"Long Covid" ภาวะผู้ป่วยโควิด-19 มีอาการต่อเนื่องหลังติดเชื้อ สสส. ชี้ชัด 4 สาเหตุนี้ กระตุ้นให้เกิดอาการลองโควิดได้ เช็คด่วน มีอะไรบ้าง
ข่าวที่น่าสนใจ
“Long Covid” สสส. เผยตอนนี้เริ่มมีผู้ป่วยโควิดที่มีอาการลองโควิดมากขึ้น ทั้งนี้ผู้ป่วยบางส่วนอาจจะยังไม่ทราบว่าอาการเป็นอย่างไรบ้าง อันตรายแค่ไหน สาเหตุมาจากอะไรกันแน่
ภาวะลองโควิด คืออะไร?
- การที่ผู้ป่วยโควิด-19 มีอาการต่อเนื่องนานกว่า 3 เดือน หลังติดเชื้อ ส่วนใหญ่พบในผู้ป่วยที่อาการรุนแรงตั้งแต่ต้น
- มักพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย ระยะเวลาของอาการมีตั้งแต่หลายเดือนจนถึงเป็นปี หลายอาการรักษาได้ แต่หลายอาการต้องรักษาระยะยาว และอาจมีผลต่อร่างกายถาวร
ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดอย่างต่อเนื่องของโควิด โดยเฉพาะสายพันธุ์โอไมครอน หรือ โอมิครอน (Omicron) ทำให้มีผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่มสูงขึ้น สร้างความกังวลให้กับให้ประชาชนจำนวนมาก เพราะ ผู้ป่วยโควิดบางคนรักษาตัวจนหายป่วยแล้ว แต่ก็มียังภาวะอาการลองโควิด หลังติดเชื้อ
ล่าสุด ศูนย์ข้อมูล COVID-19 ได้เผยข้อมูลจาก กรมการแพทย์ เกี่ยวกับภาวะลองโควิด โดยระบุว่า อาการนี้เกิดขึ้นหลังจากการติดเชื้อโควิด ส่งผลกระทบระยะยาวต่อสุขภาพ อาจมีอาการอยู่นานอย่างน้อย 2 เดือน โดยอาการที่พบบ่อยมี 6 ระบบ ดังนี้
- ระบบประสาท พบได้ 27.33% ได้แก่ อ่อนแรงเฉพาะที่เฉียบพลัน ปวดศีรษะ มึนศีรษะ หลงลืม กล้ามเนื้อลีบ
- ระบบทางจิตใจ พบได้ 32.1% ได้แก่ นอนไม่หลับ วิตกกังวล ซึมเศร้า
- ระบบหัวใจและหลอดเลือด พบได้ 22.86% ได้แก่ เจ็บหน้าอก ใจสั่น
- ระบบทางเดินหายใจ พบได้ 44.38% ได้แก่ หอบเหนื่อย ไอเรื้อรัง
- ระบบผิวหนัง พบได้ 22.8% ได้แก่ ผมร่วง ผื่นแพ้
- ระบบทั่วไป พบได้ 23.41% ได้แก่ อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดตามข้อ
ทั้งนี้ จากข้อมูลปัจจุบัน พบว่ามีความเป็นไปได้จาก 4 สาเหตุ ดังนี้
- มีเชื้อไวรัสหลงเหลือในอวัยวะต่างๆ ทำให้เกิดการอักเสบต่อเนื่อง
- การอักเสบในหลายอวัยวะ ทำให้อวัยวะผิดปกติแบบถาวรส่งผลต่อสุขภาพระยะยาว
- ผลกระทบจากการรักษาและนอนโรงพยาบาลในระยะเวลานาน
- ระบบภูมิคุ้มกันทำงานผิดปกติ ภายหลังการติดเชื้อ
ข้อมูล : Social Marketing Thaihealth by สสส.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง