรง ไม่มีโรคประจำตัว กลับมีอาการทางสมองอย่างรุนแรง สุดท้ายชีวิต
ข่าวที่น่าสนใจ
เคส “เด็กติดโควิด” นี้ เผยแพร่บนโซเชียล เมื่อวันที่ 6 เมษายนที่ผ่านมา โดย นพ. กุลเสฎฐ ศักดิ์พิชัยสกุล แพทย์เชี่ยวชาญ โรคระบบประสาทวิทยา, โรคลมชัก กลุ่มงานกุมารเวชศาสตร์-งานประสาทวิทยา สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี ได้อธิบายผ่าน Facebook ส่วนตัว โดยระบุว่า ลังเลอยู่นานว่าจะโพสต์เรื่องนี้เกี่ยวกับโควิดดีไหม เพราะก่อนหน้านี้ที่ระบาดระลอกก่อนหน้านี้ ยอมรับว่า ในฐานะหมอสมองเด็ก ไม่ค่อยได้ดูโควิดเท่าไรเพราะเด็กติดเชื้อน้อยกว่า และมักไม่มีอาการทางสมอง ได้แต่ติดตามรายงานจากของต่างประเทศ
จนฤดูกาลโอมิครอนหรือ โอไมครอน (Omicron) เริ่มได้รับคำปรึกษาอาการทางระบบประสาทบ่อยขึ้นในทุกช่องทางจากทั่วสารทิศ ก็สามารถดูแลได้ จน 2 อาทิตย์ที่ผ่านมา ได้รับปรึกษาเคสเด็ก 2 ราย จากคนละจังหวัด (อายุ 6 และ 8 ปี) ไม่มีโรคประจำตัวมาก่อน มีอาการทางสมองอย่างรุนแรง คือ
- ไข้
- ชัก
- ซึมลงเหมือนกัน อย่างรวดเร็วภายในชั่วโมงถึงวัน
หลังจากที่ได้รับคำปรึกษาจึงขอดูภาพถ่ายสมองที่ดูเผิน ๆ อาจจะไม่มีอะไรมาก (ภาษาหมอ คือ สมองบวมเป็นหย่อม) แต่พอได้ดูภาพด้วยตัวเองแล้ว เป็นไปตามที่คิดไว้ คือ มีรอยโรคอยู่ตำแหน่งจำเพาะของสมอง คือ thalamus 2 ข้าง ซึ่งถ้าในฐานะหมอสมองเด็ก ก็วินิจฉัยว่า “acute necrotizing encephalopathy (ANE)” ซึ่งพบบ่อยในไวรัสหลายชนิดโดยเฉพาะไข้หวัดใหญ่ กลไกการเกิดโรคยังไม่รู้แน่ชัด แต่จากข้อมูลที่มี คือ “cytokine storm”
น่าเสียดายที่ไม่สามารถช่วยเด็ก 2 คนนี้ไว้ได้ เพราะ โรครุนแรงมากจริง ๆ สมองเสียการทำงานไปหมด (ส่วนตัวก็ยังไม่มั่นใจวินิจฉัยเร็วจะช่วยได้มากแค่ไหน) สุดท้ายเลยคิดว่าการโพสต์นี้อาจะช่วยเพิ่มความตระหนักให้ทั้งหมอเด็ก และประชาชนทั่วไปเกี่ยวกับโควิดและอาการทางสมองแบบรุนแรง
ขอย้ำว่าอาการรุนแรงแบบนี้พบน้อยมากครับ ถ้าเทียบกับจำนวนติดเชื้อทั้งหมด แต่เพื่อเป็นการเพิ่มความตระหนัก สำหรับแพทย์ ถ้ามีอาการ ไข้ ชัก ร่วมกับซึม *ย้ำว่าซึมและนอนหลับมาก* จะเป็นอาการเด่นในภาวะนี้ ซึ่งต่างจากคนส่วนใหญ่ที่มีไข้ และอาการชักโดยที่หลังชัก จะฟื้นคืนสติเหมือนเดิม ให้ยากันชักก็มักจะควบคุมอาการชักได้และปลอดภัย ถ้าเด็กมีอาการซึม ขอให้แพทย์ทำสแกนสมองและดูตำแหน่ง thalamus 2 ข้างให้ดี (เหมือนในภาพขวา จะมีจุดดำเล็กๆ ทั้ง 2 ข้าง) เพื่อการวินิจฉัยภาวะนี้และรีบปรึกษาแพทย์เฉพาะทาง เพราะ การส่งตัวน่าจะช้าในช่วงนี้ สำหรับประชาชนทั่วไป คงได้แต่ให้รีบพาไปฉีดวัคซีนสำหรับเด็ก สำหรับคนที่ยังไม่ได้รับวัคซีน จากหลักฐานปัจจุบันที่ยืนยันวัคซีนว่าลดความรุนแรงได้
ข้อมูล : Kullasate Sakpichaisakul
ข่าวที่เกี่ยวข้อง