"เป็นหวัดตรวจ ATK ขึ้นไหม" ป่วยจนงงว่าติดโควิดหรือเป็นหวัดธรรมดากันแน่? ถ้าเป็นหวัดสามารถตรวจได้ไหม? หาคำตอบได้ที่นี่
ข่าวที่น่าสนใจ
“เป็นหวัดตรวจ ATK ขึ้นไหม” ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิดในปัจจุบัน ทำให้คนหลายคนเกิดอาการวิตกกังวล จนเกิดความสับสน ระหว่างอาการป่วยจากหวัดธรรมดา ๆ กับโควิด ถ้าเป็นหวัดจริง ๆ เพื่อความชัวร์สามารถตรวจ ATK ได้ไหม? แล้วถ้าตรวจ มีโอกาสจะขึ้น 2 หรือไม่? เพื่อให้ได้คำตอบชัด ๆ มาทำความเข้าใจกันก่อนว่า แต่ละโรคมีความแตกต่างกันอย่างไร
อาการหวัด, ไข้หวัดใหญ่ และโอไมครอน แตกต่างกันอย่างไร?
ไข้หวัด
- มีไข้ต่ำ ๆ ไอ จาม
- คัดจมูก มีน้ำมูก เจ็บคอ เสียงแหบ
- ปวดศีรษะเล็กน้อย
- อาการจะค่อย ๆ เกิด
- หากพักผ่อน ดื่มน้ำมาก ๆ อาการจะดีขึ้นใน 3-4 วัน
ไข้หวัดใหญ่
- ไอ จาม คัดจมูก
- มีน้ำมูก เจ็บคอ
- ไขสูงมาก 38-40 องศาเซลเซียส ร่วมกับอาการหนาวสั่น ปวดศีรษะ
- อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ อาการเหล่านี้จะเกิดขึ้นแบบเฉียบพลัน
- คล้ายไข้หวัด บางคนไอเล็กน้อย จนถึงหนัก
- จาม คัดจมูก มีน้ำมูก
- เจ็บคอ ปวดศีรษะ อาจมีอาการอ่อนเพลียร่วมด้วย
- บางคน มีอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ท้องเสีย
- เจ็บหน้าอก หายใจลำบาก และอาจมีเหงื่อออกตอนกลางคืนแม้อยู่ในห้องแอร์
- นอกจากนี้ ยังมีอาการปวดหลังส่วนล่าง ซึ่งไม่พบในคนที่เป็นหวัดหรือไข้หวัดใหญ่ อีกด้วย
ดังนั้น หากมีอาการดังกล่าว ประกอบกับเคยมีประวัติใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อ ควรตรวจ ATK เบื้องต้นก่อน หากผลตรวจเป็นบวก ให้รีบตรวจ RT-PCR เพื่อเข้ารับการรักษาในขั้นตอนต่อไป ส่วนผู้ที่มีผลตรวจเป็นลบ แต่ยังมีอาการอยู่ เพื่อความชัวร์และแม่นยำมากขึ้น ควรตรวจ RT-PCR ด้วยเช่นกัน
หากเป็นหวัด สามารถตรวจ ATK ได้ไหม? แล้วจะขึ้น 2 ขีดหรือเปล่า?
- คำตอบ คือ สามารถตรวจ ATK (Antigen Test Kit) ได้ โดยไม่ต้องกังวลว่าถ้าเจอ 2 ขีด จะแปลว่าติดโควิด เนื่องจาก ทั้ง 3 โรค ติดเชื้อจากไวรัสคนละตัวกัน
- ประกอบกับ ATK หรือ RT-PCR ใช้ในการตรวจเชื้อ SARS-CoV-2 เท่านั้น ดังนั้น ถ้าเป็นไข้หวัดหรือไข้หวัดใหญ่ แทบจะเป็นไปไม่ได้เฃย ที่ ATK จะเป็นผลบวกนั่นเอง
และสำหรับใครที่ผลตรวจออกมาเป็นบวก อาจแปลว่าติดโควิดหรือเป็นผลบวกปลอมจากการติดเชื้อโควิดอื่น ๆ รวมถึง วิธีการใช้ที่ไม่ถูกวิธี มีการปนเปื้อนขณะใช้งาน หรืออ่านผลเกินเวลาที่กำหนด ทำให้ผลตรวจอาจคลาดเคลื่อน เพื่อให้คำตอบชัดเจนมากขึ้น ควรตรวจซ้ำอีกครั้ง
ข่าวที่เกี่ยวข้อง