“นายกสมาคมวิศวกรฯ” แจงปมพายุถล่มดอนเมือง เฝ้าระวังอาคารเสี่ยง

นายกสมาคมวิศวกรโครงสร้างแห่งประเทศไทย แจงผลกระทบพายุฤดูร้อน ต่อการพังถล่มของโครงสร้าง ถอดบทเรียนจากเหตุการณ์อาคารในสนามบินดอนเมือง เฝ้าระวังอาคารเสี่ยง

ศ.ดร.อมร พิมานมาศ นายกสมาคมวิศวกรโครงสร้างแห่งประเทศไทย ชี้แจงจากเหตุการณ์ฝนตกหนัก และมีพายุฝนพัดถล่มอาคารในสนามบินดอนเมืองเมื่อคืนวันที่ 18 เม.ย. 2565 ที่ผ่านมา จนทำให้หลังคาและกำแพงของอาคารได้รับความเสียหายบางส่วนนั้น แต่ไม่มีรายงานผู้บาดเจ็บนั้น โดยสมมุติฐานเบื้องต้น คือ ความแรงของพายุฤดูร้อนที่มาพร้อมกับฝนฟ้าคะนอง และน้ำหนักของน้ำฝนที่ตกลงมาและอาจขังอยู่ในบางบริเวณของหลังคา ทำให้เกินกำลังรับน้ำหนักของชิ้นส่วนโครงสร้างได้ ซึ่งสาเหตุที่แท้จริง ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะได้ส่งวิศวกรและผู้เชี่ยวชาญเข้าตรวจสอบหาสาเหตุและขอบเขตของความเสียหายต่อไป

ข่าวที่น่าสนใจ

อย่างไรก็ตามบทเรียนจากเหตุการณ์ดังกล่าว ทำให้เห็นถึงความรุนแรงของพายุฤดูร้อนที่อาจจะสร้างความเสียหายต่อโครงสร้างในช่วงระยะเวลานี้ได้ โดยมีปัจจัยเสี่ยง 6 ด้านคือ

1. พายุฤดูร้อนมักเกิดในช่วงเดือนเมษายน หรือในช่วงก่อนเริ่มฤดูฝน เป็นพายุที่มีความรุนแรงมาก เนื่องจากความแปรปรวนในกระแสลม อาจสร้างแรงกระทำต่อโครงสร้างได้มากกว่าแรงลมทั่วไป 2 ถึง 3 เท่า

2.พายุฤดูร้อนจะเกิดในช่วงที่มีอากาศร้อนอบอ้าวติดต่อกันหลายวัน แล้วมีมวลอากาศเย็น หรือที่เรียกว่าความกดอากาศสูงพัดมาปะทะกับมวลอากาศร้อน หรือความกดอากาศต่ำ ส่งผลให้อากาศในบริเวณนั้นแปรปรวนเกิดความรุนแรงจนกลายเป็นพายุฝนฟ้าคะนองขึ้น

3.พายุฤดูร้อนอาจจะเกิดขึ้นในช่วงเวลาสั้นๆ ในบางบริเวณ แต่ก็มีความรุนแรงมากที่จะทำให้เกิดความเสียหายแก่โครงสร้างที่มีพื้นผิวหรือพื้นที่ปะทะลมมาก เช่น หลังคา และ ผนัง เป็นต้น

4.โครงสร้างที่อ่อนไหวต่อพายุฤดูร้อนเช่น ป้ายโฆษณา หลังคา ตลอดจนบ้านเรือนหรือโครงสร้างที่ยึดกับฐานรากไม่แข็งแรงซึ่งปรากฎเป็นข่าวทุกปี

5.โครงสร้างบางประเภทอาจไม่ได้ออกแบบเพื่อรองรับพายุฤดูร้อนตั้งแต่ต้น เนื่องจากการกำหนดค่าแรงลมที่คำนึงถึงพายุฤดูร้อน เพิ่งเริ่มมีขึ้นในปี 2550 ซึ่งก่อนหน้าปี 2550 ค่าแรงลมที่ใช้ออกแบบอาคารตามกฎหมายควบคุมอาคารคำนึงเฉพาะแรงลมทั่วไป แต่ไม่ได้คำนึงถึงความแรงของพายุฤดูร้อน

และ 6. สำหรับอาคาร ที่มีพื้นที่หลังคากว้าง ควรจัดการเรื่องการระบายน้ำฝนที่มาพร้อมกับพายุฤดูร้อน ไม่ให้เกิดการท่วมขัง เนื่องจากน้ำหนักน้ำค่อนข้างมาก อาจทำให้โครงสร้างหลังคาวิบัติได้

นอกจากนี้ ปัจจุบันมีกฎหมายตรวจสอบอาคารและป้ายโฆษณาที่มีความสูงเกิน 15 เมตร หรือมีพื้นที่ตั้งแต่ 50 ตารางเมตรขึ้นไป เจ้าของอาคารและป้ายโฆษณาจะต้องจัดการให้อาคารหรือป้ายโฆษณาของตนอยู่ในสภาพที่ปลอดภัยไม่เป็นอันตรายต่อประชาชน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ผู้นำปานามาลั่นคลองปานามาไม่ใช่ของขวัญจากสหรัฐ
จีนไม่เห็นด้วยหลังไทยยืนยันไม่มีแผนส่งกลับอุยกูร์ในขณะนี้
"ดีเอสไอ" อนุมัติให้สืบสวนคดี "แตงโม" ปมมีการบิดเบือน บุคคลอื่น-จนท.รัฐเกี่ยวข้องหรือไม่
"พิพัฒน์" นำถก "คบต." ลงมตินายจ้างต้องยื่นบัญชีชื่อต้องการแรงงานต่างด้าว ให้เสร็จใน 13 ก.พ.68
ส่องรายได้ "ดิว อริสรา" หลัง "ไผ่ ลิกค์" เฉลยชื่อดาราดัง ปมยืมเงินปล่อยกู้ โซเชียลจับตา รอเจ้าตัวชี้แจง
ศาลให้ประกันตัว "หนุ่มลูกครึ่งอินเดีย" ขับรถชนไรเดอร์เสียชีวิต ตีวงเงิน 6 แสนบาท คุมเข้มใส่กำไล EM ภรรยาผู้ตาย ลั่นไม่ให้อภัย
ทบ.ขานรับนโยบายปราบยาเสพติด เพิ่มทหาร 6 กองกำลัง วัดเคพีไอ 10 กพ.-10 มิ.ย.
ซีพีเอฟ ซีพี-เมจิ ร่วมหนุนสระบุรีแซนด์บ๊อกซ์ "รวมพลังสร้างเมืองคาร์บอนต่ำแห่งแรกของประเทศไทย”
สละเรือแล้ว! "ผบ.อิสราเอล" ยื่น "ลาออก" เซ่นเหตุ 7 ต.ค. ไล่แทงกันในเทลอาวีฟเจ็บ 5
สุดปัง “นายกฯ” สวมกระโปรงผ้าปาเต๊ะ ร่วมประชุม WEF

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น