"TGAT/TPAT66" ทปอ. ปรับสอบ TCAS66 ลองใช้คอมพิวเตอร์ ปรับรายวิชาสอบให้มีเนื้อหาไม่เกินหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน วิชาสอบไม่ซ้ำซ้อน เลิกงง เช็คที่นี่
ข่าวที่น่าสนใจ
“TGAT/TPAT66” ล่าสุด เมื่อวันที่ 17 เมษายน 2565 รศ.ดร.ชาลี เจริญลาภนพรัตน์ รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ผู้จัดการระบบสอบ TCAS65 ของที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) เปิดเผยว่า ทปอ. มีมติเปลี่ยนแปลงระบบทีแคส (TCAS) ปีการศึกษา 2566 โดยมีสาระสำคัญ คือ การปรับรายวิชาสอบให้มีเนื้อหาไม่เกินหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน วิชาสอบไม่ซ้ำซ้อน โดยเดิมจะเป็นการสอบความถนัดทั่วไป หรือ GAT และความถนัดทางวิชาการ/วิชาชีพ หรือ PAT และวิชาสามัญ รวมทั้งการสอบของกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย (กสพท) สำหรับ ทีแคส 2566 (TCAS66) จะจัดข้อสอบใหม่ โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้
- กลุ่มที่ 1 คือ วัดความถนัดทั่วไป ไม่เน้นความรู้เชิงวิชาการ เรียกว่า General Aptitude Test หรือ TGAT คือ การสอบวิชา GAT เดิม 2 ส่วน ได้แก่ การสื่อสารภาษาอังกฤษ และการคิดอย่างมีเหตุผล ส่วน TGAT จะเป็น 3 ส่วน คือ การสื่อสารภาษาอังกฤษ, การคิดอย่างมีเหตุผล และสมรรถนะการทำงาน ส่วนการวัดความถนัดวิชาชีพ เรียกว่า Professional Aptitude Test หรือ TPAT ประกอบด้วยการสอบในกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย (กสพท) ศิลปกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศกรรมศาสตร์ สถาปัตยกรรมศาสตร์ และครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ โดยการสอบ TGAT/ TPAT มีวิชาสอบจำนวน 6 วิชา
- กลุ่มที่ 2 คือ วัดความรู้เชิงวิชาการ หรือ Applied Knowledge Level หรือ A-Level เนื้อหาความรู้เชิงวิชาการจะไม่เกินหลักสูตร เป็นการวัดความรู้เชิงประยุกต์ หรือการสอบวิชาสามัญ เดิมสอบ 9 วิชา สำหรับ A-Level จะเพิ่มวิชาสอบเป็น 15 วิชา คือ คณิตศาสตร์ประยุกต์ 1 คณิตศาสตร์ประยุกต์ 2 วิทยาศาสตร์ประยุกต์ ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา สังคมศึกษา ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และภาษาต่างประเทศอื่น ๆ โดยผู้สอบสามารถเลือกสอบได้สูงสุด 10 วิชา โดยการสอบ TGAT/TPAT และ A-Level จะแยก 2 ช่วง เพื่อลดการกระจุกตัวของการสอบ โดยการสอบ TGAT/TPAT จะรับสมัครเดือน พฤศจิกายน 2565 สอบเดือนธันวาคม 2565 และการสอบ A-Level จะสมัครช่วงเดือน กุมภาพันธ์ 2566 สอบเดือน มีนาคม 2566
ทีแคส 2566 (TCAS66) จะมีการนำร่องให้การสอบ “TGAT/TPAT66” ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ในสนามสอบที่ ทปอ. จัดเตรียมเครื่องคอมพิวเตอร์ไว้ ซึ่งจะใช้มหาวิทยาลัยของ ทปอ. เป็นสนามสอบ และสอบคู่กับการสอบด้วยข้อสอบกระดาษที่สนามสอบโรงเรียน โดยนักเรียนสามารถเลือกสอบด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือกระดาษก็ได้ ตามความสมัครใจ ซึ่งการสอบด้วยคอมพิวเตอร์นั้น เป็นแผนงานที่ ทปอ. วางไว้ ซึ่งเดิมจะสอบด้วยคอมพิวเตอร์ทั้งหมดในปี 2566 แต่มีข้อแสดงความห่วงใยเรื่องการดำเนินการ ปี 2566 จึงนำร่องการสอบคอมพิวเตอร์คู่กับกระดาษก่อน ซึ่ง ทปอ. เห็นว่าทุกการเปลี่ยนแปลงจะต้องค่อยเป็นค่อยไป ให้เด็กคุ้นเคย และจะมีการประชาสัมพันธ์เผยแพร่คลิประบบการสอบด้วยคอมพิวเตอร์ให้นักเรียนเข้าใจล่วงหน้า
“ขอยืนยันว่า ทปอ. มีการวางระบบการป้องกันการทุจริต การรั่วไหลของข้อสอบไว้ถึง 3 ขั้นตอน จึงเป็นเรื่องยากที่ข้อสอบจะรั่ว นอกจากนี้ “TGAT/TPAT66” การสอบด้วยระบบคอมพิวเตอร์เป็นระบบที่มีการทดสอบมาแล้วว่าสามารถใช้ในการสอบแข่งขันได้แน่นอน ระบบจะแจ้งเตือนว่าผู้สอบไม่ได้ทำข้อไหนบ้าง แม้ระบบอินเทอร์เน็ตจะล่ม หรือไฟดับ ก็สามารถสอบต่อได้ เพราะระบบมีการโหลดข้อมูลเก็บไว้แล้ว กรณีที่ไฟดับ ทางสนามสอบจะทดเวลาสอบให้ด้วย ถ้าการสอบด้วยระบบคอมพิวเตอร์ได้ผลตอบรับที่ดี จะขยายสอบด้วยระบบคอมพิวเตอร์ในปีถัดไปให้มากขึ้น”
“TGAT/TPAT66” ข้อสอบ TGAT/ TPAT คืออะไร?
- TGAT เป็นการสอบวัดสมรรถนะทั่วไป คะแนนเต็ม 300 คะแนน แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ดังนี้
- ENGLISH COMMUNICATION การสื่อสารภาษาอังกฤษ
- CRITICAL AND LOGICAL THINKING การคิดอย่างมีเหตุผล
- FUTURE WORKFORCE COMPETENCIES สมรรถนะในการทำงานในอนาคต
- Value Creation & Innovation : การสร้างคุณค่าและวัฒนธรรม
- Complex Problem Solving : การแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อน
- Emotional Governance : การบริการจัดการอารมณ์
- Civic Engagement : การมีส่วนร่วมและรับผิดชอบต่อสังคม
* จะรับสมัครเดือน พฤศจิกายน 2565 สอบเดือนธันวาคม 2565
** ใช้สำหรับการคัดเลือกในรอบที่ 1 Portfolio รอบที่ 2 โควตา และรอบที่ 3 แอดมิชชั่น
- “TGAT/TPAT66” TPAT มี 5 รายวิชา ได้แก่
- วิชาเฉพาะ กลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย (กสพท)
- ความถนัดทางศิลปกรรมศาสตร์
- ความถนัดทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์
- ความถนัดทางสถาปัตยกรรมศาสตร์
- ความถนัดทางครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์
* จะรับสมัครเดือน พฤศจิกายน 2565 สอบเดือนธันวาคม 2565
** ใช้สำหรับการคัดเลือกในรอบที่ 1 Portfolio รอบที่ 2 โควตา และรอบที่ 3 แอดมิชชั่นเช่นเดียวกัน
“TGAT/TPAT66” การสอบวิชาสามัญ เน้นนำความรู้ไปใช้ได้จริง
- วิชาสามัญ คะแนนเต็ม 100 คะแนน จะเน้นการนำความรู้ไปใช้งานได้จริง มีรายวิชา ดังนี้
คณิตศาสตร์ประยุกต์ 2 ส่วน คือ
- คณิตศาสตร์พื้นฐาน
- คณิตศาสตร์เพิ่มเติม
โดยโจทย์จะมีการออกแบบประยุกต์ให้ Advance มากยิ่งขึ้น ต่างจากข้อสอบปีก่อน ๆ ที่โจทย์ถามอย่างไร ตอบอย่างนั้น
*** สามารถเลือกสอบเพียงคณิตศาสตร์พื้นฐาน หรือ คณิตศาสตร์เพิ่มเติม และสามารถสอบ ทั้ง 2 ส่วนก็ได้ ขึ้นอยู่กับคณะ/สาขาวิชากำหนด
- วิทยาศาสตร์ประยุกต์ เป็นการปรับเปลี่ยนจากวิทยาศาสตร์ทั่วไป
- ฟิสิกส์
- เคมี
- ชีววิทยา
- ภาษาไทย
- สังคม
- ภาษาอังกฤษ
- ภาษาต่างประเทศอื่น ๆ มีการเพิ่มภาษาต่างประเทศมากขึ้นจาก PAT7 ได้แก่ ฝรั่งเศส เยอรมัน ญี่ปุ่น จีน อาหรับ บาลี เกาหลี
* จะสมัครช่วงเดือน กุมภาพันธ์ 2566 สอบเดือน มีนาคม 2566
** ใช้สำหรับการคัดเลือกในรอบที่ 2 โควตา และรอบที่ 3 แอดมิชชั่น
ทำความเข้าใจก่อนสอบคณิตศาสตร์ TCAS66
- สำหรับการสอบคณิตศาสตร์ประยุกต์ จะเปลี่ยนไปใน TCAS 66 โดย คณิตศาสตร์เพิ่มเติม : PAT1 ความถนัดทางคณิตศาสตร์ (เต็ม 300 คะแนน) และ คณิตศาสตร์ 1 วิชาสามัญ (เต็ม 100 คะแนน) ซึ่งจะถูกเปลี่ยนเป็น วิชาสามัญ คณิตศาสตร์ประยุกต์เพิ่มเติม (เต็ม 100 คะแนน) ส่วน คณิตศาสตร์พื้นฐาน : ONET คณิตศาสตร์ (เต็ม 100 คะแนน) และ คณิตศาสตร์ 2 วิชาสามัญ (เต็ม 100 คะแนน) ซึ่งจะถูกเปลี่ยนเป็น วิชาสามัญ คณิตศาสตร์ประยุกต์ (เต็ม 100 คะแนน)
การเลือกสอบจะมี 2 แบบ คือ
- สำหรับคณะที่ใช้คณิตศาสตร์เพิ่มเติม จะสอบทั้งวิชาสามัญคณิตศาสตร์ประยุกต์พื้นฐาน และเพิ่มเติม (หรือต้องสอบทั้ง 2 part)
- สำหรับคณะที่ใช้คณิตศาสตร์พื้นฐาน จะสอบแค่วิชาสามัญคณิตศาสตร์ประยุกต์พื้นฐานตัวเดียว
“TGAT/TPAT66” รูปแบบการสอบ TCAS66
- จะมีการนำร่องให้การสอบ TGAT/TPAT ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ในสนามสอบที่ ทปอ. จัดเตรียมเครื่องคอมพิวเตอร์ไว้ ซึ่งจะใช้มหาวิทยาลัยของ ทปอ. เป็นสนามสอบ และสอบคู่กับการสอบด้วยข้อสอบกระดาษที่สนามสอบโรงเรียน โดยนักเรียนสามารถเลือกสอบด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือกระดาษก็ได้ ตามความสมัครใจ
- การปรับรายวิชาสอบให้มีเนื้อหาไม่เกินหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
- วิชาสอบไม่ซ้ำซ้อน
รูปแบบการคัดเลือกยังคงเป็น 4 รอบ 4 รูปแบบ คือ
Portfolio
- เน้นความสามารถที่โดดเด่น
- พิจารณาจากผลงาน ไม่มีการสอบวัดความรู้ หรือสอบปฏิบัติ ใช้คะแนน GPAX, GAT/PAT ได้
Quota
- เน้นคนในพื้นที่ คุณสมบัติเฉพาะ เครือข่ายความร่วมมือ
- ใช้คะแนนสอบส่วนกลาง หรือมหาวิทยาลัยจัดสอบเอง (GPAX, GAT/PAT, วิชาสามัญ)
Admission
- เน้นการสอบส่วนกลาง (สทศ. และ กสพท)
- มหาวิทยาลัยกำหนดเกณฑ์คัดเลือกอย่างอิสระ (GPAX, GAT/PAT, วิชาสามัญ)
รับตรงอิสระ Direct Admission
- เน้นคนที่ยังไม่มีที่เรียน
- มหาวิทยาลัยกำหนดเกณฑ์คัดเลือกอย่างอิสระ (GPAX, GAT/PAT, วิชาสามัญ)
ทั้งนี้ ข้อมูลต่าง ๆ อาจมีการเปลี่ยนแปลง ขอให้ติดตามข้อมูลข่าวสารจาก ทปอ. , mytcas.com
- ทปอ., PAT, GAT, TCAS66, TGAT/TPAT66
ข่าวที่เกี่ยวข้อง