"ติดโควิดห้ามกินอะไร" เมนูอาหารและเครื่องดื่มไหนบ้างที่ส่งผลกระทบต่อร่างกาย ยกเว้นด่วน หากไม่อยากป่วยหนัก
ข่าวที่น่าสนใจ
ผู้ที่มีอาการไอ คัดจมูก คันคอ มีน้ำมูก มีเสมหะ ควรงดเว้นอาหาร ดังต่อไปนี้
1. น้ำเย็น
- รวมไปถึงน้ำแข็ง เนื่องจาก ความเย็นทำให้เกิดอาการระคายเคือง เยื่อจมูกบวม ส่งผลให้มีน้ำมูกและเสมหะ อาการไอหนักขึ้นกว่าเดิมได้ ควรดื่มน้ำอุณหภูมิห้องหรือน้ำอุ่นแทน
2. น้ำหวาน น้ำอัดลม ชา กาแฟ ไอศกรีม
- เมื่อติดโควิด หลายคนอาจจะอยากทานของหวานเป็นพิเศษ แต่รู้ไหมว่า หากฝืนกินในช่วงนี้ จะทำให้ระบบทางเดินหายใจระคายเคืองหนักกว่าเดิม แน่นอนว่าน้ำมูก และเสมหะจัดเต็มแน่ ซึ่งอาจพ่วงอาการไอเพิ่มด้วย
- นอกจากนี้ เครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของคาเฟอีน ยังทำให้ร่างกายขาดน้ำ หากกินมากไป อาจทำให้น้ำมูกและเสมหะข้นเหนียวได้
3. เครื่องดื่มแอลกอฮอล์
- ต่อให้ไม่ติดโควิด ก็รู้กิตติศัพท์กันดีอยู่แล้วว่าแอลกอฮอล์จะส่งผลอย่างไรต่อร่างกาย ยิ่งฝืนดื่มช่วงนี้ยิ่งแล้วใหญ่ เพราะ แอลกอฮอล์จะเข้าไปทำลายภูมิคุ้มกันของร่างกาย อาจทำให้หายจากโควิดได้ยากขึ้น
- ยิ่งดื่มเย็น ๆ ก็ยิ่งเพิ่มเสมหะ และน้ำมูกเข้าไปใหญ่
4. เมนูทอด
- ยิ่งกระตุ้นให้เกิดอาการคันคอ และกระตุ้นการอักเสบในร่างกาย ทำให้อาการไอหนักมากขึ้น
5. อาหารรสจัด
- พอลิ้นเริ่มไม่รับรส หลายก็อยากทานอาหารรสจัด เผื่อจะได้รับรสกันบ้าง แต่รู้ไหมว่า อาหารเหล่านี้จะยิ่งซ้ำอาการให้หนักขึ้นกว่าเดิม เพราะ อาจทำให้เกิดการระคายเคืองทางหลอดอาหาร กระตุ้นอาการไอ อาการคันคอ หลีกเลี่ยงได้จะเป็นการดีที่สุด
6. ขนมขบเคี้ยว
- ฟิลลิ่งเดียวกับอาการเป็นหวัดหรือไอ เพราะ ขนมเหล่านี้ จะยิ่งกระตุ้นอาการคันคอ ทำให้ไอหนักกว่าเดิมนั่นเอง
7. ข้าวเหนียว
- หากมีอาการไอ และเจ็บคมร่วมด้วย ควรงดเมนูนี้ด่วน ๆ เพราะ เป็นอาหารที่กลืนยาก อาจทำให้ระคายเคืองคอได้ ยิ่งกินคู่กับเมนูยอดฮิตอย่างหมูปิ้ง ไก่ทอด ก็ยิ่งเสริมเสมหะให้หนักหน่วงเพิ่มขึ้นอีกด้วย
8. อาหารที่มีส่วนผสมของเนยและชีส
- ไม่ว่าจะเป็นเมนูขนมปัง แฮมเบอเกอร์ หรืออะไรก็ตาม ควรงดก่อนเลย เพราะ อาหารเหล่านี้อาจทำให้คันคอได้
ผู้ที่มีอาการอาหารไม่ย่อย คลื่นไส้ มีลมในกระเพาะ หรือถ่ายเหลว “ติดโควิดห้ามกินอะไร” ดังต่อไปนี้
1. อาหารหมักดองต่าง ๆ
- เพราะ อาจเสี่ยงต่อการปนเปื้อนของเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งอาจกระตุ้นอาการท้องเสีย ถ่ายเหลวให้รุนแรงได้
2. โยเกิร์ต
- เป็นอีกหนึ่งเมนูที่เสี่ยงต่อการปนเปื้อนของเชื้อแบคทีเรีย และยังเป็นผลิตภัณฑ์จากนม หากมีอาการท้องเสีย ควรหลีกเลี่ยงก่อน
3. น้ำแข็ง
- รวมไปถึงเมนูที่ใช้น้ำแข็งเป็นส่วนประกอบไม่ว่าจะเป็นปังเย็น น้ำปั่นด้วย เพราะนอกจากจะทำให้อาการไอหนักกว่าเดิมแล้ว ยังเสี่ยงต่อการปนเปื้อนของเชื้อโรคหรือเชื้อแบคทีเรียก่อโรคได้
4. อาหารจำพวกเนื้อสัตว์
- หลีกเลี่ยงอาหารกลุ่มนี้ไปก่อน เพราะ อาจจะทำให้อาหารย่อยยากว่าเดิม และทำให้คลื่นไส้ได้
5. อาหารที่ไม่ผ่านการปรุงสุก
- ไม่ใช่แค่พวกเนื้อสัตว์เพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่รวมไปถึงอาหารจะพวกสลัด เพราะเป็นการเพิ่มความเสี่ยงต่อการปนเปื้อนของเชื้อแบคทีเรียก่อโรค และอาจทำให้มีอาการแทรกซ้อนอื่น ๆ ได้
6. ผลไม้สดสำเร็จรูป
- ควรเลือกทานผลไม้ปลอกสดใหม่ ๆ เพื่อลดความเสี่ยงในการท้องเสีย หลีกเลี่ยงผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว เพราะ อาจทำให้ท้องเสียหนักกว่าเดิมได้
7. อาหารจำพวกตระกูลถั่ว
- เนื่องจาก ถั่วมีน้ำตาลที่ร่างกายไม่สามารถย่อยได้ หากกินเข้าไปร่างกายก็จะพยายามย่อยน้ำตาลชนิดนี้ด้วยการหยุดหลั่งเอนไซม์ ทำให้แบคทีเรียในลำไส้ทำหน้าที่ย่อยแทน สิ่งที่ตามมา คือ การอัดแน่นของแก๊สในลำไส้ ทำให้รู้สึกจุกเสียด แน่นเฟ้อได้
กลุ่มที่มีอาการปวดเมื่อย อ่อนเพลีย
เครื่องดื่มชูกำลัง
- เพราะ เครื่องดื่มเหล่านี้มีคาเฟอีน ที่อาจกระตุ้นอัตราการเต้นของหัวใจ ทำให้รู้สึกใจสั่น นอนไม่หลับ จนเป็นสาเหตุให้พักผ่อนไม่เพียงพอได้
อาหารที่ควรหลีกเลี่ยงตามโรคประจำตัว
- หากผู้ป่วยมีโรคประจำตัว ควรระมัดระวังในการเลือกกินอาหารเป็นพิเศษ โดยเฉพาะเมนูที่ส่งผลต่อโรค
ข่าวที่เกี่ยวข้อง