"โควิด" หลังสงกรานต์ แนวโน้มผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นใน 2 - 4 สัปดาห์ ATK ขึ้น 2 ขีด ต้องทำอย่างไร เช็คสิทธิชดเชย ประกันสังคม จ่ายไหม ม.33 ม.39 ม.40
ข่าวที่น่าสนใจ
นายแพทย์ จักรรัฐ พิทยาวงศ์อานนท์ ผู้อำนวยการกองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กล่าวว่า สถานการณ์โรคโควิด-19 ประเทศไทยขณะนี้ผู้ติดเชื้อทั้งจากการตรวจด้วยวิธี RT-PCR และ ATK ลดลง แต่แนวโน้มผู้ป่วยปอดอักเสบ ใส่ท่อช่วยหายใจ และผู้เสียชีวิต มีเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นผลมาจากการติดเชื้อจำนวนมากช่วง 2 – 3 สัปดาห์ก่อนสงกรานต์ ทั้งนี้ ผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ 70 ปีขึ้นไป มีโรคเรื้อรังประจำตัว ฉีดวัคซีน ไม่ครบ 3 เข็ม หลังสงกรานต์จึงยังต้องรณรงค์ให้มารับวัคซีนเข็มกระตุ้นให้ได้ 80% และเร่งฉีดวัควีนให้เด็กนักเรียนก่อนเปิดเทอมหรือเริ่มเปิดเทอม
นอกจากนี้ ต้องติดตามสถานการณ์ต่อไป 2 – 4 สัปดาห์ เพราะมีโอกาสเกิดคลัสเตอร์ต่าง ๆ ได้ ภาพรวมผู้ติดเชื้อ ป่วยหนักและเสียชีวิต ยังคงเป็นไปตามคาดการณ์ ซึ่งหากมีการป้องกันควบคุมที่ดี หลังสงกรานต์จะมีผู้ติดเชื้อลดลง การแพร่ไปสู่กลุ่ม 607 จะลดลงตามไปด้วย ทั้งนี้ แนะนำการป้องกันไม่ให้แพร่เชื้อไปยังกลุ่มเสี่ยงสูง 3 มาตรการ
- หลังเดินทางกลับจากสงกรานต์หรือรวมกลุ่มทำกิจกรรม ให้สังเกตอาการตนเอง 5 – 7 วัน หากมีอาการป่วย เช่น ไอ เจ็บคอ มีน้ำมูก การรับรสและกลิ่นไม่ดี ให้ตรวจ ATK
- หลีกเลี่ยงการพบกับคนจำนวนมาก หากต้องพบผู้อื่นให้สวมหน้ากากตลอดเวลาเพื่อลดความเสี่ยง เลี่ยงการรับประทานอาหารร่วมกัน
- ทำงานที่บ้าน (Work From Home) 5 – 7 วัน ร่วมกับการดูแลตนเองให้ปลอดจากการติดเชื้อ
“และมาตรการ 2U คือ Universal Prevention ป้องกันตนเองสูงสุดตลอดเวลา และ Universal Vaccination ฉีดวัคซีนให้ครอบคลุมทุกกลุ่ม จะช่วยให้หลังสงกรานต์ปลอดภัย ไม่มีผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยปอดอักเสบเพิ่มขึ้น”
หากตรวจ ATK แล้วขึ้น 2 ขีด ติดเชื้อ โควิด ต้องทำอย่างไร
- โทร. เบอร์สายด่วนของพื้นที่ ที่พักอาศัยอยู่ (ตำบล/อำเภอ/จังหวัด)
- ต่างจังหวัดดูที่ เว็บไซต์ หรือ เฟซบุ๊ก สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด
- กทม. โทร. สายด่วนโควิดเขต : คลิกที่นี่ หรือ เฟซบุ๊ก กรุงเทพมหานคร โดยสำนักงานประชาสัมพันธ์ : คลิกที่นี่ หรือเพิ่มเพื่อนทาง Line @BKKCOVID19CONNECT หรือ คลิกที่นี่ หรือ โทร. 1669 กด 2
- โทร. ติดต่อสถานพยาบาลตามสิทธิรักษาของท่าน เช็คสิทธิ ได้ที่
- เว็บไซต์ สปสช. : คลิกที่นี่
- ไลน์ สปสช. @nhso หรือ คลิกที่นี่ เมนูตรวจสอบสิทธิ
- ไม่สะดวกหรือไม่ทราบ
- กลุ่มเสี่ยง 608, เด็กอายุ 0 – 5 ปี, คนพิการ, ผู้ป่วยติดเตียง โทร. 1330 กด 18
- ผู้ติดเชื้อทั่วไป โทร. 1330 กด 14
- หรือลงทะเบียนด้วยตนเอง : คลิกที่นี่ หรือทางไลน์ สปสช. @nhso : คลิกที่นี่
- พักอาศัยใน กทม. ต้องการยาแบบ เจอ แจก จบ ลงทะเบียนรับยากับ กรมการแพทย์ : คลิกที่นี่
- รับยา เจอ แจก จบ ที่ร้านยาที่ร่วมโครงการกับ สปสช. – สภาเภสัชกรรม ดูรายชื่อได้ที่เว็บไซต์ สปสช. : คลิกที่นี่ (ฟรีทุกสิทธิ ยกเว้นประกันสังคม)
- ติดเชื้อ โควิด-19 สีเขียว มีอาการ ไปโรงพยาบาลเอกชนที่ทำข้อตกลงกับ สปสช. ได้ ดูรายชื่อที่เว็บไซต์ สปสช. : คลิกที่นี่ โทร. ไปก่อนเข้ารับบริการ และต้องคัดกรองอาการก่อน หากเข้าเกณฑ์รักษาตามระบบ เจอ แจก จบ หรือรักษาที่บ้าน หรือ ฮอสพิเทล (ฟรีทุกสิทธิ ยกเว้นประกันสังคม)
- เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤติเข้าเกณฑ์ สีเหลือง – สีแดง ไปโรงพยาบาลรัฐและเอกชนที่อยู่ใกล้ตามนโยบาย UCEP Plus หรือ โทร. 1669 ส่งผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤติ
- ขอคำแนะนำดูแลเด็กติดเชื้อโควิด แอดไลน์ศูนย์ประสานงานช่วยเหลือเด็กและครอบครัวในสถานการณ์โควิด สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี : คลิกที่นี่
สำนักงานประกันสังคม เน้นย้ำ พร้อมช่วยเหลือ ผู้ประกันตน ทุกมาตรา ม.33 ม.39 ม.40 ที่ติดเชื้อ โควิด-19 โดยครอบคลุมการรักษาของ ผู้ประกันตน มาตรา 33 และ 39 รวมทั้งการจ่ายเงินทดแทนการขาดรายได้ให้แก่ ผู้ประกันตน ทุกมาตรา
ผู้ประกันตน มาตรา 33 และ มาตรา 39
- จะได้รับการช่วยเหลือครอบคลุมค่ารักษาพยาบาลทางการแพทย์ประเภทผู้ป่วยใน ดังนี้
- ค่าตรวจทางห้องปฏิบัติการ
- ค่าดูแลการให้บริการผู้ประกันตน (ค่าอาหาร 3 มื้อ การติดตามอาการ และการให้คำปรึกษา)
- ค่าอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่จำเป็น เช่น ปรอทวัดไข้ เครื่องวัดออกซิเจนในเลือด และอุปกรณ์อื่น ๆ
- ค่ายาที่ใช้รักษา
- ค่าพาหนะเพื่อรับหรือส่งต่อผู้ป่วยระหว่างที่พัก โรงพาบาลสนาม และสถานพยาบาล
- ค่าบริการ X-ray
- ค่า oxygen ตามดุลยพินิจของแพทย์
* โดย สปส. จะจ่ายค่ารักษาพยาบาลกับทางโรงพยาบาลตามหลักเกณฑ์เงื่อนไขฯ
ค่าทดแทนเมื่อขาดรายได้
สำหรับ ผู้ประกันตน มาตรา 33
- กรณีลาป่วย 30 วันแรก จะได้รับค่าจ้างจากนายจ้างตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน
- กรณีจำเป็นต้องหยุดพักรักษาตัวนานเกินกว่า 30 วัน สามารถเบิกสิทธิประโยชน์กรณีขาดรายได้จากสำนักงานประกันสังคมตั้งแต่วันที่ 31 ของการลาป่วย โดยรับเงินทดแทนร้อยละ 50 ของค่าจ้าง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท ตามใบรับรองแพทย์ ครั้งละไม่เกิน 90 วัน ปีละไม่เกิน 180 วัน หากป่วยเรื้อรังได้รับไม่เกิน 365 วัน
สำหรับ ผู้ประกันตน มาตรา 39
- ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ร้อยละ 50 โดยคำนวณจากฐานค่าจ้างอยู่ที่จำนวน 4,800 บาท ตามใบรับรองแพทย์ ครั้งละไม่เกิน 90 วันปีละไม่เกิน 180 วัน ยกเว้นได้รับวินิจฉัยว่าเป็นโรคเรื้อรัง จะสามารถได้เงินทดแทน ไม่เกิน 365 วัน
* ต้องมีการส่งเงินสมทบ 3 เดือน ภายใน 15 เดือน ก่อนวันเข้ารับการบริการทางการแพทย์
สำหรับ ผู้ประกันตน มาตรา 40
- ได้รับเงินทดแทนตามทางเลือก ดังนี้
- เงินทดแทนการขาดรายได้วันละ 300 บาท กรณีรับการรักษาประเภทผู้ป่วยในโรงพยาบาล โรงพยาบาลสนาม และ Hospitel ตั้งแต่ 1 วันขึ้นไปแต่ไม่เกิน 30 วัน/ปี (สำหรับทางเลือกที่ 1 และ 2) และไม่เกิน 90 วัน/ปี (สำหรับทางเลือกที่ 3)
- เงินทดแทนการขาดรายได้วันละ 200 บาท กรณีแพทย์ให้หยุดพักรักษาตัวที่บ้าน ตั้งแต่ 3 วันขึ้นไปแต่ไม่เกิน 30 วัน/ปี (สำหรับทางเลือกที่ 1 และ 2) และไม่เกิน 90 วัน/ปี (สำหรับทางเลือกที่ 3)
- เงินทดแทนการขาดรายได้ครั้งละ 50 บาท ไม่เกิน 3 ครั้ง/ปี กรณีไม่ได้เข้ารับการรักษาแบบผู้ป่วยในหรือไม่ได้กักตัว มีใบรับรองแพทย์มาแสดงต่อสำนักงาน (เฉพาะทางเลือกที่ 1 และ 2 เท่านั้น สำหรับทางเลือกที่ 3 ไม่คุ้มครอง)
หมายเหตุ ผู้ประกันตน มาตรา 40 การรักษาพยาบาลใช้สิทธิของ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม www.sso.go.th หรือโทรสายด่วน 1506 ให้บริการทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง
ข่าวที่เกี่ยวข้อง