“ส.ว.สมชาย” ค้านแนวทางลดโทษ กรณี 8 ปี ถามเอาเกณฑ์มาจากไหน

"ปธ.กมธ.สิทธิฯ ส.ว." ค้าน แนวทางลดโทษ กรณี 8 ปี ถามเอาเกณฑ์มาจากไหน จี้ "นายกฯ" สอบจนท.ราชทัณฑ์

เมื่อวันที่ 13 เม.ย. นายสมชาย แสวงการ สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ในฐานะประธานกรรมาธิการ (กมธ.) สิทธิมนุษยชน สิทธิเสรีภาพ และการคุ้มครองผู้บริโภค วุฒิสภา กล่าวถึงกรณีที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) รับทราบการปรับปรุงแนวทางการจัดชั้น เลื่อนชั้นนักโทษ เพื่อให้มีแนวทางที่ชัดเจนต่อการอภัยโทษว่า ในประเด็นมาตรการที่กำหนดให้นักโทษที่จะได้รับอภัยโทษ ไม่ว่าลดโทษหรือปล่อยตัว ต้องรับโทษมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 หรือจำคุกมาแล้ว 8 ปี หรือแล้วแต่ระยะเวลาใดถึงก่อน ตนสงสัยว่า เกณฑ์ 8 ปีนั้นนำมาจากไหน หากเป็นนักโทษที่ต้องติดคุก 50 ปี ถึงตลอดชีวิต แต่ได้รับสิทธิลดโทษตามระยะปลอดภัย 8 ปีเหมาะสมหรือไม่ ตนเห็นว่าควรยึดเกณฑ์การรับโทษมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 เป็นเกณฑ์เดียว หรือกำหนดเวลารับโทษจำคุกมาแล้ว 15 ปี ซึ่งกรณีดังกล่าวนั้นตนมีข้อเสนอให้ ส.ส.รับไปพิจารณา คือการแก้ไขประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เพื่อให้ใช้เป็นเกณฑ์ดำเนินการในอนาคต เนื่องจากส.ว.ไม่สามารถเสนอร่างกฎหมายให้สภาฯ พิจารณาได้

 

ข่าวที่น่าสนใจ

นายสมชาย กล่าวด้วยว่า สำหรับการให้อภัยโทษตามพระราชกฤษฎีกานั้น ตนยืนยันว่าพระราชกฤษฎีกานั้นไม่ผิด และไม่ต้องแก้ไข แต่ประเด็นที่ควรตรวจสอบคือการใช้ดุลยพินิจของบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการพิจารณาลดโทษให้กับนักโทษที่มีความพิรุธ คือ พิจารณาลดโทษนักโทษ 3 ครั้งในปีเดียว ซึ่งพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม หรือนายสมศักดิ์ เทพสุทิน รมว.ยุติธรรม สามารถสั่งการให้ทุกเรือนจำส่งรายงานการพิจารณาการลดโทษนักโทษที่ได้รับการลดโทษติดต่อกัน 3 ครั้งใน1 ปีให้ตรวจสอบได้ ซึ่งตนเชื่อว่ามีหลักสิบถึงหลักร้อยคนเท่านั้น

“สิ่งที่ต้องตรวจสอบว่าการใช้ดุลยพินิจดังกล่าวใช้กับนักโทษทั่วไป ที่มีกว่า 2-3แสนคนหรือไม่ หรือใช้กับบางคนบางกรณีเท่านั้น เพราะเท่าที่ทราบพบว่ามีนักโทษบางคดี ที่ศาลพิพากษาจำคุก 100 ปี ในคดีฉ้อโกง ติดคุกจริงเพียง 3ปีเศษ และล่าสุดได้รับการปล่อยตัวแล้ว ดังนั้นกรณีที่เกิดขึ้นต้องทำให้เป็นตัวอย่างเพื่อป้องกันในอีกหลายกรณีที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ไม่ให้เกิดการใช้ดุลยพินิจที่ฉ้อฉล หากเรื่องนี้ไม่แก้ไขความผิดพลาด สังคมต้องตั้งคำถามต่อไป และหากไม่แก้สังคมไม่ยอมแน่” นายสมชาย กล่าว

เมื่อถามว่ากรณีที่สังคมคาใจ แต่ผู้บริหารไม่แก้ไขจะเข้าข่ายละเว้นการปฏิบัติหน้าที่หรือไม่ นายสมชาย กล่าวว่า เชื่อว่าจะมีคนดำเนินการ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 หากพบว่าทุจริต ซึ่งตนไม่ได้กล่าวหา แต่สงสัยว่ากติกาที่ใช้นั้น ใช้กับนักโทษทุกคนหรือไม่ โดยเรื่องนี้สามารถตรวจสอบได้ว่าในปี 2564 มีนักโทษกี่คนที่กรมราชทัณฑ์ลดโทษให้ 3 ครั้ง เหลือกี่ปี ขณะที่ศาลพิพากษาจำคุกกี่ปี และเปิดเผยต่อสาธารณะ ถ้าทำถูกคือถูก แต่อย่าอ้างว่าพระราชกฤษฎีกาอัยโทษผิด เพราะไม่เกี่ยว แต่ที่ผิดคือ คนเสนอเรื่องและใช้ดุลยพินิจ

“เรื่องนี้ผมมองว่า คณะกรรมการป้องกันและปราบปราการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ควรตั้งอนุไต่สวน เพราะเป็นผู้แทนของรัฐและของประชาชนที่ตรวจสอบคดีจำนำข้าว ที่สร้างความเสียหายให้ประเทศกว่า 5 แสนล้านบาท อีกทั้งป.ป.ช. ได้สร้างมาตรฐานทางจริยธรรมในคดีของน.ส.ปารีณา ไกรคุปต์ อดีตส.ส.ราชบุรี พรรคพลังประชารัฐมาแล้ว ดังนั้นบทบาทของป.ป.ช.สามารถทำได้ ทั้งเรียกเอกสาร ดำเนินคดี ถ้าไม่ทำอาจมีคนยื่นไต่สวนท่านเหมือนกัน” นายสมชาย กล่าว

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

“แม่สามารถ” เครียดจัด ผูกคอคาห้องขังดีเอสไอ จนท.ช่วยระทึก ห่วงลูกจะอดข้าวประท้วง ขอความเป็นธรรม
เคราะห์ร้าย ! หนุ่มวัย 18 ปี ขี่จยย. ถูกกันสาดหล่นใส่หัวเจ็บสาหัส
ยูเครนลั่นไม่ทำลายทุ่นระเบิดอ้างถูกรัสเซียรุกราน
ผบ.ตร.สั่งตรวจสอบดำเนินคดี “กลุ่มน้ำไม่อาบ” ทุกมิติ พร้อมเอาผิดตามหลักฐานคลิปที่ปรากฏ
ขุนเขา ‘ฮว่าซาน’ ่ของจีนสวยสะกดยามห่มหิมะขาว
ทหารพรานจัดกำลังตรวจค้นเก็บกู้บ่วงดักสัตว์ป่า
ผลักดัน ! แรงงานต่างด้าวมากกว่า 100 ราย ออกนอกประเทศ หวั่นเกรงมาสร้างความวุ่นวายในพื้นที่
เมืองคอนน้ำท่วมหนักหลายพื้นที่ หากผลไม่หยุดตกคืนนี้ตัวเมืองอ่วมอรทัยแน่นอน-ในเบื้องต้นนายอำเภอ,นายกเล็กฯจับมือศูนย์ข่าวนคร 24 ชั่วโมงสมาคมสื่อมวลชนและชมรมรถจิ๊ปลุยช่วยชาวบ้านแล้ว-เรียกร้องเจ้าพนักงานที่ดินเด้งตรวจสอบนายทุนถมลำคลองปิดกั้นทางน้ำว่าออกโฉนดที่ดินโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่
โซเชียลถามกลับ “พรรคส้ม” รู้ยังมีทหารไว้ทำไม? หลังเกิดเหตุการณ์ "กลุ่มว้าแดงและทหารไทย"
ผบ.สอ.รฝ.ประดับเครื่องหมายเลื่อนยศ นักรบต่อสู้อากาศยาน 46 นาย

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น