ความจริงรถไฟไทย ไม่มีตัวรถตั้งแต่สมัย ร.5 ใช้งานแล้ว

ความจริงรถไฟไทย ไม่มีตัวรถตั้งแต่สมัย ร.5 ใช้งานแล้ว ล่าสุดรฟท. สั่งซื้อเพิ่มจาก 50 คัน รับมอบล็อตแรกแล้ว 20 คัน เตรียมพลิกโฉมการให้บริการครั้งสำคัญ

จากประเด็นท่อนแร็ปบางท่อนที่ มิลลิ ดนุภา คณาธีรกุล แร็ปเปอร์สาว วัย 19 ปี ร้องบนเวทีเทศกาลดนตรีระดับโลก Coachella 2022 ที่แคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา ซึ่งได้สะท้อนปัญหาในไทยเช่น “เสาไฟกินรี ต้นละแสน รถไฟไทยสมัย ร.5 ใช้มาแล้ว 120 ปี” ทำให้ถูกบางฝ่ายนำมาเป็นประเด็นดราม่าในโลกออนไลน์ โดยเฉพาะการร้องว่า “รถไฟไทยสมัย ร.5 ใช้มาแล้ว 120 ปี” ผู้ที่ไม่ทราบข้อเท็จจริง ก็ได้นำมาล้อเลียนหรือวิจารณ์ประเทศตัวเอง ไปจนถึงเหน็บแนมรัฐบาล

อย่างไรก็ตามจากการตรวจสอบพบว่า เว็ปไซต์ TH.CARRO.CO ซึ่งได้รวบรวมข้อมูลรถไฟไทยที่วิ่งให้บริการประชาชน ข้อมูล ณ ปี 2563 รถไฟไทยโดยเฉพาะตัวรถจักร ไม่ได้ใช้รถจักรสมัยรัชกาลที่ 5 มาวิ่งให้บริการแล้ว เพราะปัจจุบันตัวรถจักรที่การรถไฟแห่งประเทศไทย หรือ รฟท. นำมาให้บริการประชาชน มีดังต่อไปนี้

 

 

1.รถจักรดีเซลไฟฟ้า Davenport รุ่น 500 แรงม้า รฟท. ได้นำเข้ามาใช้งานเมื่อปี 2507 จำนวน 30 คัน สร้างโดย บริษัท Davenport Locomotive Works ประเทศสหรัฐอเมริกา ราคาคันละ 1.16 ล้านบาท แต่ปัจจุบันรถจักรรุ่นนี้ จอดทิ้งอยู่ตามโรงรถจักร ยังมีเหลือใช้งานสับเปลี่ยน ภายในย่านสถานีใหญ่ๆ ตามต่างจังหวัดเพียงไม่กี่คัน

 

 

2.รถจักรดีเซลไฟฟ้า GE รุ่น UM12C หรือ GEK รฟท. ได้นำเข้ามาใช้งานเมื่อปี 2507 จำนวน 40 คัน สร้างโดย บริษัท General Electric ประเทศสหรัฐอเมริกา ราคาคันละ 4.5 ล้านบาท ปัจจุบันยังคงใช้งานอยู่ แม้ว่าจะมีอายุการใช้งาน 50 กว่าปีแล้วก็ตาม แต่ก็ยังสามารถใช้งานได้ดี ทั้งทำขบวนรถโดยสาร รถสินค้า หรือรถสับเปลี่ยน โดยคงเหลือใช้การได้ทั้งหมด 45 คัน และตัดบัญชีไป 5 คัน

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

3.รถจักรดีเซลไฮดรอลิก Krupp รฟท. ได้นำเข้ามาใช้งานเมื่อปี 2512 จำนวน 30 คัน สร้างโดย บริษัท Krupp ประเทศเยอรมนี ราคาคันละ 4.5 ล้านบาท ปัจจุบันเหลือวิ่งได้แค่เพียงคันเดียว เนื่องจากปัญหาการซ่อมแซม อะไหล่ที่หายาก

 

4.รถจักรดีเซลไฟฟ้า Alsthom รุ่น AD24C หรือ ALS รฟท. ได้นำเข้ามาใช้งานเมื่อเดือนกรกฎาคม – ธันวาคม 2517 และมกราคม – มิถุนายน 2518 จำนวน 54 คัน สร้างโดย บริษัท Alsthom Atlantique ประเทศฝรั่งเศส ราคาคันละ 11 ล้านบาท รุ่นนี้นับได้ว่าเป็นรถจักรรุ่นยอดนิยมมากที่สุดของ รฟท. เพราะสั่งผลิตถึง 4 ครั้งด้วยกัน

 

5.รถจักรดีเซลไฟฟ้า Alsthom รุ่น AD24C หรือ AHK รฟท.ได้นำเข้ามาใช้งานเมื่อปี 2523 – 2524 จำนวน 30 คัน สร้างโดย บริษัท Alsthom ประเทศฝรั่งเศส และเยอรมนี ราคาคันละ 23 ล้านบาท สำหรับมิติตัวรถ และรายละเอียดเครื่องยนต์ เหมือนกัน Alsthom ALS ทุกอย่าง เพียงแต่องค์ประกอบตัวรถภายนอก มีความแตกต่างกันเพียงเล็กน้อยในบางจุดเท่านั้น

 

6.รถจักรดีเซลไฟฟ้า Alsthom รุ่น AD24C หรือ ALD รฟท.ได้นำเข้ามาใช้งานเมื่อปี 2526 จำนวน 9 คัน สร้างโดย บริษัท Alsthom ประเทศฝรั่งเศส ราคาคันละ 26.9 ล้านบาท

 

 

7.รถจักรดีเซลไฟฟ้า Alsthom รุ่น AD24C หรือ ADD รฟท.ได้นำเข้ามาใช้งานเมื่อปี 2528 จำนวน 20 คัน สร้างโดย บริษัท Alsthom ประเทศฝรั่งเศส ราคาคันละ 42 ล้านบาท สำหรับมิติตัวรถ และรายละเอียดเครื่องยนต์ เหมือนกัน Alsthom ALS เพียงแต่องค์ประกอบตัวรถภายนอก มีความแตกต่างกันเพียงเล็กน้อยในบางจุดเท่านั้น เช่น ด้านหน้าบริเวณแค็บ มีราวเหล็กติดตั้ง

 

8.รถจักรดีเซลไฟฟ้า Hiatchi รุ่น 8FA-36C หรือ HID จำนวน 22 คัน สร้างโดย บริษัท Hitachi ที่โรงงาน Mito ประเทศญี่ปุ่น ราคาคันละ 75 ล้านบาท รถจักรดีเซลไฟฟ้า Hitachi ปัจจุบันยังคงใช้งานทำขบวนรถโดยสาร และขบวนรถสินค้าของ รฟท. อยู่ โดยถูกตัดบัญชีไป 1 คัน

 

 

9.รถจักรดีเซลไฟฟ้า GE รุ่น CM22-7i หรือ GEA รฟท. ได้นำเข้ามาใช้งานเมื่อปี 2538 จำนวน 38 คัน สร้างโดย บริษัท General Electric Transportation Systems ประเทศสหรัฐอเมริกา ราคาคันละ 54 ล้านบาท รถจักรดีเซลไฟฟ้า GE ปัจจุบันยังคงใช้งานทำขบวนรถโดยสาร และรถสินค้าของ รฟท. มีตัดบัญชีไป 2 คัน

 

 

10.รถจักรดีเซลไฟฟ้า CSR Qishuyan รุ่น U20 หรือ SDA3 รฟท. ได้สั่งรถจักรจากประเทศจีนเป็นครั้งแรก และนำเข้ามาใช้งานเมื่อเดือนมกราคม 2558 จำนวน 20 คัน ปัจจุบันนับว่าเป็นรถจักรดีเซลรุ่นล่าสุดของ รฟท. ที่ใช้งานอยู่ในขณะนี้ เน้นใช้ในการขนสินค้าเป็นหลัก

 

และล่าสุดเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา รฟท.ได้รับมอบหัวรถจักรดีเซลไฟฟ้ารุ่นใหม่จากจีน ชุดแรก  20 คัน จากจำนวนที่สั่งซื้อทั้งหมด 50 คัน ซึ่งผลิตโดยบริษัท ซีอาร์อาร์ซี ซิชูเยียน หลังจากได้เซ็นสัญญาสั่งซื้อเมื่อปี 2563 ส่วนจำนวนที่เหลืออีก 30 คัน ส่งมอบภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2566 โดยรฟท.จะนำมาใช้ทดแทนรถจักรเดิมที่มีอายุการใช้งานมายาวนาน และบางคันมีการใช้งานมากกว่า 50 ปี จึงถือเป็นการพลิกโฉมการให้บริการรถไฟครั้งสำคัญ โดยจะทำให้ รฟท.มีรถจักรเพียงพอต่อการให้บริการขนส่งผู้โดยสารและสินค้าได้มากขึ้น เพื่อรองรับโครงการรถไฟทางคู่ที่ทยอยเปิดใช้งานในอนาคต

 

 

ส่วนรถไฟที่เก่าที่สุด ที่รฟท.ได้นำออกมาวิ่งคือ รถจักรไอน้ำประวัติศาสตร์แบบแปซิฟิค หมายเลข 824 และ 850 ซึ่งเป็นรุ่นหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่ รฟท.จะนำออกมาใช้ลากจูงขบวนพิเศษนำเที่ยวเท่านั้น เนื่องในโอกาสวันสำคัญ จำนวน 6 ครั้ง ต่อปี ประกอบด้วย 1. วันที่ 26 มีนาคม ของทุกปี วันสถาปนากิจการรถไฟ เส้นทางกรุงเทพฯ-อยุธยา 2. วันที่ 3 มิถุนายน ของทุกปี วันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณพระบรมราชินี เส้นทางกรุงเทพฯ-นครปฐม 3. วันที่ 28 กรกฎาคม ของทุกปี วันเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เส้นทางกรุงเทพณ-อยุธยา 4. วันที่ 12 สิงหาคม ของทุกปี วันแม่แห่งชาติ เส้นทางกรุงเทพฯ-ฉะเชิงเทรา 5. วันที่ 23 ตุลาคม ของทุกปี วันปิยมหาราช เส้นทางกรุงเทพฯ-อยุธยา และ6. วันที่ 5 ธันวาคม ของทุกปี วันคล้ายวันเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร วันชาติ และวันพ่อแห่งชาติ เส้นทางกรุงเทพฯ-ฉะเชิงเทรา

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

เมียไรเดอร์ เปิดใจเสียงสั่น กลัวไม่ได้รับความเป็นธรรม หลังรู้ข่าว หนุ่มอินเดียซิ่งเก๋งได้ประกันตัว ลั่น ‘คนมีเงินมันยิ่งใหญ่’
นายกฯ เปิดงาน Thailand Reception เชิญชวนสัมผัสเสน่ห์อาหารไทย ชูศักยภาพเศรษฐกิจ
จีนแห่ ‘โคมไฟปลา’ แหวกว่ายส่องสว่างในอันฮุย
"พิพัฒน์" ตรวจเยี่ยมเอกชน ต้นแบบอุตสาหกรรม ผลิตด้วยเทคโนฯ AI พร้อมเร่งนโยบาย up skill ฝีมือแรงงานไทย
ผู้นำปานามาลั่นคลองปานามาไม่ใช่ของขวัญจากสหรัฐ
จีนไม่เห็นด้วยหลังไทยยืนยันไม่มีแผนส่งกลับอุยกูร์ในขณะนี้
"ดีเอสไอ" อนุมัติให้สืบสวนคดี "แตงโม" ปมมีการบิดเบือน บุคคลอื่น-จนท.รัฐเกี่ยวข้องหรือไม่
"พิพัฒน์" นำถก "คบต." ลงมตินายจ้างต้องยื่นบัญชีชื่อต้องการแรงงานต่างด้าว ให้เสร็จใน 13 ก.พ.68
ส่องรายได้ "ดิว อริสรา" หลัง "ไผ่ ลิกค์" เฉลยชื่อดาราดัง ปมยืมเงินปล่อยกู้ โซเชียลจับตา รอเจ้าตัวชี้แจง
ศาลให้ประกันตัว "หนุ่มลูกครึ่งอินเดีย" ขับรถชนไรเดอร์เสียชีวิต ตีวงเงิน 6 แสนบาท คุมเข้มใส่กำไล EM ภรรยาผู้ตาย ลั่นไม่ให้อภัย

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น