ก่อน “เกษียณ” 65 บำเหน็จ บำนาญ แบบไหนดีกว่ากัน เจาะลึกที่นี่

เกษียณ, บำเหน็จ,​บำนาญ

ก่อน "เกษียณ" อายุ วางแผนการเงินกันหรือยัง บำเหน็จ บำนาญ รับแบบไหนดีกว่ากัน เจาะลึกทุกรายละเอียดที่นี่

ก่อน “เกษียณ” อายุ ลองวางแผนการเงินกันไว้หรือยัง? จะรับเงินบำเหน็จ หรือ บำนาญดี? แบบไหนจะดีกว่ากัน TOP News รวมข้อมูล พร้อมเจาะลึกทุกข้อสงสัยไว้ที่นี่แล้ว

ข่าวที่น่าสนใจ

บำเหน็จ – บำนาญ แตกต่างกันอย่างไร?

  • บำเหน็จ คือ การรับเงินแบบก้อนใหญ่ในครั้งเดียว
  • บำนาญ คือ การรับเงินเดือนไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะเสียชีวิต

วิธีการคำนวณบำนาญ

  • บํานาญรายเดือน คํานวณจากนําเงินเดือนเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย แล้วนํามาคูณด้วยอายุราชการ หารด้วย 50 แต่ต้องไม่เกิน 70% ของเงินเดือนเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย

หลักเกณฑ์ในการรับบำนาญ

  • ต้องทำงานและมีอายุราชการ 10 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป ราชการให้ออกโดยที่ไม่ได้มีความผิดใด ๆ
  • จะรับเงินได้ต้องมาจากการออก เพราะ ครบวัยเกษียณอายุ
  • กรณีที่โดนให้ออกจากราชการ เพราะ เหตุทุพพลภาพ หรือ การสูญเสียอวัยวะในส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายจนไม่สามารถที่จะทำงานได้ตามปกติ ซึ่งมีผลต่อการใช้ชีวิต หรือต่อการปฏิบัติหน้าที่การงานไปตลอดชีวิต เช่น แขนขาขาด ตาบอด เป็นอัมพาต เป็นต้น ยังสามารถรับบำนาญตามปกติ
  • หากลาออกจากราชการเมื่อมีอายุครบ 50 ปีบริบูรณ์ สามารถรับบำนาญได้เช่นกัน

เกษียณ, บำเหน็จ,​บำนาญ

เงื่อนไข

  • หากเสียชีวิตไปแล้ว ทายาทก็จะได้รับเงินก้อนเป็น 30 เท่าของบำนาญ
  • กรณีที่ไม่มีทายาทหรือกรณีที่ทายาทเสียชีวิต และเจ้าของเงินไม่ได้ระบุทายาทไว้ บำนาญก้อนนั้นก็จะเป็นอันยุติลงทันที

สิทธิ์ประโยชน์ที่จะได้รับนอกเหนือจากสวัสดิการ ได้แก่

  • เงินก้อนจาก กบข. ประกอบด้วย เงินชดเชย เงินประเดิม เงินสะสม เงินสมทบ และเงินจากผลประโยชน์ตอบ แทนเงินส่วนนี้เป็นเงินก้อนใหญ่ก้อนแรกที่ทาง กบข. จัดให้ สามารถดูยอดเงินก้อนนี้ได้จากใบแจ้งยอดของ กบข. ที่แจ้งมาให้ทราบในทุกสิ้นปี พร้อมกับหลักฐานเพื่อลดหย่อนภาษีประจําปี
  • หากรับบําเหน็จดํารงชีพ จะได้ 15 เท่าของบํานาญรายเดือน แต่ไม่เกิน 400,000 บาท หากคิดตามตัวอย่างจะเป็นเงิน 315,000 บาท โดยจะจ่ายเมื่อปลดเกษียณ 200,000 บาท เมื่อครบ 65 ปี จ่ายอีก 115,000 บาท
  • รับบําเหน็จตกทอด เมื่อผู้รับบํานาญถึงแก่กรรมก็จะมีบําเหน็จตกทอดแก่ทายาทอีก 30 เท่าของบํานาญรายเดือน

เกษียณ, บำเหน็จ,​บำนาญ

วิธีการคำนวณบําเหน็จ

  • คํานวณจากนําเงินเดือนเฉลี่ย 50 เดือนสุดท้ายคูณด้วยอายุราชการ

หลักเกณฑ์ในการรับบำเหน็จ

  • ในกรณีที่มีเวลาราชการไม่ถึง 10 ปีบริบูรณ์ ก็มีสิทธิ์รับเงินได้แต่จะต้องมีเหตุผล ดังนี้

1. ออกจากราชการเพราะเหตุทุพพลภาพ

2. ราชการให้ออกด้วยเหตุผลทดแทน

  • ลาออกเมื่ออายุ 50 บริบูรณ์
  • ออก เพราะ ถึงวัยและเลือกรับบำเหน็จ
  • ลาออกจากราชการ มีอายุครบ 10 ปี แต่ไม่ถึง 25 ปีบริบูรณ์

สิทธิ์ประโยชน์ที่จะได้รับนอกเหนือจากสวัสดิการ ได้แก่

  • เงินก้อนจาก กบข. ประกอบด้วยเงินสะสม เงินสมทบ และเงินจากผลประโยชน์ตอบแทน เงินส่วนนี้เป็นเงินก้อนใหญ่ก้อนแรกที่ทาง กบข. จัดให้ สามารถดูยอดเงินก้อนนี้ได้จากใบแจ้งยอดของ กบข. ที่แจ้งมาให้ทราบในทุกสิ้นปี พร้อมกับหลักฐานเพื่อลดหย่อนภาษีประจําปีของคุณ

ส่วนคำถามที่ว่าบำเหน็จหรือบำนาญ แบบไหนดีกว่ากันนั้น ขึ้นอยู่กับผู้รับมากกว่า ว่าแบบไหนตอบโจทย์มากกว่ากัน อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ต้องระวังหากรับเงินก้อนจำนวนมาก ๆ คือ กลุ่มมิจฉาชีพ ที่มักจะหากลเม็ดมาหลอกล่อให้ลงทุนสร้างผลตอบแทนสูง ๆ หรือหลอกขายสินค้าต่าง ๆ ที่อยู่ในความสนใจของผู้สูงอายุในราคาสูง ควรระมัดระวังในการตัดสินใจให้ดี

เกษียณ, บำเหน็จ,​บำนาญ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"แกนนำภูมิใจไทย" ผนึกกำลังหาเสียง หนุน "ไสว" ชิงเก้าอี้ เลือกตั้งซ่อมสส.นครศรีฯ มั่นใจผลงานพรรค
"ดีเอสไอ" จ่อเรียกสอบ 40 วิศวกร คดีตึกสตง.ถล่ม
"ฉก.ลาดหญ้า" ยันเหตุปะทะในประเทศเมียนมา ยังไม่มีผลกระทบชายแดนไทย
บางจาก ศรีราชา และ GISTDA ผนึกกำลังกับสวนสัตว์เปิดเขาเขียว ร่วมสร้างอนาคต นกกาฮัง และ การฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพ
“กรมอุตุฯ” เตือนรับมือ "พายุฤดูร้อน" ฉบับ 2 ถล่มไทยตอนบน 26 เม.ย.- 1 พ.ค.นี้
“ดร.เฉลิมชัย” ลงพื้นที่ติดตามโครงการศึกษา สำรวจและพัฒนาแหล่งน้ำบาดาลในพื้นที่เสี่ยงกร่อยเค็ม ตำบลอุ่มเม้า อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด แก้ปัญหาให้ประชาชน 15 หมู่บ้าน กว่า 7,200 คน มีน้ำกินน้ำใช้ตลอดปี
"ผอ.สปภ." เผย ตึกสตง.ถล่ม ลดซากเหลือ 7 เมตร จนท.ตัดเหล็กขนย้ายได้เร็วขึ้น คาดเสร็จสิ้นเดือนเม.ย.นี้
แฉกลโกงออนไลน์! ใช้ชื่อ ‘ธนินท์’ ลวงซ้ำ – ซีพีเอาผิดไม่เว้น
DITP โชว์ผลงานจัดกิจกรรมส่งออก 7 เดือน สร้างรายได้เข้าประเทศ 36,921 ล้าน ผู้ประกอบการได้ประโยชน์ 42,409 ราย
"กระทรวงยุติธรรม" เปิดตัวโครงการ "รวมพลังอาสาสมัครราชทัณฑ์ คืนคนดีสู่สังคม"

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น