ย้อน 30 ปี รถไฟฟ้า BTS เผชิญสารพัดปัญหา ไม่ง่ายถึงวันนี้ดูแลคนกรุงฯ

ถือเป็นหนึ่งสีสันทางการเมือง สำหรับแผนพัฒนาระบบขนส่งมวลชน โดยเฉพาะ โครงการรถไฟฟ้าสีเขียว บีทีเอส ผ่านนโยบายต่าง ๆ เพื่อชักชวนให้ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง มาลงคะแนนให้ผู้สมัครแต่ละคนในการชิงเก้าอี้ผู้ว่าฯกรุงเทพมหานคร ที่กำลังจะมาถึงในวันที่ 22 พฤษภาคม 2565 นี้

ดังนั้นเพื่อให้เกิดความเข้าใจอย่างชัดเจนมากยิ่งขึ้น เกี่ยวกับโครงการรถไฟฟ้า บีทีเอส เราจะย้อนกลับไปดูจุดเริ่มต้นของ รถไฟฟ้าสายแรกของประเทศไทย อีกครั้ง ว่า กว่าจะเป็นทุกวันนี้ได้ ต้องผ่านปัญหามามากมาย และจนถึงวันนี้ ก็มียังปัญหาให้ต้องติดตาม แก้ไข เพื่อทำให้คุณภาพชีวิตคนกทม.ดีขึ้น

ทั้งนี้รถไฟฟ้าสายสีเขียว หรือ รถไฟฟ้าบีทีเอส เกิดขึ้น ในปี 2535 ตามคำชักชวน ของพล.ต.จำลอง ศรีเมือง เมื่อครั้งเป็นผู้ว่าฯกทม. ในเข้ามาช่วยแก้วิกฤตการจราจรกทม. แต่ก็ไม่ได้ประสบผลสำเร็จอย่างที่คาดหวังทันที

 

ข่าวที่น่าสนใจ

เพราะผ่านไป 7 ปี หรือในปี 2542 เมื่อรถไฟฟ้าบีทีเอส เปิดให้บริการ ปรากฎว่ากิจการรถไฟฟ้าบีทีเอส เริ่มต้นด้วยภาวะการขาดทุนอย่างหนัก จากเหตุผู้โดยสารยังไม่มีจำนวนมากพอ จะสร้างผลตอบแทนในเชิงธุรกิจ โดยมีคนใช้รถไฟฟ้าเฉลี่ยแล้วประมาณ 150,000-160,000 คน และมีรายต่อวัน 4-5 ล้านบาทเท่านั้น และเป็นตัวเลขคงที่มาจนถึงสิ้นปี 2543 น้อยกว่าที่คาดการณ์จากเป้าหมายตั้งไว้ว่าต้องมีผู้โดยสารถึง 4-5 แสนคน

กอรปกับช่วงเวลานั้้น ทั้งประเทศยังตกอยู่ในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ สถาบันการเงินหลายแห่งถูกปิด โครงการที่อยู่อาศัยหลายโครงการถูกทิ้งเงินดาวน์ คนว่างงานเพิ่มขึ้น ทำให้ราคาค่าโดยสารถูกมองว่าเป็นเรื่อแพงไปโดยปริยาย ไม่นับรวมปัญหาสำคัญอย่างการเป็นระบบขนส่งมวลชน ที่ไม่มีเครือข่ายเชื่อมต่อ หรือมีระยะเส้นทางเพียง 24 กิโลเมตร

สิ่งที่เกิดขึ้น ณ เวลานั้น คือภาระดอกเบี้ยวันละ 10 ล้าน ตัวเลขขาดทุนมากถึง 16,247 ล้านบาท และมีภาระหนี้สินสูงมากกว่า 59,834 ล้านบาท คือ สิ่งที่ คีรี กาญจนพาสน์ ในฐานะประธานบริษัท บีทีเอส ต้องแบกรับไว้ทั้งหมด ก่อนตัดสินใจเลือกนำบริษัท เข้าสู่กระบวนการแผนฟื้นฟูและปรับโครงสร้างหนี้ เพื่อประคับประคองให้ธุรกิจรถไฟฟ้า สามารถดูแลให้บริการผู้โดยสารชาวกทม.ได้ต่อไป และถือเป็นบทเรียนหนึ่งล้ำค่าที่สุดในการทำธุรกิจสาธารณูปโภคขนาดใหญ่ในเมืองไทย ที่ลงทุนด้วยภาคเอกชนทั้งสิ้น 100%

 

ผ่านมา 23 ปี ในวันที่กทม.กำลังจะมีการเลือกตั้งผู้ว่าฯ หลายโครงการพัฒนาถูกนำมาเป็นประเด็น เพื่อสร้างคะแนนนิยมให้กับแต่ละผู้สมัคร ขณะที่ ในช่วงกว่า 2 ปีทีผ่านมา รถไฟฟ้าบีทีเอส ต้องเผชิญสารพัดปัญหา ทั้งสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด -19 และความไม่ชัดเจน เรื่องแผนการร่วมลงทุนรัฐ-เอกชน ตามมนโยบายของพล.อ.ประยุทธ์ ที่ยืดเยื้อมานาน เพราะ การทักท้วงของกระทรวงคมนาคม ในประเด็นต่าง ๆ

และ กทม. รวมถึง บริษัทกรุงเทพธนาคม ในฐานะผู้รับผิดชอบ เชิญชวนให้ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ บีทีเอสซี มารับผิดชอบบริหารโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยายจากเส้นทางสัมปทานเดิม ให้เต็มครบ 70 สถานี ระยะทางการบริการ เพิ่มเป็น 68.25 กม. ก็ไม่อยู่ในสถานะจะรับภาระค่าใช้จ่าย ใด ๆ ได้เลย

ผลก็คือการเกิดขึ้นของมูลหนี้ค้างชำระ ทั้ง 1.หนี้สินเดิมจากการรับโอนโครงการรถไฟฟ้าสีเขียวจากรฟม. หรือ เงินต้นค่าโยธา ประมาณ 55,000 ล้านบาท + ดอกเบี้ย กว่า 10,000 ล้านบาท 2.หนี้สินค่าลงทุนงานระบบไฟฟ้า (E&M) กว่า 20,000 ล้านบาท 3.ภาระหนี้ค่าจ้างงานเดินรถ ค้างจ่าย กว่า 10,000 ล้านบาท จนกลายเป็นต้นทุนที่ บีทีเอสซี ในฐานะภาคเอชน ต้องรับผิดชอบแต่ฝ่ายเดียว ในขณะที่การดูแลผู้โดยสารรถไฟฟ้า ต้องดำเนินต่อไปด้วยความรับผิดชอบต่อภาคสังคม และเฝ้ารอ ว่า กทม. และ รัฐบาลภายใต้การนำของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา จะมีข้อสรุปเรื่องนี้ได้เมื่อไหร่ อย่างไร

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

อากาศวันนี้ "อุตุฯ" เตือน 49 จังหวัด รับมือฝนถล่ม-ลมแรง
DSI หารือ 3 หน่วยงาน แบ่งภารกิจคลี่ปม "ตึกสตง." ถล่ม
จนท.นำรถแบคโฮเคลียร์พื้นที่ ทำทางขึ้นรถเครนยักษ์ เพื่อนำร่างผู้สูญหายที่เหลือออกมา
"นฤมล-ธรรมนัส" ร่วมต้อนรับ "วีระพงษ์" นายกอบจ.มุกดาหาร สมัครสมาชิก พรรคกล้าธรรม มั่นใจอนาคตเลือกตั้งสนามใหญ่
"เสธหิ" พูดกระแทกใจ "อันที่สุดของไทยนั้นคือชาติ หากพินาศแล้วใครอยู่ได้หนอ"
สาวสุดช็อก จองตั๋วเครื่องบินไป จ.สกลนคร ราคาสูงทะลุ 1.4 หมื่นบาท
เกาหลีใต้จ่อเพิ่มการนำเข้าก๊าซ LNG จากสหรัฐ
สิงคโปร์ชี้สหรัฐทำลายระบบการค้าเสรีที่สร้างมากับมือ
เกาหลีใต้ประกาศเลือกตั้ง 3 มิถุนายน
อั้นไว้ก่อน ค่อยเติม พรุ่งนี้น้ำมันลด "เบนซิน-แก๊สโซฮอล์" ทุกชนิด ปรับราคาลง

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น